คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)

เปิดเวทีโครงการ16 พฤศจิกายน 2558
16
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ และกิจกรรมต่างๆของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกกรรมเปิดเวที ลดแว็นซ์ลดซิ่งลดอุบัติเหตุที่ หอประชุมรพ.สต.เขาพระบาทโดยมี นายมนัส ดำด้วงโรมผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มาร่วมกล่าวเปิดโครงการมีตัวแทนชุมชน อสม.ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนสูงอายุ ตัวแทนผุู้ปกครอง ตัวแทนครูเจ้าหน้าที่รพ.สต.เจา้หน้าที่ตำรวจ สภ.การะเกด และประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมประชุม
โดยนางศรีวิไลทองใสพรผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการกิจกรรมต่างที่จะมีขึ้นในการทำโครงการ และมีตัวแทนชุมชน อสม.ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนสูงอายุ ตัวแทนผุู้ปกครอง ตัวแทนครูเข้าร่วมประชุมระดมแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุมีการระดมความคิดร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาประเด็นเพิ่มเติมและก็สรุปเพื่อเป็นแนวทางในการลดอุบัติเหตุในชุมชนและร่วมจัดทำแนวทางการการลดอุบัติเหตุในชุมชนปากคลองวัดแดง หลังจากนั้นก็มีตำรวจจราจรจากสภ.การะเกดมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับโครงการ และมาตรการในการช่วยกันทำกิจกรรมในโครงการและมีการพูดถึงการใช้หมวกกันน็อควิธีการใช้ประโยชน์และกฎหมายที่ใช้บังคับในการใส่หมวกกันน็อคอย่างเช่น ถ้าใครไม่ใส่หมวกฝ่าฝืนสัญญาณจราจรก็จะถูฏปรับรวมไปถึงการดัดแปลงสภาพรถสัณญาณจราจรสาธิตสัญญาณมือของตำรวจจราจรสาธิตจำลองผู็ที่ไม่ใส่หมวกกันน็อคโดยใช้ลูกมะพร้าวที่มีเปลือกและไม่มีเปลือกนอกโดยผลที่มีเปลือกคือคนที่ใส่หมวกกันน็อคและผลที่ไม่มีเปลือกคือคนที่ไม่ใส่หมวกกันน็อคโดยการโยนจากที่สูงเพื่อจำลองให้ดูว่าผลเกิดขึ้นอย่างไรผลปรากฎว่าลูกมะพร้าวที่เอาเปลือกออก นั้นแตกก็เหมือนศรีษะคนที่ไม่ได้ใส่หมวกกันน็อคถ้าเกิดกการกระแทกก็จะแตกเหมือน

ปัญหาที่พบบ้านปากคลองวัดแดง หมู่ที่ 6 ต.เขาพระบาท ชุมชนเลือกปัญหาไม่สวมหมวกกันน็อคและไม่เคารพกฎจราจร จากการทำโครงการเมื่อปี 2557 โดยการรณรงค์ให้สวมหมวกกันน็อคและเรียนรู้กฎจราจร พบว่า กลุ่มเป้าหมาย 140 คน เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 95.71 กลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับความรู้และเข้าใจ ร้อยละ 100สถานที่ราชการมีป้ายเตือนและรณรงค์ลดอุบัติเหตุร้อยละ 100มีกติกาชุมชน 3 ข้อ ในการป้องกันอุบัติเหตุ ประชาชนขับขี่มอเตอร์ไซด์ทั้งคนซ้อน คนขับ จากการสุ่มตรวจพบว่าระยะก่อนดำเนินการร้อยละ 19ขณะดำเนินการร้อยละ 32 และหลังดำเนินการร้อยละ 92สาเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการได้ร้อยละ 100 เพราะช่วงนี้ไม่ได้บังคับใช้กฎหมาย มีแต่การเตือนเท่านั้น กลับพบว่ารถทุกคันมีหมวกกันน็อคแต่ไม่สวม เพราะไม่ชอบสวมหมวกเวลาขับรถ เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายจากการทำโครงการดังกล่าว ชุมชนร่วมกันปรับปรุงจุดเสี่ยง ร้อยละ 100อัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง จากเดิมเฉลี่ยวันละ 1 คน จากการเก็บข้อมูลที่ รพ.สต.เขาพระบาท และ รพ.เชียรใหญ่ อัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจร เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 คนนวัตกรรมเด่นที่เกิดขึ้นจากโครงการคือการมี โครงสร้างการทำงานแบบภาคีเครือข่าย มาร่วมทำงานแบบสมานฉันท์และเป็นหนึ่งเดียว สิ่งที่มองได้ชัดและเป็นผลที่เกิดจากโครงการคือ (1)สภาพแวดล้อมเปลี่ยนบริเวณหน้าบ้านถนนโล่ง ไม่มีขยะ(2) สิ่งก่อสร้างที่กีดขวาง เช่น ร้านค้าริมถนน ก็ถูกจัดระเบียบ ไม่ให้ชิดถนนมากเกินไป (3) มีการติดแผ่นป้ายไวนิล อย่างเป็นระเบียบ ไม่เกะเกะ (4) การขับรถย้อนศร น้อยลง(5)อุบัติเหตุลดลง (6)มีป้ายเตือน ป้ายรณรงค์ ติดไว้ตลอดเวลา เป็นการเตือนสติ (7) มีการสร้างจิตสำนึกตลอดเวลา(8)มีการทำลายทางเชื่อมต่อผ่านคูน้ำของถนนสี่เลน จากการประชุมของหมู่บ้าน ประชาชนอยากให้ทำกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น เพราะกิจกรรมที่ผ่านมาทำให้ประชาชนหลายคนเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ จากเดิมเคยต่อต้าน ปัจจุบันเข้าร่วมกิจกรรม และเน้นให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม และกิจกรรมนี้เป็นอานิสงค์ทำให้มีการสวมหมวกทั้งตำบล เพราะคนยอมรับกันมากขึ้น จึงขอเสนอแนะให้คณะทำงานมีการต่อยอดโครงการ โดยเน้นให้คนได้สวมหมวกกันน็อค ไม่ขับรถเร็ว และยอมรับกฎหมายจราจรให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน กิจกรรมที่ควรต่อยอดถัดไปคือ 1.การจูงลูกจูงหลานเข้าร่วมกิจกรรม เพราะเด็กเตือนผู้ใหญ่ดีที่สุด2.ให้มีแนวคิดพกหมวกนิรภัยเหมือนพกมือถือ3มีศูนย์ข้อมูลด้านอุบัติเหตุของหมู่บ้าน 5.มีกิจกรรมเรียนรู้จราจรวันละ 5 นาที6.มีชมรมคนช่วยเตือนภัย

วัตถุประสงค์ 1.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง 2.เพื่อลดอุบัติเหตุที่บ้านปากคลองวัดแดง

ตัวชี้วัด 1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน
2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น 4.ประชาชนสวมหมวกกันน้อค เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95 (จากเดิมร้อยละ 82) 5.ไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนสายบ้านปากคลองวัดแดง
6.ลดอัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ น้อยกว่า 1 คนต่อสัปดาห์ (เดิมสัปดาห์ละ 2 – 3 คน)

กระบวนการ 1.วิธีการเกี่ยวกับกับคน กลุ่มคน -ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจารในชุมชนเพิ่มเติม -รณรงค์สวมหมวกกันนัอคเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน -จัดกิจกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ถึงบ้าน เพื่อสร้างความตระหนัก -จัดกิจกรรมจูงลูกจูงหลานเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุ
-จัดทำสื่อเด็กขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่ลดอุบัติเหตุ -จัดอบรมให้ความรู้กับเยาวชนเพิ่มขึ้น
-จัดอบรมเรียนรู้กฎหมายเปรียบเทียบให้เห็นโดยนำเอาคดีอุบัติเหตุมาเสนอ คดีนี้ใครผิด ผิดเพราะอะไร
-กิจกรรมเรียนรู้จราจรวันละ 5 นาทีในโรงเรียน

2.วิธีการปรับสภาพแวดล้อม -จัดกิจกรรมปรับปรุงหน้าบ้าน ถนนหน้าบ้าน ให้ริมถนนสะอาด
-จัดทำป้ายเตือนจุดเสี่ยงจุดอันตราย -จัดโซนจอดรถที่จอดบริเวณริมถนน
-จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่เป็นข้อมูลด้านลบ
-จัดทำระบบสื่อสารเอาภาพจริง ข้อมูลจริง มานำเสนอ
-เขียนคำขวัญสะท้อนความรู้สึก เพื่อช่วยเตือนใจ

3.วิธีพัฒนากลไก -สำรวจจุดเสี่ยงบนถนนเพื่อลดอันตราย -จัดตั้งกลุ่มสารวัตรชุมชนรณณงค์ลดอุบัติเหตุ -หน่วยงานรัฐปิดป้ายห้ามเข้าสถานที่ราชการถ้าไม่สวมหมวกกันน้อค -กำหนดแนวทางการลดอุบัติเหตุในชุมชน -ใช้แนวคิดหมวกกันน้อคต้องพกให้เหมือนมือถือ
-จัดทำศูนย์ข้อมูลด้านอุบัติเหตุชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงานตามกิจกรรม สรุปได้ว่า 1. ได้ชี้แจงกิจกรรมโครงการให้ประชาชนในชุมชนได้ทราบถึงโครงการ 2. ได้มีการระดมความคิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชนเช่น แนวทางในการปรับสภาพแวดล้อมจัดทำป้ายจุดเสี่ยงอันตรายเจัดโซนจอดรถบริเวณริมถนนจัดอบรมให้ความรู้กับเยาวชน 3. ได้ทราบถึงกฎหมายจราจรและประโยชน์จากการใช้หมวกกันน็อคและได้ตระหนักถึงการใส่หมวกกันน็อค 4. มีภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมในโครงการ คือ สภ.การะเกด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนชุมชน อสม.ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนสูงอายุ ตัวแทนผุู้ปกครอง ตัวแทนครู จำนวน300 คน เข้าร่วมประชุม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เนื่องจากพื้นที่หมู่บ้าน มี 450 ครัวเรือน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จึงขออนุญาตพี่เลี้ยง แบ่งพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้สถานที่ รพ.สต.เขาพระบาท กลุ่มที่ 2 บ้านกำนัน กลุ่มที่ 3 บ้านผู้ช่วยฯ บริเวณหัวเขาจุก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี