ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

ศึกษาดูงาน เกษตรธาตุ 43 กรกฎาคม 2559
3
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้สมาชิกได้เห็นรูปแบบการปลุกพืชในรูปแบบ 4 ชั้นและการปลูกผักเหรียงแซมยาง ซึ่งเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรดินเพื่อให้แกนนำได้นำมาปรับใช้ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มการทำกิจกรรม

  • เวลา 11.00-11.15 น. สมาชิกลงทะเบียน และขึ้นรถเดินทางศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรธาตุ4 ณ.สวนปะหรน ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

  • เวลา 11.15-11.30 น. รับประทางอาหารว่าง ระหว่างเดินทาง

  • เวลา 12.15 น. ถึงศูนย์การเรียนรู้เกษตรธาตุ4 รับประทานอาหารเที่ยง

  • เวลา 12.45-13.00 น. เริ่มกิจกรรมโดย นางสาวอมรรัตน์ ตัวแทนกลุ่มผู้ดำเนินโครงการ แนะนำตัวและแนะนำคณะกลุ่มซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงที่ร่วม มาที่ศูนย์เรียนรู้ และแจ้งวัตถุประสงค์ในการเข้ามาศึกษาดูงานในครั้งนี้ และได้เชิญวิทยากร นายอภินันต์ หมัดหลี หัวหน้ากลุ่มศูนย์เรียนรู้เกษตรธาตุ 4 มาบรรยายและแนะนำสถานที่ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางศูนย์ ดำเนินกิจกรรมอยู่

  • เวลา 13.00-13.30 น.นายอภินันต์ หมัดหลี (บังนัน)วิทยากร ศูนย์เรียนรู้เกษตรธาตุ 4 เล่าประวัติความเป็นมาของ จุดเด่นของศูนย์ฯ วิถีธรรมชาติเกษตรธาตุ 4 สวนสังคมพืช 12 ชั้น การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การแปรรูปสมุนไพร พฤกษา ศาสตร์ชุมชน การตีผึ้งเชิงอนุรักษ์การแพทย์แผนไทย การจักรสาน และการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้าเขาพระ ปัจจุบันตนเองได้สืบทอดและพัฒนาเกี่ยวกับการทำ เกษตรกรรมวิถีเกษตรธาตุ 4 ของบิดา (นายหรน หมัดหลี ปราชญ์ชาวบ้านปี 2551) ในการพัฒนาแปลงเกษตรเป็นสวน 12 ชั้น ซึ่งเป็นตัวอย่าง ในการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันแปลงเกษตรดังกล่าวเป็น แหล่งศึกษาดูงานของเกษตรกรทั่วไปที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทา การเกษตร นอกจากนี้ ได้ร่วมจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษุ์พื้นที่ต้นน้า เขาพระและส่งเสริมกลุ่มสตรีก้าวหน้าเพื่อดาเนิน กิจกรรมด้านการแปรรูปสมุนไพร และการเพาะพันธุ์กล้าไม้เพื่อจำหน่าย รางวัลเชิดชูเกยีรติที่เครือข่ายเคยได้รับ - ปี 2551 รางวัลดีเด่นการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ
    ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ฯ ที่ตั้ง 13/1 บ้านนบนควน ม.6 ถนนยนตรการกำธร ตำบลเขาพระอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์ฯ ศูนย์เรียนรู้ครูปัญญาไทเกษตรธรรมชาติธาตุ 4และได้นำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาศึกษาวิเคราะห์กับข้อมูลชุมชน จนสามารถรวบรวมภูมิปัญญาชุมชนและนำ ไปประยกุต์ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ได้เล่าต่อว่า ป๊ะหรนมีลูก 11 คนตัวเองเป็นลูกชายคนโต ป๊ะหรน ได้จากโลกนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา แต่ได้สร้างคุณงามความดีไว้มากมายทิ้งไว้ จนลูกหลานไม่อาจไม่สานต่อเจตนารมณ์ เมื่อ 40 ปีที่แล้วมาแต่เดิมทำความเข้าใจยาก แต่ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว ตนเองพยายามบอกคนให้รู้จักพืชทุกชนิด ให้ชิมรส ซึ่งการรู้จักธาตุง่ายนิดเดียว ถ้ารสฝาดหรือขมจัดนี่เป็นธาตุดิน ผลไม้ที่ชิมแล้วจืดเป็นธาตุน้ำถ้ารสเฝื่อนเป็นธาตุลม ถ้ารสเผ็ดร้อน เช่นพริก ขมิ้น นี่เป็นธาตุไฟ แต่พริกจะมีธาตุดินปนด้วย" ปัจจุบัน ตนเอง และลูกๆป๊ะสืบทอดแนวคิดธาตุ 4 ได้แล้ว ในหมู่บ้านก็ตั้งมูลนิธิเรียกเด็กๆมาอบรมให้รู้จักพืชผักพื้นบ้าน อบรมชาวบ้านให้ทำเกษตรผสมผสานรู้จักปลูกและแปรรูปผลิตภัณท์จากพืชสมุนไพรทีมีอยู่แล้วภายในสวน เช่น การทำแชมพูย่านสะบ้า จากย่านสะบ้า การทำยางหม่อง จาก ไพรดำ การทำสบู่จากต้นสาบเสือ และพืชพื้นบ้านมากขึ้น แล้วทำหนังสือถึงโรงเรียนให้นำนักเรียนมาเรียนเรื่องเกษตรผสมผสาน ให้เข้าใจสิ่งแวดล้อม ป๊ะก็เป็นวิทยากรและยังสอนชาวบ้านให้หยุดทำลายป่าด้วย" และตอนนี้ตนเองและลูกๆ ทุกคนของป๊ะสืบทอดต่อด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ มีการ อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การทำกลุ่มออมทรัพย์ การในด้านการเกษตรที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ แนวทางของป๊ะหรน ตอบโจทย์ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และยั่งยืนอย่างแท้จริง เช่น การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก แต่ขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุนได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและวิถีชีวิตที่พึ่งพาอาศัยกัน เป็น
แนวทางดังกล่าว ถูกนำไปใช้ซ้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยกลุ่มคนที่เข้ามาศึกษาดูงาน หรือเข้าอบรมต่างๆที่จัดขึ้นตั้งสมัยปะหรนยังอยู่ ป๊ะหรน ได้ศึกษาการปลูกพืชผลที่ต่างชนิดกันมาไว้รวมกันในหลุมเดียว โดยค้นพบว่าต้นไม้ก็มีธาตุ ธรรมชาติเช่นเดียวกับธรรมชาติของมนุษย์ ที่มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ หากธาตุทั้งสี่ในร่างกายมนุษย์มีความสมดุลก็จะเจริญแข็งแรง ซึ่งต้นไม้ก็จะ มีลักษณะเช่นเดียวกัน
เมื่อค้นพบแล้ว จึงใช้ความรู้เรื่องธาตุ 4 มาเป็นหลักในการคัดเลือกพืชที่มีลักษณะเข้ากันได้มาปลูกได้ด้วยกันเพื่อให้ เกิดการพึ่งพาอาศัยระหว่างไม้ต่างชนิด เมื่อไม้แต่ละชนิดไม่ทำลายกันเองก็ได้ดอกผลที่อุดมสมบูรณ์
วิธีการที่จะรู้ได้ว่าต้นไม้แต่ละชนิดมีธาตุประเภทใดมาก คือ นำส่วนใดส่วนหนึ่งของลำต้นมาเคี้ยว ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่จะมีรสมากกว่าหนึ่งรส เช่น ในการเคี้ยวครั้งแรกจะได้รสฝาด แต่เมื่อเคี้ยวไปสักพักจะออกรสหวานหรือจืด เป็นต้น สำหรับไม้ที่มีรสฝาดเท่ากับมีธาตุลม รสจืดจะเป็นธาตุน้ำ รสเผ็ดหรือร้อนจะเป็นธาตุไฟ เช่น ยางพาราจะมีธาตุไฟมาก และกล้วยจะมีธาตุน้ำมาก เป็นต้น
แน่นอนว่าต้นไม้แต่ละชนิดจะมีธาตุที่ต่างกัน บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า พืชทุกชนิดประกอบด้วยทั้งธาตุ 4 แต่จะมีไม่เท่ากัน และถ้ามีธาตุตรงกันข้ามกันก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพราะพืชแต่ละชนิดมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น พืชที่มีธาตุน้ำมากจะต้องปลูกร่วมกับพืชที่มีธาตุไฟมาก เพื่อให้เกิดดุลยภาพ และทำให้พืชแต่ละชนิดออกดอกออกผลเต็มที่
“เกษตรธาตุ 4” เป็นเกษตรธรรมชาติ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ส่งผลดีต่อสุขภาพ ธรรมชาติ และผู้บริโภคอย่างยั่งนืน
- เวลา 13.00-14.45 น.นายบีลอม หมัดหลี (บังสร) ได้พาคณะไปเดินเยี่ยมชม สวนปะหรน โดยแนะนำว่า สวนมีพื้นที่ 19 ไร่ แยกเป็น 2 ส่วนคือ - เนื้อที่ 14 ไร่ จ สวนยาง สวนผลไม้ และ ปลูกพืชผสมผสาน พืชแซมยาง บ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด
- เนื้อที่ 5 ไร่ สำหรับปลูกไม้ป่ายืนต้น
โดยพื้นที่ทั้ง 2 จุด จะไปจรด กับป่าต้นน้ำ คลองรำแชงที่อุดมสมบูรณ์มาก

  • เวลา 14.45-15.00 น.คณะมารวมกันที่อาคารเรียนรู้ และนายอภินันต์ หมัดหลี (บังนัน)วิทยากร ได้สรุปกิจกรรมทั้งหมดให้ทางคณะซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเองให้อยู่รอดภายใต้วิถีธรรมชาติ โดยได้รับความสนใจและประทับใจในการเดินทางในครั้งนี้ของกลุ่มเป็นอย่างมาก

  • เวลา 15.00 น. ปิดการเยี่ยมชมศึกษาดูงาน โดย บังนัน ศูนย์การเรียนรู้เกษตรธาตุ4 สมาชิกขึ้นรถเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชร่วมกันในรุปแบบ 4 ชั้น  ผักเหรียงแซมยางและสามารถนำมาใช้ในแปลงตนเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน ในชุมชน 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-