ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

การพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพแบบพึ่งตนเอง (เลี้ยงปลาดุกด้วยบ่อซีเมนท์)16 กรกฎาคม 2559
16
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายยาลานิง อาบ๊ะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะพัฒนาการเลี้ยงปลาดุกแบบพึ่งพาตนเอง 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คณะกรรมการและคณะทำงานได้แนะนำตัววิทยาการที่มาร่วมงานจากประมงอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 2.และผู้ใหญ่บ้านได้เกรินนำเรื่องละเอียดเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทราบ จากนั้น วิทยาการได้พูดถุงการเลี้ยงปลาดุกแบบต่างๆ ซึ่งการเลี้ยงปลาดุก จะมี 2 แบบ คือ การเลี้ยงปลาดุกแบบบ่อซีเมนท์ และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกในสองแบบนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปซึ่งการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนท์จะเลี้ยงง่ายกว่าเพราะสามารถเปลี่ยนน้ำได้ง่าย การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถใช้ อี เอ็มในการยื่นอายุของการถ่ายเปลี่ยนน้ำ และลดการทำให้ปลาไม่เครียดจากการเลี้ยง ผู้เลี้ยงก็ต้องเปลี่ยนน้ำ 2-3 วัน/1 ครั้ง หน้าหนาว ปลาดุกมีโอกาศการเกิดโรคได้มากๆ ขอแนะนำ ควรลงมือเลี้ยงในฤดูฝน จะทำให้เลี้ยงงายและโตเร็ว จะเก็บผลผลิตได้ไม่เกิน 3 เดือน จะโตเต็มทีสามารถจำหน่ายได้ วิทยากรจะบอกถึงวิธีการให้อาหารและการทำอาหารเองตามธรรมชาติโดยไม่เสียค่าอาหารเพื่อที่จะลดต้นทุนของอาหารให้ปลาดุกได้ วิธีการทำอาหารเอง คือ สามารถนำเศษอาหารหัวปลา เศษไก่ เศษอาหารที่เหลือบดให้ละเอียดนิดหน่อยนำไปเท่ลงในบ่อซีเมนท์และพืชผัก เช่น ผักตบชวาและอื่นๆ ที่สามารถนำให้มาปลาดุกกินได้ และการผสมอาหารเอง คือการทำอาหารปลาดุก ส่วนผสม
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร
**วิธีทำการทำอาหาร
1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน
**การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก 1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย 2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง 3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง **ประโยชน์ของปลาดุก -เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย -ปลาไม่เป็นโรค -ปลาไม่มีกลิ่นสาบ -ปลาไม่มีมันในท้อง -ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย ** เรื่องที่ 2 หลักสูตรการขนมตาแปฮูบีกายู ***(มันสำปะหลัง) 1.ต้องเลือกหัวมันสำปะหลังที่แก่และอ่อนมาก เพื่อที่จะไม่ให้ขนมออกมาแหละจนเกินไป 2.ตัดปลายห่างที่เป็นไม้ออก จากนั้นหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ4 เซนติเมตร 3. ปอกเปลือกออก และหั่นเนื้อมันเป็นแฉกให้เท่ากันตามความเหมาะสม 4. นำมันสำปะหลังที่ติดมันออก ล้าง 2-3 ครั้ง จนน้ำสะอาดและน้ำจะเป็นสีใสไม่ขุ่น 5. นำไปต้มในน้ำเดือดให้พอมันสำปะหลังสุก เสด็จน้ำจนน้ำแห้งสนิทและตากบนเสื่อให้ความร้อนคลายออกให้หมด 6.สุดท้ายให้นำหัวเชือกมาบอดให้ละเอียดและโปรยบนสำปะหลังให้พอดี จากนั้นใส่ในกะละมัง ปิดห่อหุ้มให้สนิทไว้หนึ่งคืน จากนั้นมาเปิดใส่ถุงเพื่อนำไปขายที่ตลาด ** การปลูกผักสวนครัว ริมรั้ว ** การปลูกผักสวนครัวริมรั้ว ได้ความอนุเคราะห์เมล็ดจากเกษตรอำเภอ พัฒนาอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาสการที่เราได้ปลูกผักริมรั้วเพื่อต้องการให้ชาวบ้านลดต้นทุนในการซื้อของบนรถเร่ หรือการใช้แบบอย่างเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ชาวบ้านได้ปลูกตามรั้วหน้าบ้านหรือทำเป็นสวนหย่อมเพื่อเก็บพืชผักทานเองภายครัวเรือน จากที่เหลือกินสามารถนำไปขายต่อได้ตามราคาที่ไม่แพงนักชาวบ้านให้ความร่วมมือในการปลูกผักต่างๆ เช่น ตะไคร่ พริก ข่า และอื่นๆ ที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ง่ายดูแลไม่ยาก สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ภายในหมู่บ้านเกิดกลุ่มการเลี้ยงปลาดุก  มีกลุ่มการขนมแบบดั้งเดิม มีการปลูกผักเพื่อรับประทานกินเอง และแลกเปลี่ยนไปตาม ทำให้เกิดความสุขภายในตนเองและรอบๆหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 110 คน จากที่ตั้งไว้ 110 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชที่ว่างงาน

  • มาจริง 120 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-