ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียง : พลังงานใกล้ตัว แก๊สชีวภาพจากครัวเรือน12 เมษายน 2559
12
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดรายจาย เพิ่มรายได้ของคนในชุมชนและสามารถรู้จักวิธีการทำพลังงานทดแทนได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 14.00 น.-14.15 น. ลงทะเบียนสมาชิกผู้สนใจเข้าอบรมการผลิตแก๊สชีวภาพแบบ.แบบหลุมเก็บแก๊สโดยใช้ถุงดำเก็บแก๊สสีดำ ขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 3 เมตร ใช้เองภายในครัวเรือน
  • เวลา 14.15 น.-16.00 น. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ ปราชญ์ชุมชน และนายนิวัตร ปิยะพงษ์ ปราชญ์ชุุมชน กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมอบรม และบรรยายพร้อมกับแนะนำวิธีการผลิตแก๊สชีวภาพใช้เองภายในบ้าน โดยเริ่มต้นจากแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบด้วย 1.ถุงดำขนาด กว้างxสูงxยาว (ม.).1.5x1.5x3 (ม.)สำหรับเก็บแก๊ส 2.ท่อซีเมนต์เติมแก๊สขนาดกว้างใหญ่ 1 ชิ้น สำหรับเติมเศษอาหารหรือมูลสัตว์
    3.ท่อซีเมนต์ขนาดกลาง สำหรับเป็นบ่อน้ำทิ้ง 1 ชิ้น สำหรับเก็บน้ำล้นที่ไหลมาจากถุงดำเก็บแก๊ส 4.ท่อเติมอาหาร ประกอบด้วย Pvc 4 นิ้ว ยาว 1เมตร เจาะรูที่ด้านข้างของท่อซีเมนต์ 5.แท่งกวนประกอบด้วยท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ง สมาทับท่อขนาด 1 1/2 นิ้ว ประคองท่อ1 น้ำวด้านก้นถังเพื่อป้องกันการแกว่าวตัวของแท่งกวนผสม 6.ท่อก๊าซออก ในการผลิตแก๊ส โดยใช้ถุงดำที่ใช้ในการหมักและรเก็บแก๊ส ท่อสำหรับการเติมเศษอาหาร หรือมูลสัตว์ ขั้นตอน การทำ การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ และประโยชน์ที่คนในชุมชนได้รับจากการทำ ตลอดจนการเตรียมเศษอาหารหรือมูลสัตว์ที่มีภายในชุมชนมาผ่านกระบวนการหมักจนทำให้เกิดแก๊ส แล้วนำมาหุงต้มในการปรุงอาหารให้สุกภายในครัวเรือนได้ รวมถึงการวิธีการ ผสมน้ำจุลินทรีย์ผสมกับเศษอาหารและมูลสัตว์เพื่อให้มีการย่อยแล้วกลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี
  • เวลา 16.00 น.-17.00 น. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ และนายนายนิวัตร ปิยะพงษ์ ปราชญ์ชุุมชน ได้ประกอบอุปกรณ์ชุดผลิตแก๊สชีวภาพ โดยมีนายณรงค์ สังฆะปาโน เป็นผู้ช่วยในการประกอบแก๊สชีวภาพที่ละขั้นตอน โดยเริ่มจากการเอาถุงดำมาประกอบในหลุมแก๊สที่ขุดเตรียมไว้แล้ว หลังจากนั้น ก็มีการติดตั้ง ท่อรับศษอาหารหรือมูลสัตว์ เพื่อผสมก่อนใส่ถุงดำเก็บแก๊ส และ ติดตั้งท่อน้ำทิ้งหลังจากมีแก๊สเกิดขึ้นและพร้อมใช้งาน และ นายนุสนธิ์ ได้บรรยายถึง ระยะเวลาในการเกิดแก๋สคือ เมื่อเติมเศษอาหารหรือมูลสัตว์ ครบ 15 วันแล้้ว ก็จะเกิดก๊าซขึ้นมาเต็มถงุดำแต่ไม่สามารถใช้งานได้เลย เนื่องจากเป็นก๊าซไข่เน่าให้ปล่อยก๊าซทิ้ง ประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นก็จะเกิดแก๊สNGV ซืึ่งสามารถน้ำมาใช้ปรุงอาหารได้ภายในครัวเรื่อน
  • เวลา 17.00 น. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ กล่าวปิดการอบรมให้กับคนในชุมชนที่มาร่วมการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คนในชุมชนมีความรู้ในการทำพลังงานทดแทนมาใช้ในครัวเรือน เป็นครัวเรือนต้นแบบการใช้แก๊สชีวภาพแบบถุงหมัก ในครัวเรือนของ น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ 1 จุด

  2. ได้ติดตั้งชุดแก๊สชีวภาพ จำนวน 1 จุด ที่บ้านเลขที่ 37/2 ม.1 ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา เพื่อเป็นครัวเรือนนำร่อง จุดเรียนรู้แก๊สชีวภาพให้กับคนในชุมชน และผู้ที่สนใจในด้านพลังงานทางเลือก

  3. ปริมาณขยะเปียกขยะอินทรีย์ ในครัวเรือนมีปริมาณลดลง และได้รับการจำกัดอย่างถูกวิธี

  4. ได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ทีผ่านกระบวนการหมักแก๊สแล้ว สามารถนำไปใช้ในการเกษตร เช่น ปลูกผักปุ๋ยยางพาราไม้ผล ทำให้ลดต้นทุน และลดการใช้ปุ๋ยเคมี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชน ชาย-หญิง 51 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-