โครงการชุมชนร่วมใจ สูงวัยมีสุข ม.12 บ้านในเมือง

สรุปวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ผู้สูงอายุและความต้องการ1 มีนาคม 2016
1
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายดนหยาด สองเมือง
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปสู่การดูแลที่ถูกต้องและเข้าถึงหน่วยบริการต่างๆอย่างถูกวิธี
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 1 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 น. จัดกิจกรรมสรุปวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ผู้สูงอายุและความต้องการ โดยมีนายอับดลหามิต ยี่มะเหร็บ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดการประชุม มีคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้าน และ นางสาวอรทัย อุสมา พยาบาลวิชาชีพ ประจำ รพ.สต. บ้านในเมือง ตำบลละงู เป็นวิทยากรในการสังเคราะห์ข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุ และความต้องการ ที่ผ่านการวิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นจำนวน 1 ชุด จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล สถานการณ์ของผู้สูงอายุและความต้องการเป็นเวลา 10 วัน ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุที่สำรวจทั้งหมด 173 คน โดยทำการสังเคราะห์ข้อมูลทีละคน แยกเป็นชาย 74 คน หญิง 99 คน พบว่า

    • ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและปลูกผักขายในรายที่ยังแข็งแรง สุขภาพกายของผู้สูงอายุ โรคและการเจ็บป่วย ที่พบมากที่สุดคือ โรคข้อเสื่อม ปวดข้อ เก๊าต์ รูมาตอยด์ จำนวน 55 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน โรคกระเพาะอาหาร จำนวน 25 คน ต้อกระจก 18 คน เบาหวาน 13 คน โรคหัวใจ 12 คน โรคต้อหิน จำนวน 6 คน โรคสั่น จำนวน 6 คน โรคต่อมลูกหทากโต จำนวน 4 คน โรคไต 4 คน หลอดลมอักเสบ จำนวน 3 คน โรคอื่นๆ เช่น หอบหืด ไขมันในเส้นเลือด ใจสั่น กระดูกพรุน เหนื่อยแน่น จำนวน 6 คน
    • ปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ คือ ชอบสูญเสียความจำ ขี้ลืม พบมากที่สุดจำนวน 54 คน มีปัญหาเรื่องการมองเห็น (มองไม่ชัด สายตายาว ) จำนวน 48 คน มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนที่ เช่น เดินลำบาก บางคนต้องมีอุปกรณ์ช่วย จำนวน 23 คน มีปัญหาเรื่องการนอนกรน จำนวน 23 คน มีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหาร จำนวน 22 คน มีปัญหาเรื่องการได้ยิน คือ ได้ยินไม่ชัดเจน จำนวน 20 คน มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ คือ ชอบตื่นกลางคืน จำนวน 16 คน มีปัญหาหกล้ม จำนวน 6 คน มีปัญหาเรื่องกลั่นปัสสาวะไม่อยู่(ปัสสาวะเล็ด ราด ไม่สามารถกลั่นปัสสาวะได้ขณะไอ)จำนวน 8 คน มีปัญหาเรื่องท้องผูก จำนวน 4 คน ด้านพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ มีการออกกำลังกายโดยการเดิน และปั่นจักรยานเป็นส่วยใหญ่ งานอดิเรกเลี้ยงสัตว์ มีการตรวจร่างกายสม่ำเสมอ โดย อสม.

    • ความสามารถเชิงปฎิบัติของผู้สูงอายุ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องมีคนดูแล จำนวน 165 คน และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และต้องมีคนดูแลในบางเรื่อง จำนวน 8 คน

    • ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุปัญหาซึมเศร้า จากการตอบแบบสำรวจ ผู้สูงอายุปกติมีจำนวน 165 คน ผู้สูงอายุมีความเศร้าเล์้กน้อย จำนวน 7 คน ผู้สูงอายุมีความเศร้าปานกลาง จำนวน 1 คน

    • สุขภาพสังคมผู้สูงอายุ อาศัยอยู่กับคู่สมรส สามี ภรรยา และบุตร มีการประกันสุขภาพโดยใช้สิทธิบัตรทอง เมื่อเจ็บป่วยมีผู้ดูแลหลักคือ บุตร และคู่สมรส แหล่งสนับสนุนด้านจิตสังคมส่วนใหญ่จะเป็นคู่สมรส และบุตรที่ผู้สูงอายุไว้วางใจ และช่วยเหลือเกื้อหนุนด้านจิตใจ และเพื่อนบ้าน ญาติใกล้เคียง มาเยี่ยมเยี่ยนเมือเจ็บป่วย เมื่อได้ข้อจากการสังเคราะห์ก็จะนำไปสู่เวทีคืนข้อมูลต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • อสม.
  • เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี