วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)

ทุนชุมชนลดรายจ่าย ครั้งที่ 313 กันยายน 2559
13
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การลดรายจ่ายในครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ลดต้นทุนรายจ่ายซึ่งในวันจะเป็นการมาพูดคุยถึงกิจกรรมต่างๆที่เป็นการลดต้นทุน รายจ่ายซึ่งจะเป็นการมาแลกเปลี่ยนรู็ในกิจกรรมต่างที่เป็นการนำทุนในชุมชนมาลดต้นทุนรายจ่าย
1. จากการเรียนรู้ในเรื่องของการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ส่วนผสม 1. N 70 หรือ EMAL 270 TH (หัวแชมพู)1 กก. 2. EMAL 10 P (ผงฟอง) 200 กรัม 3. Sodium chloride (เกลือ หรือ ผงข้น) 500 กรัม 4. น้ำสะอาด10-11 กก. 5. NEOPELEXF 50 (สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น)500-700กรัม (ถ้าเป็นสารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEXF 24 ใช้1กก.) 6.มะกรูด2กก. 7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้) วิธีทำ 1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆชนิดก้นเรียบในการผสม)

2.ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด 4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน 5. นำมะกรูดมาต้ม ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูก ผสมกับน้ำสะอาดให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ 6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี 7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัวจึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้ หลังจา่กที่ใช้ได้

3.โดยจะเป็นการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแบบแห้ง โดยมาเรียนรู้วีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบใส่กระสอบ ซึ่งเป็นการทำที่ง่าย ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการหมักทิ้งไว้ โดยแต่ละคนก็ได้นำสูตรที่ตนเองเรียนรู้มานั่งพูดคุย แลกกเปลี่ยนกัน ซึ่งอุปกรณ์และวัสดุ ก็หาได้ง่ายจากในชุมชนโดยก็จะยกตัวอย่างสูตร
1.ขี้วัว จำนวน 20 กระสอบ 2.ฟางข้าว จำนวน20 กระสอบ 3.แกลบ จำนวน 20 กระสอบ 4.พด.1 จำนวน 1 ซอง 5.น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 1 ขวด 6.กระสอบสำหรับใส่ปุ๋ยหมัก
7.จอบ มีด ถังน้ำ

โดยวิธีการการทำ

  1. จัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้พื้นที่ข้างๆบ้าน หรือพื้นที่รอบบริเวณบ้าน
  2. เตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำฟางข้าวมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก เพื่อจะได้ย่อยสลายเร็วขึ้น
  3. นำฟางข้าว ขี้วัว แกลบ มาผสมรวมกัน โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากัน
  4. นำ พด.1ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ น้ำหมักชีวภาพ 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน
  5. เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้มารดในกองปุ๋ยให้ทั่วคลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้
  6. เมื่อผสมปุ๋ยเสร็จ ก็นำกระสอบมาใส่ปุ๋ยโดยใส่ประมาณ2 ส่วน 4 ของกระสอบ เพื่อเหลือพื้นที่ไว้ในการที่จะพลิกกระสอบและนำเชือกมารัดปากกระสอบปุ๋ยไว้ 5.นำกระสอบปุ๋ยที่ใส่ปุ๋ยไว้เสร็จแล้วมาตั้งซ้อนกัน สลับหัว นำกระสอบที่เย็บไว้มาปิดไว้ เพื่อป้องกันแสงแดดและคอยพลิกปุ๋ย ทุกๆ 2-3 วัน ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็สามารถนำปุ๋ยมาใช้ได้

ซึ่งในการเรียนรู้ในวันนี้ก็เป็นการทำปุ๋ยหมักแบบง่ายเพ่อสะดวกในการขนย้ายและไม่ต้องเสียเวลาในการกลับกองทุกๆสามารถทำได้เองที่บ้านบ้านไหนที่ไม่มีพื้นที่ในการกองปุ๋ยหมักก็สามารถใช้การทำแบบนี้ได้

3.เตาเผาถ่าน  ขั้นตอนการเผาถ่าน

ช่วงที่ 1 ไล่ความชื้น หรือคายความร้อน

เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและ ความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็น กลิ่นของกรดประเภทเมธาทอลที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70 - 75 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น
อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ
200-250 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน

ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือ ปฏิกิริยาคลายความร้อน

เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน
ประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตา จะคายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อน เชื้อเพลิงหน้าเตาจนหยุดการป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ หลังจากการหยุดการป้อนเชื้อเพลิง หน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตาหรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด
และยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุด โดยช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิ
บริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 85-120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา
จากนั้นควันก็เปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน
ประมาณ 100-200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 400-450 องศาเซลเซียส

ช่วงที่ 3 ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์

ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดหน้าเตา
ประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อควันสีน้ำเงิน เป็นเสีฟ้า แสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด จากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทน เมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิดหน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่ว และรอยต่อ จากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้งหมด ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าไปได้

ช่วงที่ 4 ช่วงทำการให้ถ่านในเตาเย็นลง

เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตา เพื่อระบายความร้อนในเตา จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน
หรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ถ่านดับสนิท แล้วจึงเริ่มการเปิดเตาเพื่อนำถ่านออกจากเตา และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

4.การทำน้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจาก
การผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่านถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ
รอบปล่องดักควันความชื้นในควัน จะควบแน่นเป็นหยดน้ำ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ) น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป ประโยชน์น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ
เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์ของการทำน้ำส้มควันไม้ -เพื่อเป็นการจัดการเศษไม้ให้เกิดประโยชน์ -ส่งเสริมให้ใช้ถ่านแทนก๊าซหุงต้ม -แนะนำส่งเสริมน้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลพลอยได้จากการตัดกิ่งไม้ ด้านครัวเรือน น้ำส้มควันไม้ 100% ใช้รักษาแผลสด น้ำส้มควันไม้ 20 เท่า ทำลายปลวกและมด น้ำส้มควันไม้ 50 เท่า ป้องกับปลวก มด และแมลงต่างๆ น้ำส้มควันไม้100 เท่า และ 200 เท่า และลดกลิ่นและแมลงผสมผงถ่านใช้ย่อยและป้องกันโรคท้องเสียปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัตว์ให้ใหญ่และแดงเพิ่มปริมาณวิตามิน ด้านการเกษตร -ผสมน้ำ20 เท่า พ่นลงดินทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ -ผสมน้ำ 50 เท่าฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช
-ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้ขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา ด้านอุตสาหกรรมครัวเรือน - ใช้ผลิตสารดับกลิ่น, สารปรับผิวนุ่ม, ทำให้เนื้อนิ่ม - ใช้ย้อมผ้า - ป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง - เป็นยารักษาโรคผิวหนังเชื้อไทฟอยด์ - เสริมภูมิต้านทานฮอร์โมนทางเพศ - น้ำส้มควันไม้ที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วนำไปใช้กระบวนการอาหาร เช่น หยด รม เคลือบหรือเติมแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนรวก บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ


5. การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเตาชีวมวล เป็นเตาที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ชุมชนได้นำวัสดุเหลือใช้ เช่นปิ๊บ ท่อสูบน้ำเก่า(นำส่วนที่ดีมาใช้)มาทำเตาชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เอง ได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เองได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื่อเพลิง มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับระบบผลิตแก๊สเชื่อเพลิงจากชิวมวลแบบ อากาศไหลขึ้น ซึ่งเป็นการเผาไหม้ในที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อนบางส่วนโดยความร้อน เหล่านี้จะไปเร่งให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องอื่นๆ ให้เปลี่ยนเชื่อเพลิงแข็งกลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง
หลักการทำงาน อากาศภายนอกส่วนแรก ไหลผ่านแผ่นปรับอากาศ และตะแกรงเข้าสู่ในส่วนของห้องเผาไหม้ ส่ วนที่ 1 ปฏิกิริยา ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซต์กับน้ำ

แก๊ส ที่อุณหภูมิสูงจะไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ส่วนที่ 2 จะเกิดปฏิกิริยากับคาร์บอนได้แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์(CO)แก๊สไฮโดรเจน(H2)และ แก๊สมีเธน(CH4)อากาศส่วนที่ไหลเข้าผสมกับแก๊สที่เกิดขึ้น และลุกไหม้เป็นเปลวไฟให้ความร้อนออกมา ส่วนประกอบและวิธีการทำ วิธีการทำ วิธีการทำ 1. นำถังสี 6 นิ้ว มาเจาะรูรอบๆถังสี ทั้งด้านข้าง และด้านล่าง 2. นำปิ๊บมาเจาะและเปิดฝาด้านบนนำ เจาะ ช่องลมปิ๊บด้านล่างให้เจาะเว้นฐานไว้
3. นำถังสีที่เจาะรูแล้ว นำมาใส่ในถังปิ๊ป ยึดติดให้แน่น ประโยขน์ของเตาชีวมวล 1.ประหยัด เพราะวัสดุอุปกรณ์ก็หาได้จากในชุมชน ซึ่งหาได้ง่ายในชุมชน 2.ไฟที่ได้ร้อนมากเทียบกับเตาแก๊สทั่วไป 3.ไม่ทำให้หม้อหรือภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มเป็นสีดำ 4.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานจากเตาแก๊ส 5.ช่วยลดมลภาวะในอากาศเพราะไม่มีควันและไม่มีกลิ่นรบกวน

ซึ่งกิจกรรมต่างๆนั้นทุกคนก็สามารถนำไปเรียนรู็ และทเองได้ที่บ้าน เพื่อเป็นการลดต้นทุนลดรายจ่ายในครัวเรือนเช่นการทำน้ำยาเอนกประสงค์ นำ้ยาล้างจาน เพื่อใช้ในครัวเรือนเพราะสิ่งนี้ทุกครัวเรือนก็ต้องใช้อยู๋แล้วและต้องซื้อเป็นประจำ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพก็สามารถลดต้นทุนท่างการเกษตรได้ อีกทั้งลดสารเคมีทำให้รู็สึกปลลอดภัยในการบริโภคการทำเตาเผ่าถ่านก็สามรถลดค่าใช้จ่ายในการทำอาหารอีกทั้งสามารถนำถ่านที่ได้เผานี้ไปสร้างเป็นรายได้ได้อีกด้วย ส่วนเตาชีวมวล ก็ลดค่าใช้จ่ายแก๊สในการหุงต้ม ซึ่งทั้งหมดที่ได้คุยมา ก็เป็นส่วนหนึ่งในการลดต้นทุนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
  2. ได้มีการเรียนรู้พูดคุยในเรื่องของการใช้ทุนในชุมชนมาลดค่าใช่จ่าย คือการทำน้ำยาเอนกประสงค์น้ำยาล้างจาน เตาแก๊สชีวมวล เตาเผาถ่านการทำปุ๋ยหมัก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชนตัวแทนครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี