คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)

งานสร้างสุขภาคใต้3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2559 12.00 - 13.00 น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย 13.00 - 13.10 น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 13.10 - 13.30 น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 13.30 - 15.00 น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 15.00 - 15.30 น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) 15.30 - 17.00 น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒ ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช 18.00 - 20.00 น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2559 08.00 - 09.00 น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม 09.00 - 12.00 น.การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • 09.00 - 12.00 น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข 12.00 - 14.00 น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 14.00 - 17.00 น. การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) 2. ความมั่นคงทางอาหาร 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) 6.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว 7.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม 14.00 - 17.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 2 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) 18.00 - 21.00 น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2559 08.00 - 09.00 น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 09.00- 10.30 น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 10.30 - 11.75 น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดยนายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ ๑๑.๔๕ - ๑๒.๐๐ น. พิธีปิด


ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ 1.การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส. 2.สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำสสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใครทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียนและทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด 3.การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กรเชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการวันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็มโครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอทีหลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีอาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ ข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก 2.ได้ศึกษาเรียนรู้กันหลายกิจกรรม 3.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 2.ได้สร้างเครือข่ายกันระหว่างกลุ่มเป้าหมาย 3.ได้แนวคิดในการจัดทำแผนชุมชนต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี