ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

เรียนรู้ออกแบบเครื่องมือสำรวจชุมชน8 ธันวาคม 2558
8
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนได้เรียนรู้เรื่องราว ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทั่วไป เช่น อาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม แหล่งทรัพยากรณ์ จุดเด่น จุดด้อย ของชุมชนตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมครั้งที่1. แยกตามวาระดังนี้ วาระที่1.การออกแบบเครื่องมือสำรวจ โดยวิทยากรกระบวนการ นายสมนึก หนูเงิน และ นายประนอบ คงสม จากหน่วยงานสภาผู้นำชุมชนตำบลควนรู เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดหัวข้อแบบสอบถาม  เพื่อใช้ในการตั้งถามจากเด็กกับผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง และสมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ต่อได้  และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบก่อนและหลัง จากการทำกิจกรรมของ สสส. โดยข้อมูลที่ใช้ในการทำแบบสอบถาม มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ย้อนรอยตามรอยเส้นทางวิถีซอยปลักควาย (6/12/2558) วิถีชุมชนซอยปลักควาย เก็บข้อมูล 1. กลุ่มตัวอย่าง o ชุมชนซอยปลักควาย 50 ครัวเรือน
o ทำแผนที่เดินดิน (ทำมือ) o เด็ก 37 คน o ผู้สูงอายุ 10 คน 2. เปรียบเทียบก่อนหลัง o แผนที่ชุมชน(แผนที่ทำมือ) o ประวัติศาสตร์ (เล่าผ่านเวทีผู้สูงอายุ—ลุงพร้อม ทองเอื้อ,ลุงเต็กอิ้น วิไลรัตน์,กำนันสวัสดิ์ สุจิชาติ เวลา 1 ชม.)  ภูมิปัญญา  ความเชื่อ  ประเพณี o อาชีพ o รายได้/รายจ่าย o หนี้สิน o การออม o สมาชิกกลุ่ม/องค์กร o บัญชีครัวเรือน 3. ความแตกต่างวิถีทำการเกษตร 4. ข้อเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง o ปัญหาความต้องการ/ข้อเสนอแนะ 5. การบวนการสร้างการเรียนรู้เด็ก/เยาวชน รู้วิถีชุมชน/ครอบครัว

ขั้นตอน 1. ออกแบบเครื่องมือสำรวจ 2. ลงพื้นที่สำรวจโดยเด็ก/เยาวชน o ทำความเข้าใจ/ทดลอง/แบ่งพื้นที่ 3. วิเคราะห์ข้อมูล o ทำความเข้าใจ/ทดลอง ผลผลิต/ผลลัพธ์ 1. เด็กเยาวชน/ประชาชนเรียนรู้ 2. ความสัมพันธ์เด็ก/เยาวชน/ประชาชน 3. ความรู้จากการวิเคราะห์




กิจกรรมสำรวจพื้นที่ชุมชน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1,8,9,13 o แบ่งพื้นที่เป้าหมายออกเป็น 7 กลุ่มและเด็กทำหน้าที่สำรวจกลุ่มละ 5 คนและพี่เลี้ยงกลุ่มละ 1 คน o เวทีเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน โดยผู้อาวุโสในคาบเรียน o ทำแผนที่ทำมือ o ทำความเข้าใจเครื่องมือ o ลงพื้นที่เก็บข้อมูล o รวบรวมวิเคราะห์ o เวทีเติม/เรียนรู้ ผลลัพธ์ที่จะได้/เกิดขึ้นกับชุมชน -การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรประวัติศาสตร์ชุมชน             -เปิดประเด็นหัวข้อการประชุม วาระที่ 2. ปิดการประชุม เวลา 16.00 น. นัดประชุมกิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 8/11/2558  สถานที่ โรงอาหาร รร.บ้านควนเนียงใน กิจกรรมครั้งที่2 เริ่มประชุม  เวลา  1430  น. เรียนรู้ชุมชนชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้  เรื่องเล่าประวัติศาสตร์ซอยปลักควาย               ผู้ดำเนินการโครงการกล่าวสวัสดีทักทายคณะครู-นักเรียน โรงเรียนบ้านควนเนียงใน แนะนำวิทยากรกระบวนการ อ.ประนอบ คงสม  และดำเนินการแนะนำเกี่ยวกับหัวข้อการผีกอคณะคนเล่าเรื่องอดีตย้อนรอยซอยปลักควาย แนะนำ นายพร้อม ทองเอื้อ นายอนันต์ แก้วเจริญ นายเฉลิม วรรณกูล (อดีตครูเกษียณ ร.ร.บ้านควนเนียงใน) หลังจากนั้นผู้ดำเนินการโครงการนางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ เชิญ อ.ประนอบเริ่มกระบวนการดำเนินการเล่าเรื่องย้อนรอย วิทยากรกระบวนการ เชิญวิทยากรคนเฒ่าเล่าเรื่องความเป็นมาของถนน โดยเชิญ นายเฉลิม วรรณกูล และนายอนันต์ แก้วเจริญ และนายพร้อม ทองเอื้อ  เริ่มเล่าประวัติซอยปลักควาย
โดยเล่าว่าแรกเริ่มเดิมที่ซอยปลักควายพื้นที่เป็นป่ามาก เมื่อ แรกเริ่มเดิมที่คนที่มาตั้งบ้านอยู่อาศัยประมาณ 10 หลังคาเรือน ประมาณ พ.ศ 2518 ตาเสี้ยน วรรณกูล อดีตผู้ใหญ่บ้านนักพัฒนา ไม่มีงบจากภาครัฐหรืองลประมาณของอำเภอ สมัยนั้นมีความคิดต้องการพัฒนาช่วยเหลือตัวเองโดยการสร้างถนนเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมาได้เกนคนมาช่วยกันทำและตัดถนน ได้ถนนกว้าง 8 เมตร ยาว ไม่ถึง 1 กก. ก็โดนชาวเอามีดไล่คนหลังจากนั้น เส้นทางถนนไม่ได้ยาวสุดซอย เมื่อถนนตัดมาถึงหน้าบ้านใครให้คนนั้นทำถนนเอง  ก็ได้ตั้งชื่อซอยปลักควายนายเมิน สาเหตุที่มีการตั้งชื่อซอยนี้ เนื่องจากมีงานศพ และชาวบ้านซ้อนท้ายรถและได้เกิดการพลัดตกลงบนถนน เนื่องจากถนนมีพื้นผิวไม่เรียบและขรุขระเป็นพื้นที่ทุระกันดานมาก หลังจากนั้น และได้ระดมครูและชาวบ้านมาระดมกำลังตัดไม้ไผ่มาสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านควนเนียง -ถนนซอยปลักควาย ไปชนป่าที่เป็นท่อง
-บ้านสายม่วงแค เมื่อก่อนมีต้นมะม่วงใหญ่อยู่ที่ริมสายน้ำเมื่อมีผลผลิตก็เลยใช้”แค”(หมายถึงเอาไม้ไผ่ไปผูกกับต้นไม้เผื่อให้ขึ้นต้นไม้ใหญ่ ได้ง่ายขึ้น)ทาบต้นเป็นโอ่งเพื่อที่จะเก็บเอาลูกมาเก็บกิน “เกนคน”(การไปขอช่วยคนมามีจำนวนชัดเจนว่าจะต้องทำงานให้ได้ตามจำนวนที่ตั้งไว้ เป้าหมายเช่นต้องทำงานให้ได้ 5 วา คือขอช่วยจำนวน 5 คน “ตัง” คือ เครื่องลากไม้ชนิดหนึ่ง โดยใช้ควายลาก “โกก” คือ มีลักษณะโค้งสวมบนหลังควาย
หลังจากนั้นมีการตั้งชื่อซอยปลักควายอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520
การช่วยกันทำงาน ใช้ น้ำตาลหวาก แทนเงินเป็นเครื่องมือในการเลื้ยงแขก เพื่อให้งานทำถนนให้ออกมาสำเร็จเป็นซอยปลักควายจนถึงปัจจุบัน

-เดิมโรงเรียนท่องเสา ย้ายจากที่ไปตั้งอยู่ในวัดควนเนียงใน หลังจากนั้นปี พ.ศ.2511 มีรัฐมนตรีกระทรวงศึกษานับถือศาสนาคริสต์ ได้มีคำสั่งให้แยกโรงเรียนออกจากวัด และได้ย้ายโรงเรียนกลับมาที่โรงเรียนบ้านท่องเสาเดิมโดยมีชื่อ ว่า โรงเรียนบ้านควนเนียงใน โดยมี ครูเล็ก และ พระเจ้าแก้วมาร่วมกันก่อตั้งและพัฒนาโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน -ซอยปลักควายได้ขยายซอยไปเรื่อยๆ ไปจนถึงบ้านกลางท่อง และไปชนบ้านหนองขี้แตก(และโรงเรียนบ้านยางงาม) วาระที่2 กิจกรรมการร่วมกันตั้งคำถาม-ตอบ ระหว่าง วิทยากรกระบวการกับนักเรียน และผู้เฒ่าเล่าเรื่องราวอดีตชุมชน โดยอาจารย์ประนอบ คงสม ระดมความคิดเห็นของนักเรียน คำถามที่1โรงเรียนบ้านควนเนียงใน มีชื่อเดิมว่าอะไร “นักเรียนตอบโรงเรียนบ้านทุ่งเสา” คำถามที่2 ผู้ใหญ่บ้านที่คิดตัดถนนซอยปลักควายมีชื่อว่าอะไร นักเรียนตอบ นายเถี้ยน วรรณกูล คาถามที่3 ทำไมถึงเรียกว่าซอยปลักควาย นักเรียนตอบ“มีที่มา เนื่องจากมีป่าเยอะ มีหลุมมากเหมือนรางหนมครก เหมือน มียายหล่นพลัดตกลงในหลุมที่ดูเหมือนปลักควาย และมีการเปลี่ยนแปลงจากป่ามาเป็นซอยจนถึงปัจจุบัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนได้เรียนรู้เรื่องราว ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทั่วไป เช่น อาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม แหล่งทรัพยากรณ์ จุดเด่น จุดด้อย ของชุมชนตนเอง
  • เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ และเด็ก /เยาวชน ของคนในชุมชน และได้เรียนรู้เรื่องราวของชุมชนตนเอง
  • ทำให้เด็กมีความรู้ในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้สูงอายุ ชาย-หญิง
  • ประชาชนชาย-หญิง
  • เด็กนักเรียน ชาย-หญิง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-