คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

สร้างคลังอาหารชุม ครั้งที่ 18 มกราคม 2559
8
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างคลังอาหารให้กับชุมชน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 1
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพอเพียง เพื่อต้องการสร้างคลังอาหารไว้ให้กับชุมชนโดยจะเรียนรู้เกี่ยวกับ

1)เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพรโดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำมะกรูด อัญชัน กระเจี๊ยบ ลูกยอ มาเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับส่วนผสมของน้ำยาเอนกประสงค์ และจะช่วยกันทำ หลังจากนั้นก็แบ่งกันไปใช้ที่บ้านและไปฝึกทำเองที่บ้านด้วย 2)การเลี้ยงปลาพื้นเมือง มีทีมงานช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงปลาไว้กินเอง โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำเศษอาหาร หยวกกล้วย รำ เพื่อทำเป็นอาหารสำหรับปลา จากนั้นส่งเสริมให้แต่ละคนไปทำต่อที่บ้านโดยเลือกที่ตนเองชอบและถนัด
3)การเลี้ยงไก่บ้าน จะมีคนที่ได้เลี้ยงไก่บ้านช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้กิน โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำเศษอาหาร หยวกกล้วย รำ เพื่อทำเป็นอาหารสำหรับสัตว์ โดยส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไว้กินไก่ กินไข่ จากนั้นส่งเสริมให้แต่ละคนไปทำต่อที่บ้านโดยเลือกที่ตนเองชอบและถนัด 4)สอนการทำเห็ดฟาง ไปเรียนรู้ที่บ้านนางสมมารถ ทองเอียด ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำเห็ด โดยกลุ่มเป้าหมายต้องวัสดุที่บ้านตนเองมีอยู่ ไปทดลองทำที่บ้านนางสมมารถ
5)ร่วมสร้างกลุ่มผลิตชาสมุนไพร เพื่อใช้ในชุมชน จัดเรียนรู้ที่บ้านคุณจำปี เกิดแก้วโดยการนำวัสดุจากชุมชนมาแปรรูปสมุนไพร เช่น ใบทุเรียนน้ำ ตะไคร้ ใบขลู่ กระเจี๊ยบ อัญชัน นำมาทำตากแห้ง เพื่อส่งเสริมการดื่มสมุนไพรแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อสรุปเป็นบทเรียนจากการทดลองปฏิบัติในพื้นที่ของตนเพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชน

ซึ่งในวันนี้จะเป็นการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์จากสมุนไพร โดยจะได้นำสมุนไพรที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำมา สมุนไพรมาจากบ้านคือมะกรูด

วันนี้เราจะมาลองใช้ภูมิปัญญาเพื่อพึ่งพาตนเอง มาทำผลิตภัณฑ์ดี ๆ ราคาถูกมาก ๆใช้เองดีกว่า ซึ่งจะใช้ซักล้างได้สารพัด ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ล้างคราบสกปรก ส่วนผสม1. N 70 หรือ EMAL 270 TH (หัวแชมพู)1 กก. 2. EMAL 10 P (ผงฟอง) 200 กรัม 3. Sodium chloride (เกลือ หรือ ผงข้น) 500 กรัม 4. น้ำสะอาด10-11 กก.
5. NEOPELEXF 50 (สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น)500-700กรัม (ถ้าเป็นสารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEXF 24 ใช้1กก.) 6.มะกรูด2กก.
7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้) วิธีทำ 1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆชนิดก้นเรียบในการผสม)
2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด(คนประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย 3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดลงในส่วนผสมทีละน้อยๆพร้อมกับคนไปเรื่อยๆ ให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน (ถ้าใส่น้ำครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะจับตัวเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)
4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน 5. นำมะกรูดมาต้ม ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูก ผสมกับน้ำสะอาดให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ 6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี 7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัวจึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้ หลังจา่กที่ใช้ได้แล้วก็ให้มาแบ่งกัน คนละ1ขวดนำไปใช้ที่บ้านและจะนัดกิจกรรมเรียยนรู็ครั้งต่อไปคือการเลี้ยงปลานิลในวันที่ 31 มกราคม 2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม100คน 2.มีน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้เองครัวเรือนละ 1 ขวด ผลลัพธ์ 1.มีการเรียนรู้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ 2.มีการยอมรับในการทำกิจกรรมคือ การได้ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการหาวัสดุมาทำนำเ้ยาเอนกประสงค์คือ มะกรูดเพื่อมาเป็นส่วนผสมในการทำนำ้ยาเอนกประสงค์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ตัวแทนภาคประชาชน ผู้นำชุมชน 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี