ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนจำนวน 120 คน8 สิงหาคม 2559
8
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบสถานการณ์ในด้านสุขภาพ และสามารถนำไปแก้ไขได้ตรงจุด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสุกัลญาดำเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวเปิดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพของคนในชุมชน และได้เชิญวิทยากร นางสาวอรทัยอุสมา มาเป็นวิทยากร เพื่อร่วมกันสรุปปัญหาและสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชนดังนี้

สรุปข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชน ม.3 บ้านเกาะยวนจะเห็นได้ว่าจำนวนประชากรที่ได้ทำการสำรวจทั้งหมด 394 คน เป็นชาย 153 คน
เป็นหญิง 241 คน และพฤติกรรมการบริโภคของคนในชุมชนคือ

  1. ท่านกินผักและผลไม้หลากหลายใน 1 วัน จำนวนคนที่รับประทานผักและผลไม้มากที่สุด คือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 163 คน รองลงมา คือทานทุกวัน จำนวน 110 คน

  2. ท่านกินผักและผลไม้ อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมหรือ 5 กำมือต่อวัน จำนวนที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 243 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 83 คน

  3. ท่านกินผลไม้รสหวาน เช่น มะม่วงสุก ทุเรียน ขนุน เงาะ ลำไย จำนวนที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 153 คน รองลงมา คือ
    1 วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 116 คน

  4. ท่านดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้สำเร็จรูป น้ำหวาน ชานม กาแฟ จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 190 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 85 คน

  5. ท่านกินอาหารที่ปรุงด้วยกะทิที่เคี่ยวแตกมัน เช่น แกงเผ็ด แกงมัสมั่น แกงคั่ว จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 175 คน รองลงมา คือ 1 วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 81 คน

  6. ท่านกินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงหรือคลอเลสเตอรอลสูง จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 145 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 95 คน

  7. ท่านกินอาหารทอด เช่น ลูกชิ้นทอด ไก่ทอด มันฝรั่งทอด กล้วยทอด จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ ทานทุกวัน จำนวน 115 คน รองลงมา คือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 101 คน

  8. ท่านกินอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือการถนอมอาหาร เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง อาหารกระป๋อง จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 202 คน รองลงมาคือ คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 97 คน

  9. ท่านกินขนมกรุบกรอบเป็นถุง เช่น สาหร่าย ข้าวเกรียบ มันฝรั่ง 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 120 คน รองลงมาคือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ
    จำนวน 110 คน

  10. ท่านกินขนมหวานต่างๆ เช่น ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมเค้ก จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 175 คน รองลงมาคือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 118 คน

  • พฤติกรรมการออกกำลังกาย

จากการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชน ให้ความสนใจการออกกำลังกาย แต่อาจจะมีบางรายที่พบว่าไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เนื่องจากไม่มีเวลาว่าง หรือไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

  • พฤติกรรมด้านอารณ์

จากการสำรวจพบว่า ความเครียดของคนในชุมชนส่วนใหญ่อาจมาจากปัญหาครอบครัว รายได้ บางคนมีความเครียดจนทำให้นอนไม่หลับ และส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลง และบางคนเมื่อประสบกับปัญหาความเครียดหาทางออกโดยการ ใช้เวลาว่างในการประกอบอาชีพเสริม และหางานอดิเรกทำเพื่อให้คลายจากความเครียด

  • พฤติกรรมสุขอนามัย

จากการสำรวจพบว่า คนในชุมชนให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากออกจากห้องน้ำ ทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหาร


จากการสำรวจพฤติกรรมในการบริโภค จะเห็นได้ว่า การเลือกรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ยังมีจำนวนเลือกปฏิบัติบ่อยและซ้ำๆกัน เหมือนเดิม ซึ่งอาจส่งผลในเกิดโรคตามมา เช่น เบาหวาน ความดัน คลอเรสเตอรอลในเลือดสูง และในขณะนี้ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวในชุมชน มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น หากหยุดไว้ที่ภาวะเสี่ยง อยากให้ลดพฤติกรรมการบริโภคเหล่านี้ให้น้อยลงที่สุด หันมาทานผักและผลไม้ให้เยอะๆ เพื่อที่จะได้ลดภาวะเสี่ยงลงมาเป็นภาวะปกติหันมาออกกำลังกายในตอนเย็นของทุกวันๆละประมาณ 30 นาที
และจากตัวอย่างการสำรวจข้างต้น ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีความมัน เช่นแกงกะทิ ทำให้ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ไขม้นในเลือดสูง หากลดจากแกงทิมาเป็นแกงจืด แกงเลียง น้ำพริก ผักลวก จะดีมาก และอยากฝากให้ทุกคนได้เห็นความสำคัญของร่างกายของเรา อยากเลือกรับประทานตามปาก ลดพฤติกรรมการบริโภคที่เคยปฏิบัติมา มาเป็นการดูแลสุขภาพ เพื่อตนเองและคนในครอบครัวกันนะค่ะ
จากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวขอบคุณ วิทยากรที่ได้มาช่วยจัดดำเนินการเวทีคืนข้อมูลและครั้งต่อไปจะเป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดการการดูแลสุขภาพคนเกาะยวน เราจะมาวางกติการ่วมกันในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ สำหรับวันนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ค่ะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้รับทราบผลสรุปการสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชน
  • ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน
  • ร่วมกันขับเคลื่อนงานของชุมชนให้ได้ผลสำเร็จ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • สมาชิก อบต.
  • กลุ่มสตรีในชุมชน
  • ประชาชนในชุมชน
  • คณะทำงาน
  • ผู้นำศาสนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี