คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

สภาชุมชนบ้านดอนโรงครั้งที่ 57 มีนาคม 2559
7
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้คณะทำงานเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยประชาชนที่เข้าร่วม ไม่น้อยกว่า 60 คน หารือวาระของหมู่บ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 60 คน
  2. มีวาระแจ้ง ดังนี้

เวลา 09.00 น. นายสุนันต์ ชุมทอง ผู้ใหญ่บ้าน ได้แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน ตอนนี้เรามีคณะกรรมการ 11 คน ที่ทำหน้าที่เป็นการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ม่ีสมาชิก 150 คน
มาตราการส่งเสริมในระดับหมู่บ้านที่ทุกคนควรทราบ ประกอบด้วยมติของคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ส่งเสริมความเป็นอยู่ในหมู่บ้าน มีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องคือ

1.โครงการให้สินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ผ่านการประเมินมีว้ตถุประสงค์เพื่อนำเงิน ไปแก้ไขปัญหาในหมู่บ้าน ให้เป็นทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน โดยเป็นวงเงินสินเชื่อของธนาคารออมสิน3 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนต้องนำหลักฐานไปขอสินเชื่อจากสมาชิกกองทุนฯ

2.อัตราดอกเบี้ยระยะเวลากำหนด ร้้อยละ 2.2 ต่อปี ระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี

วาระที่ 2 เนื่องจากนโยบายรัฐบาล ได้ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน ทำการสำรวจความต้องการของเงินทุนในการประกอบอาชีพของสมาชิก พบว่า มีสมาชิกที่ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ จำนวนมาก จึงเห็นควรที่จะขออนุมัติ ต่อคณะกรรมการดังนี้

1.ขอรับเงินสนุนับสนุนสินเชื่อ ระดับหมู่บ้านกับธนาคารออมสิน สาขาเขียรใหญ่ เป็นเงิน 1 ล้านบาท มีสมาชิกกู้ยืมทำการเกษตร 10ราย เป็นเงิน 500,000 บาท ทำค้าขาย 5 ราย เป็นเงิน250,000 บาท และนำไปเลี้ยงสัตว์ 5 ราย เป็นเงิน 250,000 บาท

2.กองทุนมอบหมายให้ นายไสว หมอกแก้วนางเพ็ญศรีชุมทอง และนางจำปี เกิดแก้ว เป็นคณะกรรมการ
ปิดประชุม

วาระเพื่อการพัฒนางาน ตามโครงการ คลังอาหารบ้านดอนโรง นางหนูฟอง หนูทอง หัวหน้าโครงการ ได้สรุปให้ฟังว่า ได้ปิดรายงานรอบที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี
สำหรับการพัฒนาในรอบถัดไป มีกิจกรรมประกอบด้วย สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพื้นบ้าน โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดใช้สารเคมี กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบด้วย

1.รณรงค์และขอความคิดเห็นในการสร้างกลุ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครอบครัวกับในชุมชน

2.กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มออกเป็น 10 กลุ่ม มีกิจกรรมคือ -การเพาะพันธุ์แปลงผักรวม โดยเพาะที่บ้านแกนนำแต่ละกลุ่ม เมื่อผักโตแล้วให้นำไปปลูกที่บ้าน -การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักจากครัวเรือน -การปลูกผักไว้กินรอบครัวเรือน -รั้วบ้านสีเขียว หรือรั้วมีชีวิต

3.การทำกลุ่ม แบ่งเป้าหมาย 10 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน กำหนดให้แต่ละกลุ่มต้องอยู่ในละแวกเดียวกัน แต่ละกลุ่มต้องมีทั้งสมาชิกเก่าซึ่งเป็นพี่เลี้ยงกลุ่มและสมาชิกใหม่ และกลุ่มเยาวชน

4.เพาะพันธุ์ผัก : ให้สมาชิกกลุ่ม ร่วมกันเพาะพันธุ์ผัก ทั้งผักที่ต้องซื้อเมล็ดและพันธุ์ผักในชุมชน โดยเพาะพันธุ์ผักในพื้นที่รวมของแต่ละกลุ่ม

5.น้ำหมักชีวภาพ : พี่เลี้ยงกลุ่ม ให้คำแนะนำการทำน้ำหมักชีวภาพแก่สมาชิกกลุ่ม และให้ทุกครัวเรือน แยกเศษขยะที่ย่อยสลายได้มาทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยชีวภาพ

6.นำผักที่เพาะไว้แล้ว ลงไปปลูกรอบบ้านหรือบริเวณที่เป็นรั้ว

7.รณรงค์การกินผักสีเขียวเพิ่มทุกมื้อ โดยกินผักที่ปลูกเอง วันละ 1 กิโลกรัม เป็นผักที่สด ปลอดสารเคมี

8.รณรงค์ออกแรง โดยให้ทุกบ้านที่ปลูกผัก มีการหิ้วน้ำไปรดน้ำผัก มีการดายหญ้า และมีกิจกรรมออกแรงในการดูผักรอบบ้าน 30 นาทีต่อวัน หรือจนมีเหงื่อ ไหลซึม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและประชาชน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี