วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)

สรุปผลการดำเนินงาน30 กันยายน 2559
30
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยจะมาพูดคุยถึงกิจกรรมต่างที่ผ่านมา และสรุปผลจาการถอดบทเรียนการทำกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการใหม่ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงินในการเขียนบิลในการเขียนใบสำคัญรับเงินต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนด อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการถ่ายรูปในการทำกิจกรรม ว่าจะต้องถ่ายกิจกรรมให้เป็นกิจกรรมที่มีชีวิตและสามารถมองออกได้ว่าเป็นกิจกรรมอะไรกำลังทำกิจกรรมอะไรเพื่อเป็นการสื่อให้คนที่ดูภาพได้เห็นถึงกิจกรรมที่ได้ทำไปรวมถึงการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์ และการบันทุกรูปในภาพในเว็บไซต์

2.กิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านทองพูน โดยมีคุณหมอยงยุทย์ สุขพิทักษ์ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยง ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมพูดคุยแนวทางการพัฒนาโครงการด้วยที่วัดทองพูน ซึ่งมีพระเกียรติศักดิ์ สายพือ รองเจ้าอาวาสวัดทองพูนได้มาเข้าร่วมประชุมด้วยในวันนี้โดยโครงการนี้คือโครงการวัดชุมชนร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูนซึ่ง เป็นโครงการต่อยอดปีที่ 2 จากโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ซึ่งโครงการปี 1ก็เน้นประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านทองพูนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสร้างกระบวนการมีสวนร่วม ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชนซึ่งในโครงการในปีนี้ก็วัตถุประสงค์ มี 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็งข้อที่ 2เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายด้วยทุนชุมชน และกิจกรรมหลังจากนั้นก็จะมีการสำรวจข้อมูลในชุมชน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อคืนข้อมูลในชุมชน การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักโดยให้ทุกคนมาเรียนรู้ และนำวัสดุที่มีอยู่ในบ้านมาทำปุ๋ยหมัก

3.กิจกรรมเวทีเปิดโครงการ ที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านทองพูน โดยมีคณะกรรมการและ คุณหมอมนูญ พลายชุม พี่เลี้ยงโครงการ เข้าร่วมประชุมโครงการด้วย เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาโครงการ ดังนี้ คุณหมอมนูญพลายชุมจะมาชี้แจงเกี่ยวกับการทำโครงการ ของสสส. ต่อยอดปีที่ 2 และก็ได้เชิญพี่เลี้ยงพูดคุยและชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการซึ่งโครงการต่อยอดปีที่ 2 คือ โครงการวัดชุมชนร่วมจัดทุนที่บ้านทองพูน ซึ่งต่อยอด จากโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ที่ทำมาในปีที่แล้วนั้นซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนทองพูน ปีนี้ยังมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย กระทบต่อทุกครัวเรือน 185 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) พบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงมีผลกระทบต่อครัวเรือนโดยตรงและส่วนหนึ่งครัวเรือนพบปัญหาว่างงาน 30ครัวเรือนเมื่อตกงานทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น รายได้ลดน้อย ต้องไปหางานทำในเมือง จากการทำโครงการในปีที่ผ่านมา โดยจัดทำโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ สิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการคือ ประชาชนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชน มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานทำปุ๋ยหมักฐานน้ำหมักชีวภาพฐานเกษตรวิถีการพัฒนาโดยใช้ครัวเรือนต้นแบบ เน้นให้กลุ่มเป้าหมายปลูกผักกินเอง

4.มีศูนย์เรียนรู้เรื่องปุ๋ยหมักที่วัดทองพูน :ซึ่งจะนำปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักในศูนย์การเรียนรู้นั้นที่วัดทองพูน มาบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่ายโดยให้ชื่อว่า สังฆทานดินคือให้แนวคิดสำหรับคนที่ชอบทำบุญโดยการทำบุญด้วยดินเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้เช่าบูชา แล้วนำไปใช้ปลูกพืชภายในวัดซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งก็จะเข้าไปยังร้านค้าชุมชนส่วนหนึ่งมอบให้วัดและอีกส่วนจัดเป็นสวัสดิการชุมชนด้วยการจัดทำสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูน เพราะเนื่องจากบ้านทองพูน ประชาชนให้ความสนใจต่อการไปวัด การเข้าร่วมพัฒนา และมีผู้สูงอายุบางคนในหมู่บ้านป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันฯ เมื่อบุตรทิ้งให้อยู่กับหลาน ย่อมเป็นภาระในการเดินทางไปรับบริการ ที่ รพ.สต.เขาพระบาท และทางวัดทองพูนมีรถยนต์ประจำวัดจึงได้มีการพูดคุยและท่านเจ้าอาวาสอนุญาตให้ใช้รถบริการรับส่งประชาชนในการทำกิจกรรมได้จึงได้คิดแนวทางการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนดังนี้ (1) จัดสวัสดิการรถรับส่งผู้ป่วยไปรับบริการตรวจรักษาเบาหวาน ที่ รพ.สต.เขาพระบาท ช่วงเวลา 07.00 น. และรับกลับเวลา 10.00 น. (2) จัดสวัสดิการรับผู้ป่วยสูงอายุไปทำกายภาพ ที่รพ.สต.เขาพระบาท วันพุธ เวลา 07.00 น. รับกลับเวลา 11.00 น. (3)จัดสวัสดิการรับส่งผู้ป่วยความดันโลหิตสูง วันพฤหัสบดี เวลา 07.00น. รับกลับเวลา 10.00 น. ส่วนสำหรับค่าน้ำมัน เป็นเงินที่ได้จากการบริจาคของประชาชนที่รับบริการตามศรัทธา และส่วนหนึ่งมาจากพระสงฆ์ในวัด ผอ.รพ.สต.เขาพระบาทและส่วนหนึ่งก็มาจากสังฆทานดินที่ได้จากผู้ศรัทธาได้เช่าได้มาเสียค่าน้ำมัน 2.นายสมศักดิ์ปิติสุกผู้รับผิดชอบโครงการได้เสนอความเห็นให้ร่วมกันเตรียมสถานที่ที่วัดทองพูนในการทำปุ๋ยหมักและเตรียมอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักใ

5.การเรียนรู้ประโยชน์และการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้ อัตราส่วน 1: 20 (ผสมน้ำ 20 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน อัตราส่วน 1: 50 (ผสมน้ำ 50 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้ รากพืชอาจได้รับอันตรายได้ อัตราส่วน 1: 100 (ผสมน้ำ 100 เท่า) ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่ อัตราส่วน 1: 200 (ผสมน้ำ 200 เท่า) พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆ ต้นพืชทุกๆ 7-15 วัน เพื่อขับไล่แมลงและ ป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต อัตราส่วน 1: 500 (ผสมน้ำ 500 เท่า) พ่นผลอ่อน หลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้ อัตราส่วน 1: 1,000 (ผสมน้ำ 1,000 เท่า) เป็นสารจับใบ เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลาย ที่เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารเคมีทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งด้วย ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้ 1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน 2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ 3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้ 4. การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน 5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ 6. การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้ -ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง -น้ำส้มไม้เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช -น้ำส้มไม้ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว

6.การเรียนรู้การทำเตาชีวมวลมีนายสมศักดิ์ปิติสุขผู้มีความรู้และได้ศึกษา และทำเตาชีวมวลมาร่วมกันแลกเปลี่ยนรู้เกี่ยวกับเตาชีวมวล ซึ่งการทำเตาชีวมวล เป็นเตาที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ครัวเรือนได้นำวัสดุเหลือใช้ เช่นปิ๊บ ถังสี มาทำเตาชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เอง ได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื่อเพลิง มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับระบบผลิตแก๊สเชื่อเพลิงจากชิวมวลแบบ อากาศไหลขึ้น ซึ่งเป็นการเผาไหม้ในที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อนบางส่วนโดยความร้อน ทำให้เปลี่ยนเชื่อเพลิงเช้น ไม้ฟืน กลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง อุปกรณ์ในการทำเตาชีวมวล วิธีการทำ 1. นำถังสี 6 นิ้ว มาเจาะรูรอบๆถังสี ทั้งด้านข้าง และด้านล่าง 2. นำปิ๊บมาเจาะและเปิดฝาด้านบนนำ เจาะ ช่องลมปิ๊บด้านล่างให้เจาะเว้นฐานไว้ 3. นำถังสีที่เจาะรูแล้ว นำมาใส่ในถังปิ๊ป ยึดติดให้แน่น โดยเวลาลาการใส่เชื้อเพลิงก็ให้ก่อไฟเหมือนเตาเผาทั่วไปซึ่งไฟที่ได้จากเตาชีวมวลนั้ เป็นไฟที่รอ้นดีสม่ำเสมอประโยขน์ของเตาชีวมวล 1.ประหยัด เพราะวัสดุอุปกรณ์ก็หาได้จากในชุมชน ซึ่งหาได้ง่ายในชุมชน 2.ไฟที่ได้ร้อนมากเทียบกับเตาแก๊สทั่วไป 3.ไม่ทำให้หม้อหรือภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มเป็นสีดำ 4.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานจากเตาแก๊ส 5.ช่วยลดมลภาวะในอากาศเพราะไม่มีควันและไม่มีกลิ่นรบกวน

7.กิจกรรมถอดบทเรียน1.การทำกิจกรรมที่ผ่านมาได้ทำอะไรไปบ้างการทำปุ๋ยหมัก การเผาถ่านน้ำส้มควันไม้น้ำยาเอนกประสงค์การทำสังฆทานดินเตาเผาถ่านเตาแก๊สชีวมวล 2.ปัจจัยที่ทำให้เกิดกิจกรรม คือการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อเรียนรู้ถึงกิจกรรมต่างๆซึ่งมีวัดเป็นศุนย์รวมในการทำกิจกรรมมีฐานเรียนรู้ในวัดคือการทำปุ๋ยหมักชวีภาพ การเผาถ่านศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้านซึ่งวัดก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอยู่แล้ว เป็นศูนย์กลางของชุมชน ก็เลยใช้วัดในการทำกิจกรรม 3.ปัญหา และอุปสรรค ชาวบ้านมีการยอมรับบางส่วน บางส่วนก็ยังไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 4.การเปลี่ยนแปลง มีรายได้จากการผาถ่าน ประมาณ 500ต่อเดือนซึ่งจะขายกระสอบละ 100 บาทลดต้นทุนปุ๋ยเพราะหันมาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและผักที่ปลูกก็ออกมาสวยงาม ดินร่วยซุยทำให้สภาพแวดล้อมดี ซึ่งเริ่มจากการใช้ในครัวเรือนก่อนในส่วนของวัดทองพูนก็เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเงินที่ได้จากการขาย ส่วนหนึ่งก็เอาไปเป็นส่วนของสวัสดิการภายในชุมชน 4.ข้อดีของการทำโครงการ คนในชุมชนจากที่ไม่มีรายได้เสริม นอกจากการทำนา ทำการเกษษรแล้วก็ได้รายได้จากการเผาถ่าน ประมาณเดือนละ 400-500 บาทประชาชนมีการร่วมตัวกันทำกิจกรรมมากขึ้นคนในชุมชนหันมาให้ความร่วมมือมากขึ้นสนใจ ให้ความสำคัญ ในการทำโครงการมากขึ้น สิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีหันมาใช้ปุ๋ยหมักน้ำหมักแทนคุณภาพของดินดีขึ้นดินร่วนซุยขึ้นทำให้รู้สึกว่าปลอดภัยในการบริโภค

8.ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ 3-4 ตุลาคม 2559ที่ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มอ.หาดใหญ่ 9.และกิจกรรมต่อไปคือทำรายงานปิดงวดรายงาน เพื่อเตรียมปิดโครงการ ที่ ม.วลัยลักษณ์ ในวันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี