โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)

ผู้นำกลุ่มปฏิบัติการทำห้องจำลองการเรียนรู้ครั้งที่ 110 พฤศจิกายน 2015
10
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาออกแบบห้องจำลองการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้นำกลุ่มปฏิบัติการทำห้องจำลองการเรียนรู้จากความรู้ปีที่แล้ว ทบทวนความรู้ที่ได้จากสมาชิก แลกเปลี่ยนของกลุ่มผู้นำ ได้แก่กลุ่มปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ กลุ่มปลูกผัก พืชสวนครัว กลุ่มผลิตเครื่องแกง กลุ่มเพาะชำต้นกล้าไม้ผลไม้ประดับ เพื่อสร้างความรู้ของหมู่บ้าน เป็นฐานของหลักสูตรฐานครัวเรือน ทำฐานเป็นสองห้อง ห้องแรกเรื่องการทำวัตถุดิบและผลผลิตเกษตรปลอดสารเคมี ห้องที่สองเป็นการแปรรูป ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้มีคุณภาพ มีชื่อ ถูกต้องตามการตลาด ได้รับการยอมรับ จาก อย. มผช. ใช้คนหมุนเวียนมาทำห้องจำลอง ออกแบบ มาสรุปโดยใช้วัสดุในพื้นที่มาทำ เช่น ป้ายทำด้วยแผ่นไม้ ร่วมปฏิบัติ มีกลุ่มผู้นำร่วมปฏิบัติห้องละ 15 คน รวม 30 คน โดยมีการวางแผนในการทำงานเป็นขั้นตอนได้แก่ ครั้งที่ 1 สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติในปีที่ 1 ที่ผ่านมาทำเป็นภาพวาดและข้อมูลผังชุมชน ครั้งที่ 2 นำข้อมูลครัวเรือนตัวอย่างมาร่วมเพิ่มเติมให้มีความสมบูรณ์มายิ่งขึ้น ครั้งที่ 3 ผู้นำกลุ่มร่วมกันเพิ่มเติม จัดตกแต่งให้สวยงามโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ครั้งที่ 4 ผู้นำกลุ่มเชิญปราชญ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เติมฐานความรู้ให้มีข้อมูลด้านวิชาการควบคู่กับการปฏิบัติ ครั้งที่ 5 เพิ่มเติมข้อมูลและตกแต่งความสวยงามให้พร้อมต่อการฝึกของวิทยากรหมู่บ้านที่ทำงานต่อเป็นการทำผงครัวเรือน
  • ในที่ประชุมมี นายสุรินทร์ พูลแก้ว ได้เสนอให้จัดตั้งโรงสีข้าวชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้กินข้าวที่ปลอดสารพิษที่ป่นเปื่อนในข้าวสารที่ซื้อมาจากท้องตลาด และยังเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ปลูกข้าวกินเองโดยการปลูกแซมในสวนยางพาราที่โค้นปลูกใหม่ ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ ยางพารากิโลละ 25 บาท พวกเราต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ใหมากที่สุดและพึ่งตัวเองให้ได้ (ในท้ามกลางวิกฤติทุกครั้ง มักจะมีโอกาสอยู่ด้วยเสมอ)
  • คณะทำงานโครงการ และผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วย โดยมีคณะกรรมการ 7 คน จัดตั้งวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชนบ้านทุ่งหนองควาย และที่ประชุมมีมติให้กู้เงินจากธนาคาร ธกส. จำนวน 300,000 บาท ในการลงทุน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือนร่วมจัดทำผังครัวเรือนมีการวางแผนในการลงจัดเก็บข้อมูล
  • คณะกรรมการและผู้ร่วมในการปฏิบัติงาน ได้ออกแบบห้องจำลองการเรียนรู้ในกระดาษ ทุกคนจะสะท้อนหรือแสดงความคิดเห็นไปคนละอย่าง แก่ก็สรุปว่าในวันลงมือปฏิบัติออกมาเป็นชิ้นงานเราก็ต้องปรับปรุงให้งานออกมาสมบูรณ์มากที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 2 ห้องๆที่หนึ่งจะจัดเป็นห้องจำพวกประเภทอาหาร เช่น กลุ่มผลิตเครื่องแกง, กลุ่มปลูกพืช-ผักสวนครัว หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่เกิดจากผลผลิตของกลุ่ม ส่วนห้องที่ 2 จะเป็นจำพวกกลุ่มปุ๋ยหมัก, น้ำ้หมักชีวภาพ, กลุ่มเพาะชำกล้าไม้
  • ตัวแทนของแต่ละกลุ่มได้แบ่งงานรับผิดชอบตาวความถนัด และใครมีวัสดุก็นำมาใช้โดยไม่ไม่ต้องไปซื้อ
  • ได้มีการเสนอให้เปลี่ยนไม้ และกระเบื้องหลังคาอาคารโรงเรียนที่ผุ หรือที่ปลวกกินไม้ที่ชำรุด มีการนัดหมายให้มาช่วยกันทำ และนำเครื่องมือมากันเอง เช่นเลื่อยไฟฟ้า ค้อน
  • ได้จัดตั้งวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชน เป็นการเพิ่มกิจกรรมใหม่ให้กับชุมชน โดยการลงหุ้น มีการคัดเลือกคณะกรรมการและให้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน, สามาชิก อบต., คณะทำงานโครงการ จำนวน 23 คน
  • ตัวแทนกลุ่มต่างๆ จำนวน 9 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อาจารย์กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-