ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

ประชุมจัดทำกติการ่วมของชุมชน24 สิงหาคม 2559
24
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชนมีแนวทางและกฏกติการ่วมกันของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 24 สิงหาคม 2559นางสุกัลญา ดำเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวเปิดการประชุมจัดทำกติการ่วมของชุมชน และชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการจัดทำกติกาของชุมชน โดยเริ่มจากการหาปัญหาของชุมชน ที่พบบ่อยที่สุดมาสังเคราะห์จนเกิดกติกาของชุมชน ทั้งได้เชิญวิทยากร ร่วมจัดทำกติกาของชุมชนร่วมกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประชุมได้เสนอปัญหาดังนี้

  • ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย
  • ปัญหาการขาดความร่วมมือกันของชุมชน
  • ปัญหายาเสพติด
  • ปัญหาน้ำใช้ในครัวเรือน
  • ปัญหาถนนในหมู่บ้านทรุดโทรม เป็นต้น

จากนั้นได้สังเคราะห์เพื่อให้เกิดกติกาของชุมชนดังนี้

หมวดที่ 1 ว่าด้วยการศึกษา

  1. จัดให้มีการเรียนการสอนด้านศาสนาแก่เด็กเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไปในวันเสาร์-อาทิตย์ ตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมสนับสนุนอบรมแก่มุสลีมีน มุสลีม๊ะ
  2. จัดการเรียนการสอนอัลกรุอ่านในชุมชน
  3. สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปกครองและผู้เรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในตำบล

    หมวดที่ 2 ว่าด้วยสาธารณูปโภคสาธารณูปการ

  4. ร่วมดูแลบำรุงรักษาเส้นทางสัญจร ภายในหมู่บ้าน

  5. จะใช่ช่องทางการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและทันสถานการณ์ เช่น เสียงตามสาย วิทยุชุมชน เอกสารเผยแพร่

    หมวดที่ 3 ว่าด้วยการป้องกัน การแก้ไขปัญหายาเสพติดและรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน

  6. กำหนดเพิ่มมาตรการ เฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย สร้างความเข้มแข็งให้ชุดรักษาความสงบเรียบร้อย และชุดอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในชุมชน

  7. ไม่ยิงปืน ประทัด ในหมู่บ้าน ตำบล และในงานประเพณีต่างๆ
  8. กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหา ยาเสพติดและร่วมสอดส่องดูแลติดตามเด็ก เยาวชนในหมู่บ้านตำบลให้ห่างไกลยาเสพติด
  9. การลักขโมย ของผู้อื่น เช่น ขี้ยาง (เศษยางพารา) จะต้องหมดไป
  10. ร่วมสร้างค่านิยม รู้รักสามัคคี เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อลดความขัดแย้งภายในหมู่บ้าน
  11. ช่วยสอดส่อง ตรวจสอบร้านเกมส์ให้มีการขออนุญาตเปิด-ปิด ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพร้อมประสานความร่วมมือไปยังท้องถิ่นข้างเคียงเพื่อสร้างมาตรฐาน หรือกติกาชุมชน

    หมวดที่ 4 ว่าด้วยการพัฒนารายได้การส่งเสริมอาชีพ

12 .สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมโดยการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ สร้างงาน เพื่อแก้ปัญหาคนว่างงาน ความยากจน การรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หมวดที่ 5 ว่าด้วยศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. ศรัทธาและยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาอิสลามย่างแน่วแน่ เช่น การละหมาด 5 เวลาและการละหมาดวันศุกร์ เป็นต้น
  2. รณรงค์ให้มุสลิมละศีลอด ร่วมกันที่มัสยิดและปลูกจิตสำนึกให้แก่ร้านค้าในชุมชน งดจำหน่ายหรือบริการอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน
  3. พัฒนาศาสนสถานให้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชนและการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน

    หมวดที่ 6 ว่าด้วยสุขภาพและการสาธารณสุข

  4. ร่วมรณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน เช่น ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน

  5. คนในตำบล หมู่บ้านทุกกลุ่มวัยรู้จักการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง
  6. งดสูบบุหรี่/ใบจาก สิ่งมึนเมาในที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน มัสยิด สถานที่ราชการ
  7. ให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือน
  8. รณรงค์รวมพลังชุมชนลดการซื้อสินค้าตามโฆษณาที่เกินจริง

    หมวดที่ 7 ว่าด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน

  9. สร้างความร่วมมือในการลดความขัดแย้งในชุมชนและระหว่างชุมชนที่เกิดจากความไม่ เข้าใจทางด้านการเมืองการปกครองและด้านอื่นๆ

  10. ทุกหมู่บ้านกำหนดวันประชุมประจำเดือนและให้มีตัวแทนครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนตามที่หมู่บ้านนั้นๆ กำหนด
  11. พัฒนากระบวนการประชาธิปไตยทางตรงเพื่อเป็นพื้นที่กลางในชุมชน
  12. จัดทำแผนผังหมู่บ้านโดยจัดโซนเพื่อการบริการข้อมูลต่างๆ

    หมวดที่ 8 ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  13. ร่วมกับภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรท้องที่ องค์กรท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่นการจัดการที่ดินทำกินและเพื่อที่อยู่อาศัย การบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล เพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้

    หมวดที่ 9 ว่าด้วยกองทุนการเงินชุมชนและสวัสดิการสังคม

  14. ร่วมรณรงค์และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน (สัจจะเดือนละ 20 บาท) ให้ครอบคลุมและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการกองทุนเงินต่างๆ ในตำบล

  15. ให้ทุกครัวเรือนดูแล บริเวณบ้านเรือนของตนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีขยะมูลฝอย
  16. ร่วมรณรงค์ให้คนในหมู่บ้าน ตำบลมีการรวมกลุ่มกันจัดทำกลุ่มออมทรัพย์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้น
  • ได้กติกาของชุมชนที่นำไปปฏิบัติร่วมกัน
  • ได้แสดงความคิดเห็นร่วมของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมคณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี