ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2)

วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ28 พฤศจิกายน 2558
28
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์ - เพื่อให้เห็นสถานการณ์การการใช้สารเคมีในชุมชนและผลกระทบที่คนในชุมชนได้รับจากการใช้สารเคมี มุมมองของคนในชุมชนเกี่ยวกับความพยายามที่จะผลักดันพื้นที่คลองลำแชงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เมื่อเยาวชนได้ทำการเก็บข้อมูลเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็ได้มีการนัดหมายเพื่อมาร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาร่วมกับวิทยากรผู้รู้ โดยเริ่มต้นจากการตั้งโจทย์วิเคราะห์ด้วยการยึด เอาประเด็นตามแบบสอบถาม ดังนี้
    • 1 ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งหมดกี่คน?
  • อาชีพหลักของผู้ให้ข้อมูลคือ?
  • อาชีพเสริมของผู้ให้ข้อมูลคือ?
    • (ข้อมูลอาชีพเกษตร)
  • เนื้อที่ในการทำเกษตรของผู้ให้ข้อมูลร่วมทั้งหมด ?
  • รูปแบบในการทำเกษตร
    • จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวมีกี่ราย?
    • จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำอาชีพแบบผสมผสารมีกี่ราย?
    • จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำเกษตรทั้งสองรูปแบบมีกี่ราย?
  • ต้นทุนการผลิต

    • ค่าปุ๋ยรวมทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงินเท่าไรต่อปี? และใช้ตราอะไรบ้าง?
    • ค่ายาปราบศัตรูพืชทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงินเท่าไรต่อปี? และใช้ตราอะไรบ้าง?
    • ค่ายาฆ่าหญ้าทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงินเท่าไรต่อปี? และใช้ตราอะไรบ้าง
    • ค่าอื่นๆมีอะไรบ้าง?
    • รวมต้นทุนการผลิตของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดคิดเป็นเงินเท่าไรต่อปี?
    • 2 ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูล
  • สาเหตุสำคัญของการใช้สารเคมี

  • สถานการณ์การได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี  เคยได้รับผลกระทบ? อย่างไร?  ไม่เคยได้รับผลกระทบ
  • มุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์
  • หากมีลูกหลานของท่าน หรือคนอื่นที่เข้ามาทำการเกษตรในพื้นที่ ท่านจะแนะนำให้ทำเกษตรในรูปแบบใด?

 แนะนำให้ใช้สารเคมีในการเกษตร  แนะนำให้ทำเกษตรอินทรีย์

  • ท่านมีแนวคิดที่จะช่วยกันปกป้องพื้นที่คลองลำแชงสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร?
  • มุ่มมองส่วนตัว เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่คลองลำแชงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เห็นด้วย? อย่างไร?  ไม่เห็นด้วย? อย่างไร?

  • เมื่อได้มีการกำหนดโจทย์ออกมาเป็นประเด็นๆแล้ว ก็น้ำข้อมูลดิบทีได้ออกมาเพื่อตอบโจทย์ประเด็นดังกล่าวที่ได้กำหนดไว้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้
  1. จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 40 คน • อาชีพหลักของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดคือ เกษตรกร • อาชีพเสริมของผู้ให้ข้อมูล คือ ค้าขาย, ก่อสร้าง, ทำธุรกิจส่วนตัว

(ข้อมูลอาชีพเกษตร)

  • พื้นที่ในการทำเกษตรทั้งหมด 387 ไร่
  • รูปแบบในการทำเกษตร • แบบเชิงเดียวมีจำนวน 11 คน โดนส่วนมากปลูกยางพารา • แบบผสมผสารมีจำนวน 34 คนโดยมีการปลูก ยางพารา เงาะ ทุเรียน ลองกอง จำปาดะมังคุด กล้วยผักเหรียง สละ สัปปะรด ชะอม ข้าวโพด ฯลฯ • จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำเกษตรทั้งสองรูปแบบ 2 คน

• ต้นทุนการผลิต

  1. ค่าปุ๋ย 221,700 บาท/ปี ตรา หัววัวคันไถ, หัวเสือ, ไวกิ้ง, เรือใบ,ไข่มุก, เจริญอินทรีย์, ไข่มุกมังกร, อินทรีย์ มิยาร่า
  2. ค่ายาปราบศัตรูพืช 11,200 บาท/ปี ตรา สิงโต ราวอัพ เสือ คมแฝด
  3. ค่ายาฆ่าหญ้า 12,520 บาท/ปี ตรา มอกโซน ไกลโฟเซต
  4. ค่าอื่นๆ 38,010

รวมค่าใช้จ่าย 283,430 บาท/ปี

• สาเหตุสำคัญของการใช้สารเคมี
เพื่อการกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช และที่สำคัญคือเป็นสิ่งที่หาซื้อได้ง่าย
มีขายตามท้องตลาดทั่วไป

• สถานการณ์การได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี จำนวนเกษตรกรที่ไม่เคยได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมี 26 คน จำนวนเกษตรกรที่เคยได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมี 14 คน เวลาฝนตกจะเสียหาย พื้นที่อยู่ด้านล่าง ของคนทำเกษตรโดยใช้สารเคมีจึงได้รับผลกระทบไปด้วย กระทบโดยตรงต่อร่างกาย เช่น เกิดผื่นแดง คัน
ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้เสียสุขภาพ แพ้ดินบริเวณนา ดินปลูกอะไรไม่ขึ้น แพ้สารเคมี

• มุมมองความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ ผู้ให้ข้อมูลทุกคนมีความคิดเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นสิ่งทีดี ช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต ให้ผลผลิตที่ดี
ช่วยรักษาสภาพดิน ช่วยฟื้นหน้าดินไม่ทำให้ดินเปรี้ยว ทำให้ดินร่วนซุยส่งผลให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี และที่สำคัญคือ ไม่มีผลข้างเคียงทีจะเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ รวมถึงไม่มีสารเคมีตกค้างอยู่ในพื้นดิน

• หากมีลูกหลานของท่าน หรือคนอื่นที่เข้ามาทำการเกษตรในพื้นที่ท่านจะแนะนำให้ทำเกษตรในรูปแบบใด  แนะนำให้ใช้สารเคมีในการเกษตร 5 คน เพราะ ให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วทันใจ  แนะนำให้ทำเกษตรอินทรีย์ 35 คน เพราะ ช่วยให้หน้าดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์ ดินไม่เป็นด่าง ช่วยลดต้นทุน ที่สำคัญคือ ปลอดภัย
ทำให้ผู้บริโภคและตัวเกษตรกรเองไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรค และยังเป็นรูปแบบการทำเกษตรที่มีความยั่งยืนอีกด้วย

• ท่านมีแนวคิดที่จะช่วยกันปกป้องพื้นที่คลองลำแชงสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร ช่วยกันดูแลพื้นที่คลองลำแชงด้วยการอนุรักษ์ต้นไม้และลำคลอง รักษาป่าต้นน้ำ
รณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้และเก็บขยะ ปลูกจิตสำนึกให้ลูกหลานเห็นผลดีของการทำเกษตร
เน้นการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมี ช่วยส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
รณรงค์ไม่ให้มีการทำธุรกิจดูดทราย

• มุ่มมองส่วนตัว เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่คลองลำแชงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เห็นด้วย 33 คน
เพราะอยากจะให้พื้นที่มีความเจริญ อยากให้มีการพัฒนาโดยปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามปรับปรุงพื้นที่ โดยรอบให้เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ห้องน้ำ ม้านั่ง เป็นต้น
นอกจากนี้ก็อยากจะให้ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด เพื่อให้คนที่มาเที่ยวได้เห็นธรรมชาติที่สวยงาม อยากให้มีการแนะนำให้ผู้ที่มาเที่ยวกลับไปประชาสัมพันธ์บอกต่อให้พื้นที่คลองลำแชงกลายเป็นสถานที่ๆ มีคนรู้จักมากขึ้นและจะเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนด้วย  ไม่เห็นด้วย 7 คน เพราะเมื่อไหร่ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะก็จะทำเกิดความวุ่นวาย จะทำให้ขยะเพิ่มขึ้น ทำลายสิ่งแวดล้อมและทำให้พื้นที่เสื่อมโทรมเป็นมลพิษ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนผู้เก็บรวบรวมข้อมุล
  • วิทยาการผู้มีความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมุล
  • คณะทีมงานดำเนินโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-