ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

ถอดบทเรียน และการก้าวต่อไปของชุมชน28 สิงหาคม 2559
28
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

1.เพี่อให้เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง และเกิดการทบทวนกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทางชุมชนร่วมมือกันตั้งแต่เริ่มกิจกรรมแรกจนถึงกิจกรรมถอดบทเรียน

2.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา13.00 น. ลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนลังจากนั้นจึงส่งข้อมูลให้ น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ เพื่อเข้าสู่กิจกรรมถอดบทเรียนในลำดับถัดไป
  • เวลา 13.25 น. น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ กล่าวเปิดกิจกรรม โดยการขอบคุณพี่เลี้ยงโครงการ คือ นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี ที่เป็นผู้ผลักดันให้โครงการเริ่มต้นและดำเนินไปครบทุกกิจกรรม และแนะนำสภาผู้นำชุมชนคนปลักควายให้กับสมาชิก คือ นายผ่อง นวลละออ, นายพร้อม ทองเอื่อ, นายสัญญา ทองเอือ , นายณรงค์ สังฆะปาโน, นายนิวัฒ ปิยะพงษ์,นายประคอง เพรชพรหมศร,นายนิยม ศิริมุกศิกะ,นายสาธิต ทองอำพล(แทนนายผอบ ทองอำพล(ป่วย)),นายเวียน ธรรมรัตน์, น.ส.คะนึง ยิ้มเยื้อน,นางพิณ อุไรรัตน์,นางสาวอัมไพ ธรรมรัตน์,นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์,นายพิศาล ธรรมรัตน์,นางสาวทัศนีย์ ธรรมรัตน์ และผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
  • เวลา 13.15 น. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ กล่าวทักทายผู้ร่วมประชุมและแจ้งหัวข้อกิจกรรมถอดบทเรียน แนะนำวิทยากรที่มาร่วมถอดบทเรียนชุมชน จำนวน 2 ท่าน คือ นายประนอม คงสม วิทยากรคนที่1 และ นางยุรี แก้วชูช่วง วิทยากรคนที่ 2 และ ผู้สังเกตการณ์ นายสุทิศ พงษ์จีน ตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด มีการเปิด สไลต์พร้อมวิดีโอสรุปกิจกรรม ทั้ง 16 กิจกรรม

  • ขั้นตอนและกระบวนการถอดบทเรียน

นายประนอบ คงสม และนางสาวยุรี แก้วชูช่วง วิทยากรกระบวนการ การนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้คนในชุมชนได้ย้อนนึกถึง ประวัติของชุมชนซอยปลักควายจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

  • การแลกเปลี่ยน สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 1.นายสุุทิศ พงษ์จีน ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรควนเนียง ไ้ด้แสดงความคิดเห็น ว่า สิงที่เปลี่ยนแปลงคือ มีกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ มีการปรับระบบความคิดใหม่ในการพัฒนาอาชีพ และมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยหมักที่ทำกันเองในชุมชนมากขึ้น เนื่องจากคนในชุมชนซอยปลักควายเกือบ 100% เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง โดยสหกรณ์ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมคือ ให้สถานที่โรงปุ๋ยให้คนในชุมชนเข้าไปทำปุ๋ยไว้ใช้เอง ซื่งก็ได้สมาชิกเข้าไปทำปุ๋ยเยอะ รวมทั้งมีการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน เนื่องจากมีคนจากภายนอกเพิ่มปริมาณมากขคฃึ้นที่เข้ามาเที่ยวในชุมชนและเข้ามาซื้อของที่คนในชุมชนผลิตเอง ทำให้มีการกระจายรายได้ให้กับทุกคนในชุมชน แต่ปัญหาที่มีในชุมชน คือถนนแคบ
  1. นายนิยม ศิริมุกสิกะ ได้บอกว่า สิ่งที่ตัวเองเห็น คือ มีคนให้ความสนในเรื่องสมุนไพรที่ตัวเองทำมากขี้น เพราะเมื่อก่อนคนอื่นหรือคนภายนอกจะมองว่าตัวเองบ้า แต่พอเข้ามาร่วมโครงการ ตัวเองได้เป็นปราชญ์ชุมชน ้ด้านการเลื้ยงผึ้งจากลังไม้ และการปลูกพืชสมุนไพร มีคนเข้ามาศึกษาดูงานและเข้ามาเรียนรุ้ และเกิดการยอมรับมากขึ้น ตัวเองรู้สีกภูมิใจมาก รวมทั้งสามารถสอนคนในชุมชนให้ทำสมุนไพรใช้เอง ในส่วนตัวมีรายได้เสริมการขายน้ำผึ้งจากลังไม้ประมาณ ปีละ 6,000 บาท นอกเหนือจากตัดยางและทำนา และปัจจุบัน ก็ได้ทำปุ๋ยหมักใช้เองกับนาข้าวและ พืชผัก ผลไม้ที่ปลูกในสวน
  2. นายประคอง เพรชพรหมศร บอกว่าสิ่งที่ตัวเองได้รับคือ ความสามัตตีของคนในชุมชน หลังจากที่ห่างกันมานานที่เกิดจากวงคุยเวลามีกิจกรรม และผลผลิตทางการปลูกพืชผักได้ปริมาณและคุณภาพมากขึ้นหลังจากนำปุ๋ยหมักที่เข้ามาร่วมกิจกรรมไปใช้กับถัวฝักยาว รสชาดกรอบ อร่อย และ ฝักยาวมากๆ และปลูกแล้วมีที่ขายไม่ต้องกังวลเหมือนเมื่อก่น เพราะมีคนมาเที่ยวในชุมชนมากขึ้น
  3. นายสาธิต ทองอำพล บอกว่าตัวเองเข้ามาร่วมกิจกรรมเกือบทุกกิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย ค่าปุ๋ยได้มาก ทางโครงการได้สอนการทำปุ๋ยหมัก และได้นำไปใช้กับปาล์มน้ำมันที่ปลูกอยู่ หลังใช้แล้วปาล์มโตไวและไม่มีโรคและแมลงรบกวน ตอนนี้ตัวเองได้ทำปุ๋ยหมักใช้เองแล้ว
  4. นางจำเนียน เฉ่งฉิม ก็ได้บอกว่าสิ่งที่ตัวเองได้หลังจากมาร่วมทำกิจกรรมได้ทำฮอร์โมนไข่ให้ไก่และเป็ดกิน สิ่งที่ได้รับคือไก่และเป็ดตัวโต น้ำหนักดีมาก ขนไม่ร่วง รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องข้ออ่อน ได้ดี ทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่ายลงได้เยอะ
  5. นายพร้อม ทองเอื้อ กล่าวว่าในฐานะผู้นำชุมชนซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ก็ได้แสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่ได้รับคือ คนในชุมชนพูดคุยและลดช่องว่างระหว่างวัย และทำให้มีความสามัคคีกันมากขึ้น รวมถึงลดการเจ็บป่วยของคนในชุมชนได้เยอะขึ้น เนื่องจากปัจจุบันคนหันมาทำแนวเกษตรอินทรีย์ การใช้สารเคมี ประเภทยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงน้อยมาก การที่คนในชุมชนหันมาใช้ปุ๋ยหมักทำให้ดินดีขึ้น สภาพอากาศก็ดีตามไปด้วย รวมถึงการสอนการทำน้ำยาล้างจานและสบู่สมุนไพรใช้เองภายในครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นจริง
  • สรุปบทเรียนจากการทำงานโครงการ

จุดแข็ง
- มีการทำข้อมูลชุมชน พบว่า หนี้น้อย
- ชาวบ้านในชุมชนกินดีอยู่ดี มีหนี้สินน้อย มีการเก็บ-ออมเงิน - สิ้งที่ค้นพบ,เห็น คนในชุมชนใช้สีอได้ - ใช้ทุนชุมชน,คน,มั่นคง โดยคนใช้ความรู้จากพื้นที่ คนมีความเป็นอยู่พอเพียง มีจุดเรียนรู้ภายในชุมชนและบริเวณภายนอกชุมชน - วิถีการใช้สมุนไพร "ทำเป็น ใช้เอง"

จุดอ่อน

  • ถนนแคบ การเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังโครงการ
  • ความคาดหวัง ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และเกิดแกนนำชุมชนเข้มแข็ง

  • ก่อนเริ่มโครงการ

1.คนในชุมชนไม่มีการรวมกลุ่่ม(แยกกันทำงาน) ปลูกพืชเชิงเดี่ยว(ยางพารา) มีของขายจุดเดียวคือตลาดควนเนียงของล้นตลาด

  • หลังโครงการ
    1.เกิดความสามัคคี มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมมากขึ้น 2.สร้างอาชีพ สร้างภาคี กับกลุ่มสมุนไพรสปาฮาลาลของม.อ. มีอาชีพที่สร้างรายได้เสริม คือกลุ่มเลี้ยงผึ้ง งานปูนปั้นไม้เทียม ทำปุ๋ยหมักใช้เอง 3.มีตัวอย่างบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ เช่น ผลิตน้ำยาล้างจานใช้เอง ปลูกพืชร่วมยาง เลี้้ยงเป็ด ปลูกกล้วย(ผลใหญ่) ปลูกข้าว ปลูกปาล์มน้ำมัน ภาคีเครือข่าย
  • สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด เน้น กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ปรับวิธีคิด,ระบบคิด,อาชีพ,ทำตัวอย่างสินค้าชุมชน,มีคนมาเยี่ยมชมและดูงานเยอะกว่าเดิม
  • กลุ่มสมุนไพรสปาฮาลาล ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร
  • กลุ่มเครื่องแกง รับซื้อวัตถุดิบผลิตเครื่องแกง
  • วิทยาลัยชุมชน มาสอนการทำขนมและน้ำดื่มสมุนไพรจากท้องถิ่น
  • อบต.ควนโส เชิญตัวแทนชุมชนเป็นวิทยากรสอนการผลิตปุ๋ยหมักให้ใช้ในครัวเรือน
  • เทศบาลบางเหรียง เชิญปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรเรื่องกินเป็นลืมป่วยจากสมุนไพรในท้องถิ่น
  • โรงเรียนควนเนียงวิทยา เชิญปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรเรื่องการทำสบู่สมุนไพรในท้องถิ่น
  • เทศบาลคลองแห เชิญชุมชน ออกบู๊ทขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนงานเทศบาลบริการประชาชน ประจำปี 2559
    เวลา 15.00 น.ปิดกิจกรรมการถอดบทเรียน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
- ประชาชนในซอยปลักควาย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการฯ จำนวน 100 คน

ผลผลัพธ์ กิจกรรมถอดบทเรียน ทำให้คนในชุมชนเห็นสถานการณ์ของชุมชน

  • ก่อนเริ่มโครงการ 1.คนในชุมชนไม่มีการรวมกลุ่่ม (แยกกันทำงาน) ปลูกพืชเชิงเดี่ยว(ยางพารา) มีของขายจุดเดียวคือตลาดควนเนียงของล้นตลาด

  • หลังโครงการ
    1.เกิดความสามัคคี มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมมากขึ้น 2.สร้างอาชีพ สร้างภาคี กับกลุ่มสมุนไพรสปาฮาลาลของม.อ. มีอาชีพที่สร้างรายได้เสริม คือกลุ่มเลี้ยงผึ้ง งานปูนปั้นไม้เทียม ทำปุ๋ยหมักใช้เอง 3.มีตัวอย่างบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ เช่น ผลิตน้ำยาล้างจานใช้เอง ปลูกพืชร่วมยาง เลี้้ยงเป็ด ปลูกกล้วย(ผลใหญ่) ปลูกข้าว ปลูกปาล์มน้ำมัน 4.เกิดภาคีเครือข่าย

  • สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด เน้น กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ปรับวิธีคิด,ระบบคิด,อาชีพ,ทำตัวอย่างสินค้าชุมชน,มีคนมาเยี่ยมชมและดูงานเยอะกว่าเดิม
  • กลุ่มสมุนไพรสปาฮาลาล ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร
  • กลุ่มเครื่องแกง รับซื้อวัตถุดิบผลิตเครื่องแกง
  • วิทยาลัยชุมชน มาสอนการทำขนมและน้ำดื่มสมุนไพรจากท้องถิ่น
  • อบต.ควนโส เชิญตัวแทนชุมชนเป็นวิทยากรสอนการผลิตปุ๋ยหมักให้ใช้ในครัวเรือน
  • เทศบาลบางเหรียง เชิญปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรเรื่องกินเป็นลืมป่วยจากสมุนไพรในท้องถิ่น
  • โรงเรียนควนเนียงวิทยา เชิญปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรเรื่องการทำสบู่สมุนไพรในท้องถิ่น
  • เทศบาลคลองแห เชิญชุมชน ออกบู๊ทขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนงานเทศบาลบริการประชาชน ประจำปี 2559
    5.มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
  • วิธีคิดของชุมชน คือ มีการทำแปลงเกษตรปลอดสารพิษ หรือเกษตรอินทรีย์ เกิดการต่อยอดและขยายผล
  • การปฏิบัต มีการแลกเปลี่ยนใช้ทุนจากความรู้ของคนในชุมชนสู่การพัฒนา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในชุมชน ชาย-หญิง 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-