บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

ประชุมคณะทำงานโครงการ16 ตุลาคม 2558
16
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงการทำงานโครงการและคณะทำงานได้รับทราบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. โดยผู้ประสานงานโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจการทำงานโครงการให้กับผู้ประสานงานได้รับรู้รับทราบข้อมูลการทำงานโครงการ ต่อด้วยการแนะนำตัวของคณะทำงานโครงการพร้อมบทบาทการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ หลักคิดการทำงานโครงการเริ่มจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชนทำให้แกนนำร่วมกับพี่เลี้ยงได้มีการคิดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการทำงานของพื้นที่ เห็นด้วยกับการทำงานโครงการของพื้นที่แต่ปัญหาคือเมื่อมีงบประมาณมาในพื้นที่กลัวชาวบ้านจะมีความแตกแยก
  2. คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : พี่เลี้ยงโครงการ เล่าสถานการณ์ของ สสส.ที่ถูกแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของให้กับคนในชุมชน สสส.คือ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.มี 12 สำนัก และงบประมาณที่ลงมาพื้นที่ในครั้งนี้มาจากสำนัก 6 คือโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โครงการนี้จะมีพี่เลี้ยงโครงการที่คอยหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ และถ้าพื้นที่มีปัญหาอะไรก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเรื่องในส่วนของการขับเคลื่อนงานภายใต้แผนงานที่ร่วมกันกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในการทำงานของพื้นที่ถ้าคณะทำงานเห็นว่าไม่โปร่งใสก็สามารถรายงานไปยังพี่เลี้ยง ซึ่งพี่เลี้ยงมีอำนาจในการระงับโครงการได้สำหรับพื้นที่ตำบลละงู ปีนี้ได้ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน หัวใจของโครงการนี้ต้องการให้เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งชวนคิดชวนคุยในการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกเรื่อง ผู้แทนหมู่บ้าน : ถ้าต้องการให้การทำงานมีความสำเร็จเนื่องจากบทเรียนที่ผ่านมาการทำงานของชุมชนมีความล้มเหลวแต่อยากให้โครงการนี้นำชุมชนไปสู่ความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานของชุมชน
  3. ชี้แจงเรื่องการเบิกงบประมาณของโครงการ และงบประมาณที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหารและวัสดุอุปกรณ์แต่จะไม่ให้ค่าเดินทาง ผู้ใหญ่ : ชี้แจงเรื่องกิจกรรมของโครงการเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการทำงานคือพื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยไทรโดยมีเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม พื้นที่ รพ.สต.ห้วยไทรและพื้นที่ศูนย์เด็กเล็ก จะเห็นว่าหลายภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : โครงการชุมชนน่าอยู่เริ่มมาจากฐานข้อมูลของชุมชนมีการเรียงลำดับปัญหาที่ชัดเจนว่าปัญหาที่แท้จริงของชุมชนมีอะไรโดยกิจกรรมในการขับเคลื่อนคือการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหาของชุมชน และในเรื่องของงบประมาณเราจะไม่ให้ค่าเดินทางเนื่องจากมีแนวคิดว่าหมู่บ้านจะเข้มแข็งได้คนในหมู่บ้านต้องมีจิตอาสา คุณอนัญญาแสะหลี : ชี้แจงแผนงานกิจกรรมโดยกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการคือประชุมคณะทำงานสภาผู้นำโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน พัฒนาทีมสภาผู้นำเพื่อการทำงานจิตอาสา การศึกษาดูงาน มีพื้นที่ปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหา คณะกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : เสนอเรื่องการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละฝ่ายเพื่อช่วยในการทำงานโดยอาจจะชักชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่มาช่วยในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้มีคนทำงานมากขึ้น
    บัณทิตอาสา : แจกแจงเรื่องบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้คุยมาแล้วเบื้องต้นตอนนี้ก็มีคนทำงานที่ชัดมากขึ้นและคณะทำงานเองก็เห็นมิติใหม่ที่มาช่วยกันทำงานร่วมมือขับเคลื่อนงานภายใต้ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ให้สามารถเดินต่อได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมประชุมคณะทำงาน 15 คน
  • เข้าใจกิจกรรมกระบวนการชุมชนน่าอยู่มีระบบการหนุนเสริมโดยพี่เลี้ยง
  • เข้าใจหลักการวางแผน การใช้จ่ายเงินที่ถูกต้อง กับการบันทึกข้อมูลรายงานผลที่ตอบตัวชี้วัดผลลัพธ์ผลิต และการเก็บเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
  • ต้องการให้งานสำเร็จต้องถอดบทเรียน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • สมาชิก อบต.
  • เจ้าหน้าที่ รพ.สต.
  • อสม.
  • ผู้อำนวยการโรงเรียน
  • บัณฑิอาสา ฯ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • คณะทำงานมาช้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี