กระจาดสานใจเครื่องแกงกู้ภัยเศรษฐกิจบ้านนาแยกเหนือ (ต่อยอดปี 2)

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร่วมเวทีถอดบทเรียน การปรับตัวในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ6 ตุลาคม 2559
6
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย dome
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนด้านการเกษตรและวิสาหกิจชุมชนให้มีส่วนร่วมบริหารจัดการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการขับเคลื่อนได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมโครงการร่วมเวที ถอดบทเรียน ของโครงการ การทำเกษตรแบบผสมผสานโดยการทำปุ๋ยหมัก ทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง นำไปใช้กับพืชผักที่ปลูกบริเวณบ้านและพื้นที่ว่างในสวนยางพารา สวนผลไม้ และพื้นที่ว่างเปล่าอื่น ๆที่สามารถปลูกพืชผักได้ เพื่อใช้ในครอบครัวและนำมาขายให้กับกลุ่มเครื่องแกงในหมู่บ้านได้ การปรับตัวในยุคเศรษฐกิจตกต่ำอย่างไรช่วยกันเสนอเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน การปรับตัวนั้นไม่ยากหากพื้นฐานของเราดี คือเรายึดหลักความพอเพียงเป็นแนวทางอยู่แล้วเมื่อเข้ายุคเศรษฐกิจตกต่ำเราก็อยู่ได้สบาย เนื่องจากว่าเราได้หาทางออกไว้ในระดับหนึ่งแล้ว นั่นคือ หาทางลดรายจ่าย เสริมรายได้ ลดรายอย่างไรนั่นคือเราจะปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก อันนี้ใช้ได้ผลเช่นพืชผักในครัวเรือนหากเราปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือในพื้นที่ว่างเปล่าในสวนยาง สวนผลไม้ เมื่อบริโภคก็แค่เก็บมาจากสวนของตนเอง นอกจากลดรายจ่ายที่ไม่ต้องซื้อแล้วยังได้บริโภคพืชผักปลอดสารพิษอีกด้วย เสริมรายได้อย่างไร นั่นคือหากเหลือกินเราส่งขายให้กับกลุ่มบดเครื่องแกงได้ ส่งพริกขี้หนูสดขาย 1 กก. เราก็ได้แล้ว 80 บาท หากตากแห้งได้ถึง กก.ล่ะ 200 บาท ซึ่งการปลูกพริกขี้หนู หากได้รับผลผลิตเราสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุก 3 - 4 วัน นอกจากพริกขี้หนูแล้ว เรายังปลูกตะไคร้ ปลูกขมิ้นได้อีก ก็เหลือบริโภคในครัวเรือนเราก็สามารถส่งขายให้กับกลุ่มเครื่องแกงได้ สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มได้อีกทางหนึ่งด้วย ชาวบ้านเข้มแข็ง กลุ่มเข้มแข็ง ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งนั่นเอง
ความภูมิใจอีกอย่างนั่นคือเราสามารถร่วมกันสืบสาน การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของเรา ในการทำกระจาดเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ตายายที่ล่วงลับไปแล้ว ให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณต่อตายาย และกตัญญูต่อบุพการีและผู้ที่เลี้ยงดูในปัจจุบัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้การสร้างความยั่งยืนให้กับครัวเรือน ในด้านการสร้างอาชีพ สร้างรายได้
  • คิดทำกิจกรรมร่วมกันผ่านกลุ่มองค์กร เน้นความรัก สามัคคี ให้อภัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • ได้รับความรู้ใหม่ ๆ จากหน่วยงานต่างๆที่มาให้คำแนะนำกับกลุ่มอาชีพ
  • ได้อนุรักษ์ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำกระจาด ในประเพณีวันสารทเดือนสิบ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 42 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น จำนวน 5 คน คณะกรรมการโครงการ จำนวน 5 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน กลุ่มสตรีแม่บ้านจำนวน 12 คน ประชาชน จำนวน 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี