ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียง : ผึ้งน้อยจากลังไม้ ในป่ายาง26 มิถุนายน 2559
26
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ การเลี้ยงผึ้งจากลังไม้แผงพาเลท โดยจะมีการเลี้ยงในพื้นที่ป่ายาง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 13.00-14.00 น. โดย นายนิยมศิริมุกศิกะ วิทยากรสอน การทำรังผึ้ง แบบปราชญ์ชาวบ้าน ของ สภาชุมชนคนปลักควาย เริ่มจากการอธิบายวิธีการทำรังผึ้ง เริ่มจากขนาดของรังไม้คือ ขนาดสำเร็จของรังผึ้งสูง (ซม.) 22 x กว้าง(ซม.) 40 x ยาว(ซม.) 40 การเตรียมอุปกรณ์ 1.เตรียมขนาดไม้หน้ากว้าง 10 นิ้ว จำนวน 8 ชิ้น 2.ค้อน 1 อัน 3.ตะปูขนาด นิ้วครึ่งและ ขนาด 2 นิ้ว 4..เลื่อย 1 คัน 5. เก้าอี้กลม /ไม้กลม 1 อัน สำหรับทำเสา 6.ยางล้อรถยนต์ /กะละมัง เพื่อทำฐานรองรับเสาด้านล้าง และสำหรับใส่น้ำให้ผึ้งมีน้ำกิน วิธีทำรังผึ้ง 1.เริ่มจากทำด้านหน้าตีไม้เป็นแผง ขนาด40 ซม.x40ซม. และตีด้านหลังให้มีขนาดเท่ากัน 2.หลังจากนั้นตีไม้ด้านข้างของรังผึ้งโดยตีเวียนไปเรื่อยให้เป็นลังสี่เหลี่ยม 3.เตรียมไม้ให้ความสูงของรังผึ้งได้ขนาด 20 ซม. 4.การทำหลังตาหรือด้านบนของรังผึ้งให้ใช้สังกะสีหรือกระเบื้องแกลลอนวางปิดทับก็ได้ 6.ขาตั้งสำหรับรังผึ้งให้ใช้ไม้ทำเสา หรือเก้าอื้หัวล้านทำเป็นเสาก็ได้ 7.ใช้ไม้ปักเป็นเสา4เสา 8. ใส่น้ำด้านล่างบริเวณขาตั้งไว้ในกะละมังหรือยางล้อรถยนต์หรือในฐานรองรับเพื่อให้ผึ้งมีน้ำกิน ข้อควรระวังในการ ตัดไม้จากพาเลทเพื่อทำรังผึ้ง ให้ตัดตะปูจากไม้พาเลทด้วยความระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยในการทำรังผึ้งเนื่องจากไม้จะแตก และตะปูจะได้ไม่ทืมตำนิ้วมือ
วิธีการจับผึ้งแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน การเตรียมอุปกรณ์ 1.ใส่เสื้อแขนยาว สวมกางเกงขายาว พร้อมมีเสื้อคลุมทำด้วยผ้าหรือตาข่ายละเอียด(แนดสีฟ้า) 2.ใส่รองเท้าบู๊ท 3.สวมหมวกไอ้โม่ง
4.ถุงมือยาง เวลา 14.00-17.00 น. เข้าสู่ภาคฏิบัติการทำรังผึ้ง โดยนายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ โดยเริ่มต้นจากการตัดไม้ตามขนาดที่ นายนิยม อธิบาย แล้วให้ผู้เข้าอบรม ช่วยกันประกอบ จนครบ 20 รัง โดยการจับคู่ 3 คน/1รัง เวลา 17.00 น. ปิดการอบรม เดินทางกลับบ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คนในชุมชนสามารถเรียนรู้วิธีการเลี้ยงผึ้งด้วยวิธีธรรมชาติ และได้ร่วมกันทำรังผึ้งจากไม้ยางพารา จนแล้วเสร็จจำนวน30 ลัง มีการแบ่งปันให้สมาชิกที่มาร่วมกันทำเพื่อนำกลับไปเป็นต้นทุนเบื้องต้นในการเลี้ยงผึ้งครัวเรือนละ 1 ลัง

2.สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงระบบนิเวศน์ที่สมดุลร่วมกันได้

3.คนในชุมชนสามารถแลกเปลียนแบ่งปันความรู้ร่วมกันภายในชุมชนโดยอาศัยความได้เปรียบความสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่ชุมชนมีเป็นต้นทุนอยู่แล้ว ได้แก่ สวนยางพารา สวนผลไม้

4.ทำให้คนในชุมชนได้บริโภคน้ำผึ้งแท้ และเป็นการเสริมสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในชุมชน จำนวน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-