ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดการการดูแลสุขภาพคนเกาะยวน14 สิงหาคม 2559
14
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดมาตการการปฏิบัติการจัดการสุขภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 14 สิงหาคม 2559 ได้จัดกิจกรรมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดการการดูแลสุขภาพคนเกาะยวน โดยมีนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประธานสภาผู้นำหมู่บ้านได้กล่าวเปิดการประชุม เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดการการดูและสุขภาพของคนในชุมชน สืบเนื่องจากเวทีคืนข้อมูลที่ผ่านมา เป็นการสรุปการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชน จะเห็นได้ว่าลักษณะความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และการรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่จะติดรสหวาน มัน เค็ม และบริโภคอาหารที่ซ้ำๆ กันทุกวัน ของทอด ของมัน และหลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชนกันแล้ว ดังนั้นในวันนี้ จึงอยากให้พวกเราทุกคนได้ร่วมกันวางมาตรการในเรื่องของการจัดการสุขภาพ เรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตามมาได้

  • นางธัญลักษณ์ พัตรา ได้เสนอให้แต่ละครัวเรือนสำรวจพฤติกรรมการปรุงอาหารในครัวเรือนของตนเอง ค่อยๆลด การปรุงอาหารที่เป็นรสจัด เช่น ลดการปรุงอาหารที่ให้รสเค็ม รสหวาน รสมัน ลงเพื่อให้เป็นผลดีต่อสุขภาพ
  • นายบุญลือ คงขวัญ ได้เสนอให้มีการจัดอบรมให้ความรู้ในแต่ละครัวเรือน โดยให้ผู้ที่เป็นคนปรุงอาหารหรือแม่ครัวในแต่ละครัวเรือน มาร่วมรับฟังในเรื่องการปรุงอาหารที่ปลอดภัยต่อคนในครัวเรือนและตนเอง และผลกระทบที่ตามมาเมื่อบริโภคอาหารรสจัดเป็นประจำ
  • นางวรรณดี ตรีมีน ได้เสนอให้มีการส่งเสริมในเรื่องของการออกกำลังกายของคนในชุมชน และอยากให้คนในชุมชนร่วมกิจกรรมการเต้นแอโรบิคในช่วงตอนเย็นของทุกวันซึ่งการจัดเป็นประจำทุกวัน ณ สนามหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกายและห่างไกลจากโรค

และทุกความคิดเห็นที่ได้เสนอมาต่างเป็นผลดีต่อคนในชุมชนที่สามารถเลือกปฏิบัติได้ เพื่อสุขภาพของตัวเราเอง ถึงแม้อาจไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทีเดียวหากแต่เราค่อยๆ ลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และความใส่ใจในตัวเองเป็นสำคัญก็จะเกิดผลดีแก่ตัวเราเอง และเพื่อให้เห็นความสำคัญของสุขภาพของคนในชุมชน เราจึงอยากให้มีเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารของคนในชุมชน เป็นแกนนำร่วมกับ อสม. และแกนนำรุ่นผู้ใหญ่ในชุมชนต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้มาตรการการจัดการเรื่องสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน
  • เกิดการแสดงความคิดและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  • เกิดความตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น
  • เกิดแกนนำที่สามารถเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพของคนในชุมชนได้ต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • สมาชิก อบต.
  • กลุ่มสตรี
  • ประชาชนในชุมชนบ้านเกาะยวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี