ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2)

เวทีสร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชงด้วยการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อคืนข้อมูลและเปิดตัวโครงการ4 กุมภาพันธ์ 2559
4
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อต้องการนำเสนอให้คนในชุมชนและภาคีร่วมรับทราบและเข้าใจ ถึงที่มาที่ไปและรายละเอียดของโครงการที่จะจัดทำขึ้นในพื้นที่

  • เพื่อทำการปรึกษาหารือกับภาคร่วมถึงแนวทางในการจัดกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มต้นด้วยการลงทะเบียนผู้มาเข้าร่วมโครงการ
  • จากนั้นประธานโครงการกล่าวกล่าวรายงานเชิญผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านเขาพระมาเป็นผู้เปิดพิธีและกล่าวให้โอวาทแก่นักเรียนที่มาเข้าร่วมโครงการ
  • นายอะหมัด หลีขารี (พี่เลี้ยงโครงการ)เพื่อพูดชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมได้รู้จักกับ สสส.
  • นายดาหนัน ดูหมาด (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6) พูดถึงโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า และสิ่งแวดล้อมที่ได้จัดทำขึ้น
  • นายอภินันต์ หมัดหลี (ผู้ชำนาญด้านเกษตรธาตุสี่) อธิบายชี้แจงถึงที่มาที่ไปของโครงการโดย (ชี้แจงถึงสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลเขาพระ )
  • คณะทำงานชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมต่างๆที่จะจัดทำร่วมกับโรงเรียนและชุมชน
  • คณะทำงานพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะครูและนักเรียนที่มาเข้าร่วมโครงการ ถึงแนวทางกิจกรรมที่จะจัดทำร่วมกัน
  • ปิดการประชุมโดยนายสัน เส็นหล๊ะ (ผู้ชำนาญด้านเกษตรสี่ ย)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมรับรู้และเข้าใจถึงข้อมูลสถิติการใช้สารเคมี รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดังนี้
    • ข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะปี 2555 (จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 355 คน) สถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชน

อาชีพหลักของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด คือ
ทำสวนยางพารา, ทำสวนผลไม้, กรีดยาง, รับจ้างทั่วไป, ค้าขาย, ผลิตและจำหน่ายมีด, เพาะพันธุ์ไม้, ครูโรงเรียนเอกชน, รับซื้อน้ำยางรับราชการ, ทำนา, ประมง, ขับรถรับจ้าง

อาชีพเสริมของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด คือ ค้าขาย, รับจ้างทั่วไป, ก่อสร้าง, ช่างไฟฟ้า, ช่างเย็บผ้า, ครูฟัรดูอีน(คุรุสัมพันธ์), หมอบีบนวด, ขับรถรับส่งนักเรียน

ข้อมูลอาชีพเกษตร

เนื้อที่ในการทำเกษตรของผู้ให้ข้อมูลร่วมทั้งหมด 3,861 ไร่

ต้นทุนการผลิต

-ค่าปุ๋ยรวมทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงิน 3,553,080 บาท/ปี

-ค่ายาปราบศัตรูพืชทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงิน 165,680บาท/ปี

-ค่ายาฆ่าหญ้าทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงิน 268,910 บาท/ปี

-ค่าอื่นๆ เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์พืชค่าจ้างหรือค่าแรงในการตัดหญ้า ค่าน้ำมัน ค่าจ้างในการฉีดหญ้า เป็นต้น คิดเป็นเงิน 35,600 บาทต่อปี

-รวมต้นทุนการผลิตของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดคิดเป็นเงิน 4,023,270 บาท/ปี

  • ข้อมูลกการทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชนบ้านคลองลำแชง ปี 2558 จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 40 คน

อาชีพหลักของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดคือ เกษตรกร

อาชีพเสริมของผู้ให้ข้อมูล คือ ค้าขาย, ก่อสร้าง, ทำธุรกิจส่วนตัว

(ข้อมูลอาชีพเกษตร)

พื้นที่ในการทำเกษตรทั้งหมด 387 ไร่

รูปแบบในการทำเกษตร

-แบบเชิงเดียวมีจำนวน 11 คน โดนส่วนมากปลูกยางพารา

-แบบผสมผสารมีจำนวน 34 คนโดยมีการปลูก ยางพารา เงาะ ทุเรียน ลองกอง จำปาดะมังคุด กล้วยผักเหรียง สละ สัปปะรด ชะอม ข้าวโพด ฯลฯ

-จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำเกษตรทั้งสองรูปแบบ 2 คน

ต้นทุนการผลิต

-ค่าปุ๋ย 221,700 บาท/ปี ตรา หัววัวคันไถ, หัวเสือ, ไวกิ้ง, เรือใบ,ไข่มุก, เจริญอินทรีย์, ไข่มุกมังกร, อินทรีย์ มิยาร่า

-ค่ายาปราบศัตรูพืช 11,200 บาท/ปี ตรา สิงโต ราวอัพ เสือ คมแฝด

-ค่ายาฆ่าหญ้า 12,520 บาท/ปี ตรา มอกโซน ไกลโฟเซต

-ค่าอื่นๆ 38,010

-รวมค่าใช้จ่าย283,430 บาท/ปี

  • ผู้เข้าร่วมรับรู้ถึงที่มาที่ไปของโครงการ ดังนี้

    (นายอภินันต์ หมัดหลี) ได้อธิบายถึงที่มาที่ไปของโครงการ ดังนี้ เนื่องจากพื้นที่ตำบลเขาพระนั้นเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยพืชพันธ์ุผลไม้นาๆชนิด คนในพื้นที่ใช้น้ำจากแหล่งต้นน้ำทั้งในการอุปโภคและบริโภค คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร แต่ในช่วงหลังๆมานี้ เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะใช้สารเคมีในการทำเกษตร จึงทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมี และกลับกลายเป็นว่า ความอุดมสมบูรณ์ที่มีอยู่นั้น เป็นความอุดมสมบูรณ์ที่แฝงไปด้วยอันตราย ด้วยเหตุนี้ ทางกลุ่มเยาวชน จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา โดยใช้ชื่อโครงการว่า ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2) เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการที่ได้ทำเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มภาคีต่างๆในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ ฯลฯ โดยใช้ฐานของโครงการ ภายใต้รูปแบบที่ว่า รณรงค์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ เพื่อที่จะปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนลดใช้สารเคมีทางการเกษตรและเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน

  • ผู้เข้าร่วมเข้าใจถึงรายละเอียดกระบวนการดำเนินโครงการและรับทราบถึงบทบาทของตนเองในการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

    • จัดตั้งสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการดำเนินการโครงการ หาเครือข่ายที่เป็นกลุ่มน้องๆเยาวชนในพื้นที่ตำบลเขาพระ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ใหญ่บ้าน คณะครู เพื่อมาจัดตั้งเป็นสภาผู้นำชมชน โดยจะมีการประชุมร่วมกันในทุกๆเดือนๆ เพื่อปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับโครงการ
    • สำรวจและรวบรวมข้อมูลการทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชน เป็นกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลโดยให้เยาวชนบางส่วนได้ลงไปจัดเก็บข้อมูลการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านคลองลำแชง
    • วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลการทำเกษตรอินทรีย์มาวิเคราะห์
    • เวที สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชงด้วยการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อคืนข้อมูลและเปิดตัวโครงการ นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาเผยแพร่ให้แก่คนในชุมชนได้รับทราบถึงสถาการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน
    • กิจกรรมถ่ายทอดความรู้สู่เรื่องเกษตรภูมิปัญญาและเกษตรอินทรีย์แก่กลุ่มเยาวชน เป็นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มน้องๆนักเรียนโดยตรง โดยทางทีมงานจะลงไปถ่ายทอดความรู้เรื่องเกษตรภูมิปัญญาและเกษตรอินทรีย์ให้กับน้องๆในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
    • ประกวดแปลงผักอินทรีย์ในโรงเรียน จะให้น้องๆเยาวชนแต่ละโรงเรียนปลูกผักอินทรีย์และจะมีการประกวดกันระหว่างแต่ละโรงเรียน โดยจะมีคณะกรรมการลงไปตรวจความคืบหน้าเป็นระยะๆ พร้อมกับจะมีรางวัลให้แก่ผู้ที่ชนะการประกวด
    • ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในระดับครัวเรือน ให้กลุ่มเยาวชนนำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดกลับไปถ่ายทอดต่อให้กับพ่อแม่ พีน้อง โดยจะมีทีมคณะทำงานลงไปให้ข้อมูลความรู้ประกอบเพิ่มเติมด้วย
    • จัดตั้งกลุ่มมัคคุเทศก์อาสา จัดตั้งกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ๆมีความสามารถนำเที่ยวเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ หรือพื้นที่ป่าต้นน้ำ
    • สำรวจสถานที่สำคัญในชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว นำกลุ่มเยาวชนลงเพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
    • กิจกรรมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ลงไปพัฒนาและปรับปรุงสถานที่ได้มีการสำรวจมาแล้วว่าเหมาะสมจะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้
    • คลองลำแซงชวนเที่ยว จัดกิจกรรมคลองลำแชงนำเที่ยวโดยจะมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวจากภายนอกเข้ามา และให้กลุ่มมัคคุเทศก์ที่เราได้มีการจัดตั้งไว้ เป็นผู้นำนักท่องเที่ยวเหล่านี้ไปเที่ยวในพื้นที่คลองลำแชง

    • กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวผ่านทางโซเชียลมีเดียและจำทำป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ

    • คลองลำแซงชวนปั่น จะมีการพัฒนา จัดทำเส้นทางปั่นจักรยานเสือภูเขาให้มีความเหมาะสมเพื่อรองรับนักปั่นจักยานที่สนใจจะมาเข้าร่วมปั่นชมสวนเกษตรอินทรีย์

    • ทำป้ายสัญลักษณ์รณรงค์เกี่ยวกับสุขภาพ จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ป้ายรณรงค์การทำเกษตรอินทรีย์และบริโภคผักปลอดสารพิษ

  • ผู้เข้าร่วมต่างก็ให้ความสำคัญกับโครงการด้วยการแสดงความคิดเห็นในมุมมองต่างๆ ดังนี้

    • ผลจากการปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรม “ประกวดแปลงผักอินทรีย์ในโรงเรียน” ที่จะเกิดขึ้นคือ ทางคณะผู้ดำเนินงานโครงการ จะลงไปให้ข้อมูล และ เทคนิค การปลูกผักปลอดสารrพิษในแต่ละโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีทั้งหมด 6 โรงเรียน (โรงเรียนศึกษาศาสตร์ โรงเรียนบ้านนาลึก โรงเรียนบ้านคลองกั่ว โรงเรียนบ้านคลองเขาล้อน โรงเรียนบ้านทุ่งคมบาง โรงเรียนบ้านเขาพระ)
    • ตัวแทนคณะครูที่เข้าร่วม ได้กล่าวว่า ในฐานะที่เราอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ ที่มีการทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก ถ้าทุนเดิมของเรามีปัญหา การเป็นอยู่ของเราก็จะมีปัญหา ดังนั้นการนำความข้อมูลความรู้มาเผยแพร่ให้แก่เยาวชนน้องๆนักเรียนได้รับรู้ถือเป็นสิ่งที่มีที่สมควรจะต้องทำ เพราะเด็กๆรุ่นใหม่อาจจะยังไม่รู้ถึงผลกระทบในภายภาคหน้า ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเอง สำหรับกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนที่จะมีขึ้นนั้น ทางโรงเรียนจะกลับไปวางแผนว่า จะรวมกลุ่มกันอย่างไร จะแบ่งพื้นที่อย่างไร เพื่อที่จะมีแปลงผักเกษตรอินทรีย์ มีผักไว้ใช้รับประทานในโรงเรียน หรือถ้าหากเหลือก็อาจจะให้นักเรียนนำกลับไปใช้รับประทานที่บ้านต่อไป และสิ่งสำคัญที่ได้เน้นย้ำคือ เราทุกคนจะต้องนำความรู้ที่ได้กลับไปใช้เพื่อชุมชนของเราต่อไป
    • นายสัน เส็นหล๊ะ (ผู้ชำนาญด้านเกษตรสี่ ย)ได้ส่งเสริมและเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปลูกผักไว้รับประทานเองภายในครอบครัว ว่าเป็นแนวทางที่ดีกว่าและปลอดภัยต่อสุขภาพ เพราะว่า ผักที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดในปัจจุบันวันนี้ มีสารเคมีตกค้างอยู่ในปริมาณมาก นอกจากนี้ ก็ได้รณรงค์เชิญชวนให้ท่องเที่ยวรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยเช่นกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะครู
นักเรียน
ผู้นำชุมชน
ปราญช์ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอะหมัดหลีขาหรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-