คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

สำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งที่ 530 พฤศจิกายน 2558
30
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เ้ป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยคณะทำงาน นั่งสรุปผลการสำรวจข้อมูล ดังนี้

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลด้านประชากรในครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูลด้านประชากร พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๗๖.๗๐ อยู่ในช่วงอายุ ๕๐- ๕๙ ปี ร้อยละ ๓๖.๑๑ สถานภาพในครอบครัว เป็นคู่สมรสหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ ๔๓.๓๓

ส่วนที่ ๒ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี จากการสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ ๘๗.๘๐ เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ ๘๕.๕๖ ไม่มีการประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ ร้อยละ ๘๐.๕๖ รายได้หลักส่วนใหญ่มาจากการทำสวน ร้อยละ๔๑.๑๑ รองลงมา คือ รับจ้าง ร้อยละ ๓๓.๘๙ รายได้อยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ ๔๐.๖๐ มีหนี้สิน ร้อยละ ๕๒.๒๐ มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ร้อยละ ๘๗.๘๐ ได้รับข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่จากโทรทัศน์ ร้อยละ ๗๙.๔๐ รองลงมา คือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ ๘.๓๓เข้าร่วมกลุ่มโครงการของชุมชน ร้อยละ ๗๕.๐๐ เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้านทุกครั้ง ร้อยละ ๔๓.๘๙ เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ มีศรัทธา ร้อยละ ๓๘.๓๓ สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ร้อยละ ๓๒.๗๘ ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ ผู้นำ ร้อยละ ๕๗.๒๒ รองลงมา คือ การรวมกลุ่ม/มีส่วนร่วมของชุมชน ร้อยละ ๔๒.๗๗ ต้องการให้ชุมชนพัฒนาในด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ร้อยละ ๒๓.๘๘ รองลงมา คือ ความสามัคคี ร้อยละ ๒๑.๖๔ กิจกรรมในชุมชนที่สำคัญที่สุด คือ การทอดกฐิน ร้อยละ ๒๔.๔๔ รองลงมา คือ การแข่งขันกีฬาในหมู่บ้าน ร้อยละ ๒๒.๒๒

ส่วนที่ ๓ ข้อมูลสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กและผู้สูงอายุ จากการสำรวจ พบว่า ครอบครัวที่สำรวจมีการคุมกำเนิดร้อยละ ๕๗.๒๒ มีคนตั้งครรภ์ร้อยละ ๓.๓๓ มีหญิงคลอดร้อยละ ๐.๕๐ เลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่แรกเกิดถึง ๑ ปี ร้อยละ ๙๘.๓๓ รองลงมา คือ อาหารเสริมร้อยละ ๑.๖๗ กินนมแม่อย่างเดียวตลอด ๖ เดือน ร้อยละ ๙๕.๕๖รองลงมากินนมแม่และอาหารอื่นร้อยละ ๓.๓๓ จากการสำรวจมีเด็กอายุแรกเกิดถึง ๕ ปี ร้อยละ ๓๐.๐๐ มีผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปร้อยละ ๓๐.๐๐ ในระยะ ๕ ปี มีคนในครัวเรือนเสียชีวิตร้อยละ ๓.๓๓ เจ็บป่วยร้อยละ ๑๑.๖๗ ใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาทมากที่สุดร้อยละ ๘๘.๘๙ รองลงมา คือ โรงพยาบาลเชียรใหญ่ร้อยละ ๑๑.๑๑ เหตุผลที่เลือก คือ เดินทางสะดวกร้อยละ ๖๓.๓๓ รองลงมา คือ ไม่ต้องรอนานร้อยละ ๒๒.๗๘ รู้จักยาปฏิชีวนะร้อยละ ๘๔.๔๔ใน ๑ เดือนที่ผ่านมาเคยใช้ร้อยละ ๒๔.๔๔ ได้รับมาจากสถานีอนามัยร้อยละ ๘๖.๖๗ ในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาไม่มีการใช้ยาชุดร้อยละ ๑๐๐.๐๐ บ้านในครัวเรือนซื้อชุดบรรเทาปวดร้อยละ ๒.๒๒
ในรอบ ๑ เดือนผู้ให้ข้อมูลดื่มสุราร้อยละ ๘.๘๙ คนในครัวเรือนดื่มสุราร้อยละ ๓๕.๕๖ ส่วนใหญ่ดื่มสุราร้อยละ ๒๓.๘๙ รองลงมา คือ เบียร์ร้อยละ ๘.๓๓ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนร้อยละ ๕๕.๕๖ โดยจะดื่มกาแฟสำเร็จรูปแบบซองร้อยละ ๗๒.๐๐ดื่มเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานได้นานขึ้นมากที่สุดร้อยละ ๗๖.๐๐ ดื่มทุกวันร้อยละ ๖๖.๐๐ รองลงมาคือ ๕-๖ ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ ๒๐.๐๐ คนในครัวเรือนดื่มเครื่องชูกำลังร้อยละ ๑๓.๓๓ ส่วนใหญ่เป็นเอ็ม ๑๕๐ ร้อยละ ๘๓.๓๓ สูบบุหรี่ร้อยละ ๕๕.๕๕ ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมาผู้ให้ข้อมูลสูบบุหรี่ร้อยละ ๒๑.๑๑ ไม่ได้รับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ไม่ใช้ยานอนหลับร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ใช้สารเสพติดชนิดอื่นร้อยละ ๒.๒๒ มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้อยละ ๖๒.๒๒ ใช้แบบฉีดพ่นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ มีการป้องกันโดยสวมหน้ากากมากที่สุดร้อยละ ๕๐.๐๐ รองลงมาคือ อ่านฉลากก่อนใช้ร้อยละ ๒๑.๔๓ กำจัดโดยการฝังดินร้อยละ ๔๙.๑๑ รองลงมาคือ อื่นๆ คือ วางไว้ ขาย ร้อยละ ๒๘.๕๗ ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพร้อยละ ๙๘.๘๙ บุคคลที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพคือ เจ้าหน้าที่อนามัยร้อยละ ๘๕.๐๐ รองลงมาคือ อสม.ร้อยละ ๗.๗๘ ส่วนที่ ๔ ข้อมูลทางด้านสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจข้อมูล พบว่า ที่อยู่อาศัยมีความมั่นคง ถาวร ร้อยละ ๙๓.๓๓ มีการจัดของใช้เป็นระเบียบ สะอาด ร้อยละ ๙๓.๓๓ มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรค ร้อยละ ๙๒.๗๘ แมลงพาหะนำโรคส่วนใหญ่ เป็นยุง ร้อยละ ๕๑.๑๑ รองลงมา คือ แมลงวัน ร้อยละ ๑๕.๐๐ น้ำดื่มส่วนใหญ่มาจากน้ำฝน ร้อยละ ๔๐.๕๖ รองลงมา คือ น้ำประปา ร้อยละ ๒๓.๘๙ น้ำที่ใช้ดื่มเพียงพอ ร้อยละ ๙๓.๘๙ ปกติใช้น้ำเพื่อการอุปโภคจากแหล่งน้ำฝน ร้อยละ ๔๐.๕๖ รองลงมา คือ น้ำประปา ร้อยละ ๒๓.๘๙ น้ำใช้เพียงพอ ร้อยละ ๙๐.๐๐มีตู้เย็นเก็บอาหารสด ร้อยละ ๙๔.๔๔มีการเก็บอาหารปรุงเสร็จไว้บนโต๊ะสูงมีฝาชีครอบมิดชิดมากที่สุด ร้อยละ ๗๐.๕๖ รองลงมา คือ เก็บไว้ในตู้กับข้าว ร้อยละ ๒๙.๔๔ มีการกำจัดน้ำเสียโดยท่อระบายน้ำทิ้งห่างจากบ้าน ร้อยละ ๘๐.๐๐ ครัวเรือนมีถังขยะ แต่ไม่มีฝาปิด ร้อยละ ๘๐.๐๐ รองลงมา คือ มีฝาปิดมิดชิด ร้อยละ ๑๖.๖๗ กำจัดขยะเปียกโดยการเผามากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมา คือ หมักทำปุ๋ยชีวภาพ ร้อยละ ๒๗.๗๘ กำจัดขยะแห้งโดยการเผามากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมา คือ นำไปทิ้งที่ต่างๆไม่เป็นที่ ร้อยละ ๒๗.๗๘ กำจัดขยะอันตรายโดยการฝังมากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมาคือ ทิ้งไม่เป็นที่ ร้อยละ ๒๗.๗๘ อาหารที่บริโภคส่วนมากซื้อมาจาก สถานที่อื่นๆ เช่น รถเร่ ร้อยละ ๗๒.๒๒ รองลงมา คือ ตกปลา ร้อยละ ๒๗.๗๘
ส่วนที่ ๕ ข้อมูลครัวเรือนที่ประสบกับสภาพต่างๆ จากการสำรวจข้อมูล พบว่า ในภาพรวมสมาชิกในครัวเรือนได้รับประทานอาหารครบถ้วนทุกเดือน ร้อยละ ๙๓.๘๙ ได้รับประทานอาหารน้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม่เพียงพอ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ อดอาหารในบางมื้อ เนื่องจากมีเงินไม่พอ ไม่เคย ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ไม่เคยลดปริมาณการรับประทานอาหารให้น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากอาหารไม่พอ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ เด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ได้รับประทานอาหารครบถ้วนทุกมื้อ ทุกเดือน ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ในช่วงเดือนรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนมีความยากลำบากจนต้องกู้ยืม ร้อยละ ๓๑.๖๗

จากการสำรวจข้อมูลชุมชน พบปัญหา ดังนี้ ๑) ไม่มีการประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ ร้อยละ ๑๘.๙๐ ๒) รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๓๕.๐๐ ๓) ครอบครัวมีหนี้สินร้อยละ ๕๒.๐ ๔) ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของครอบครัว ร้อยละ ๑๒.๒๐ ๕) ครอบครัวไม่มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการในชุมชน ร้อยละ ๒๕.๐๐ ๖) คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนของท่านเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้านบางครั้ง ร้อยละ ๓๑.๖๗ บ่อยครั้ง ๒๔.๔๔ ๗) ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๗๐.๐๐ ๘) ไม่รู้จัก “ยาปฏิชีวนะ” ร้อยละ ๑๕.๕๖ ๙) ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุรา ร้อยละ ๘.๘๙ สมาชิกในครัวเรือนดื่มสุรา ร้อยละ ๓๕.๕๖ ๑๐) ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมา ท่านและคนในครัวเรือน ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาแฟอีน ร้อยละ ๕๕.๕๖ เป็นกาแฟสำเร็จรูปแบบซอง ร้อยละ ๗๒.๐๐ และแบบกระป๋อง ร้อยละ ๒๘.๐๐ ๑๑) ใน๑ เดือนที่ผ่านมามีผู้สูบบุหรี่ ร้อยละ ๕๕.๕๕ ๑๒) ในรอบปีที่ผ่านมามีการใช้สารกำจัดศัครูพืชหรือสัตว์ ร้อยละ ๖๒.๒๒ ๑๓) ในบ้านมีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงนำโรค ร้อยละ ๙๒.๗๘ เป็นยุง ร้อยละ ๕๑.๑๑ ๑๔) น้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคในครัวเรือนมีไม่เพียงพอ ร้อยละ ๑๐.๐๐ ๑๕) ครัวเรือนมีถังขยะ แต่ไม่มีฝาปิด ร้อยละ ๘๐ กำจัดขยะเปียกโดยการเผา ร้อยละ ๓๓.๘๙กำจัดขยะแห้ง โดยการเผา ร้อยละ ๓๓.๘๙ กำจัดขยะ อันตราย โดยการฝัง ร้อยละ ๓๓.๘๙ ๑๖) ในรอบปีที่ผ่านมา มีครัวเรือนที่ยากลำบาก จนต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย ร้อยละ ๓๑.๖๗

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรมม40คน
ผลลัพธ์ 1.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือ การได้ร่วมสำรวจข้อมูลร่วมกันการได้มาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน 2.มีการกระตุ้นให้เกิดการรับรุู้ปัญหาของชุมชน คือการที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปคืนให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ 3.มีข้อมูลจาการวิเคราะห์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 40 คน ประกอบด้วยคณะทำงาน แกนนำ ปราชญ์ชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี