โครงการชุมชนร่วมใจ สูงวัยมีสุข ม.12 บ้านในเมือง

อบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชสมุนไพร มีการนวด การทำลูกประคบด้วยตนเอง5 สิงหาคม 2016
5
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายดนหยาด สองเมือง
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องสมุนไพร ฝึกการนวด และทำลูกประคบด้วยตนเอง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน โดยมีนายอับดลหามิต ยี่มะเหร็บ ผู้ใหญ่บ้าน และประธานผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดการประชุม กิจกรรมอบรมให้ความรู้การปลูกพืชสมุนไพร มีการนวด และการทำลูกประคบสมุนไพรด้วยตนเอง โดยมีนางฮาอีฉ๊ะ หมีนคลานและ นางอัลวาณีย์ วงสุธรรม วิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการประคบสมุนไพร คือการใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำมานึ่งให้ร้อนประคบบริเวณที่ปวดหรือเคล็ดขัดยอกซึ่งน้ำมันหอมระเหยเมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมา ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และยังมีสารสำคัญจากสมุนไพรบางชนิดที่ซึมเข้าทางผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก และลดปวดได้

  • อุปกรณการทำลูกประคบ

    • ผ้าดิบสำหรับหอลูกประคบ ขนากกว้าง 35 x ยาว 35 เซนติเมตร 2 ผืน
    • เชือก หรือหนังยาง
    • ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ
    • เตา พร้อมหม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ
  • ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ

    • ไพล แก้ปวดเมื่อยลดการอักเสบ
    • ผิวมะกรูดถ้าไม่มีให้ใช้ใบแทนได้ ช่วย ให้มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
    • ตะไคร้บ้าน ช่วยแต่งกลิ่น
    • ขมิ้น ช่วยลดการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
    • ใบมะขาม ช่วยแก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
    • เกลือ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น
    • การบูน ช่วยแต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
    • ใบส้มป่อย ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน
  • วิธีการทำลูกประคบ

    • หั่นหัวไพล ขมิ้น ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำพอหยาบ
    • นำใบมะขาม ผสมกับสมุนไพร ตามข้อ 1 เสร็จแล้วใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน
    • แบ่งตัวยาที่ผสมเรียบร้อยแล้วใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยยางให้แน่น
    • นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ประมาณ 15-20 นาที หลังจากนั้นก็นำมาประคบ
  • วิธีการประคบ

    • จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั้ง นอนตะแคง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบ
    • นำลูกประคบที่ผ่านการนึ่งแล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการ
    • ในการวางลูกประคบบนผิวหนังโดยตรงในช่วงแรกๆต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นานๆเพราะจะร้อนมาก
  • ข้อควรระวัง

    • ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป กับบริเวณผิวหนังอ่อนๆ หรือบริเวณที่เคยเป็นแผลมาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรมีผ้ารองก่อน
    • ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว ความรู้สึกตอบสนองต่อความร้อนช้า อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ พองได้ง่าย
    • ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพร ในกรณีที่มีแผลอักเสบ ในช่วง 24 ชั่วโมง
    • หลังจากประคบสมุนไพรแล้วไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และอุณหภูมิของร่างกายปรับเปลี่ยนไม่ทันอาจจะทำให้เป็นไข้ได้
  • วิธีการเก็บรักษา

    • ลูกประคบสมุนไพรแต่ละครั้ง สามารถเก็บไว้ใช้ซ้ำได้ 3-5 ครั้ง
    • ควรเก็บลูกประคบไว้ในตู้เย็น จะทำให้เก็บได้นานขึ้น ควรเช็คลูกประคบด้วย ถ้ามีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยวไม่ควรเก็บไว้
    • ถ้าลูกประคบแห้งก่อนใช้ควรพรมน้ำ
    • ถ้าลูกประคบที่ใช้ไม่มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลงแสดงว่ายาที่ใช้จืดแล้ว ควรเปลี่ยนลูกประคบใหม่
  • หลังจากนั้นวิทยากรได้มีการสอน การทำยาดมสมุนไพรแบบง่าย ซึ่งมีสรรพคุณ สูดดมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลายแก้หวัด ซึ่งจากผลการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้สูงอายุให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทุกคนให้ความร่วมมือ สอบถามและบอกว่าจะนำกลับไปทำอีกที่บ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ความรู้ในเรื่องของการแพทย์แผนไทย การทำลูกประคบ ความรูเกี่ยวกับสมุนไพรและการนำไปใช้ประโยชน์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้สูงอายุในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี