คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 326 กรกฎาคม 2559
26
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสานโดยการเลี้ยงปลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 1 เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิล

1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในวันนี้คือการมาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นสามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง ซึ่งในครั้งก่อนได้ผู้เชียวชาญ มาสอนวิธีการเลี้ยงปลานิลและไปดูบ่อปลานิล ที่สวนของ พี่หนูฟองเพื่อใช้เป็นบ่อเพาะเลี้ยง พ่อพันธ์แม่พันธุ์ปลานิล และในวันนี้เราก็จะมาเรียนรู้ดารเลี้ยงปลานิลกันและก็จะไปดูปลาที่บ่อปลานิลกัน หลังจากได้ลงพันธุ์ปลานิลไปแล้ว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม100 คน

ได้เรียนรู้เกี่ยวการเพาะพันธู์ปลานิลตั้งแต่การเตรียมบ่อการปล่อยปลาลงเลี้ยง การให้อาหาร โดยขั้นตอนการเตรียมเลี้ยงปลานิล

การเตรียมบ่อและวิธีเลี้ยงหลักวิธีการเพาะเลี้ยงเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.บ่อ บ่อที่จะใช้เลี้ยงลูกปลานิลควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดตั้งแต่ 400ตารางเมตรขึ้นไประดับของน้ำในบ่อควรลึกประมาณ1เมตรตลอดปีทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโตและใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกันไปด้วยเพราะถ้าเป็นบ่อซึ่งมีขนาดเล็กแล้วลูกปลาที่เกิดขึ้นใหม่จะทวีจำนวนแน่นบ่ออย่างรวดเร็วทำให้ลูกปลาเหล่านี้มีขนาดไม่โตโดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อดังนั้นจึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆสำหรับให้แม่ปลาได้วางไข่ ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำเช่นคูคลองแม่น้ำก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออกเพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกมาอีกด้วยแต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลงและต้องมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย

2.การเตรียมบ่อ ถ้าเป็นบ่อที่ขุดใหม่ดินมักมีคุณภาพเป็นกรดควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อในอัตรา1กิโลกรัมต่อเนื้อที่10ตารางเมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าจำเป็นต้องปรับปรุงบ่อโดยกำจัดวัชพืชออกให้หมดเช่นผักตบชวาจอกบัวและหญ้าต่างๆเพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรค์ต่อการหมุนเวียนของอากาศซ้ำยังจะเป็นที่หลบซ่อนอยู่อาศัยของศัตรูที่เป็นอันตรายต่อปลาและเป็นการจำกัดเนื้อที่ซึ่งปลาต้องใช้อยู่อาศัยอีกด้วย ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงต้องกำจัดศัตรูของปลานิลให้หมดเสียก่อนได้แก่พวกปลากินเนื้อเช่นปลาช่อนปลาชะโดปลาบู่และปลาดุกถ้ามีสัตว์จำพวกเต่าพบเขียดงูก็ควรกำจัดให้พ้นบริเวณบ่อนั้นด้วยวิธีกำจัดอย่างง่ายๆคือโดยการระบายน้ำออกให้แห้งบ่อแล้วจับสัตว์ชนิดต่างๆขึ้นให้หมด การใส่ปุ๋ยโดยทั่วๆไปแล้วปลาจะกินอาหารซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและจากที่ให้สมทบเป็นจำนวนเกือบเท่าๆ กันดังนั้นในบ่อเลี้ยงปลาควรดูแลให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เสมอจึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติปุ๋ยที่ใช้ได้แก่มูลวัวมูลควายมูลหมูมูลเป็ดและมูลไก่นอกจากปุ๋ยมูลสัตว์ดังกล่าวแล้วปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดต่างๆก็ใช้ได้ อัตราการใส่ปุ๋ยในระยะแรกนั้นควรใส่ประมาณ250-300กิโลกรัมต่อไร่ในระยะหลังๆควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก วิธีการใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกควรตากให้แห้งเสียก่อนเพราะถ้าเป็นปุ๋ยที่ยังสดอยู่จะทำให้น้ำในบ่อมีแก๊สพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมากซึ่งจะเป็นอันตรายต่อปลาการใส่ปุ๋ยคอกควรใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อให้ละลายไปทั่วๆอย่าโยนให้ตกอยู่ในที่เดียวส่วนปุ๋ยพืชสดนั้นควรเทสุมเป็นกองไว้ตามมุมบ่อ1หรือ2แห่งโดยมีไม้ไผ่ปักล้อมไว้เป็นคอก รอบกองปุ๋ยพืชสดนั้นเพื่อป้องกันมิให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย อที่มีอาหารธรรมชาติมากหรือน้อยจะสังเกตได้โดยการดูสีของน้ำถ้าน้ำในบ่อมีสีเขียวแสดงว่ามีอาหารจำพวกพืชเล็กๆปนอยู่มากแต่ถ้าน้ำในบ่อมีสีค่อนข้างคล้ำมักจะมีอาหารจำพวกไรน้ำมากพวกพืชเล็กๆและไรน้ำมากพวกพืชเล็กๆและไรน้ำเหล่านั้นนับว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างดี

3.การปล่อยปลาลงเลี้ยง จำนวนปลาที่ปล่อย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็วดังนั้นจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มากนักสำหรับบ่อขนาดเนื้อที่1งาน(400ตารางเมตร)ควรใช้พ่อแม่ปลานิลเพียง50คู่หรือถ้าเป็นลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กก็ควรปล่อยเพียง400ตัวหรือ1ตัวต่อ1ตารางเมตร เวลาปล่อยปลาเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปล่อยปลาควรเป็นเวลาเช้าหรือเวลาเย็นเพราะระยะเวลาดังกล่าวนี้อุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนเกินไปก่อนที่จะปล่อยปลาควรเอาน้ำในบ่อใส่ปนลงไปในภาชนะที่บรรจุปลาแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ2-3นาทีเพื่อให้ปลาคุ้นกับน้ำใหม่เสียก่อนจากนั้นจึงค่อยๆจุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลานิลลงบนผิวน้ำพร้อมตะแคงภาชนะปล่อยให้ปลาแหวกว่ายออกไปอย่างช้าๆ

4.การให้อาหาร ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิดดังนั้นปลาชนิดนี้จึงเป็นปลาที่ให้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะพวกอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเช่นไรน้ำตะไคร่น้ำตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็กๆที่อยู่ในบ่อตลอดจนสาหร่ายและแหนถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหารสมทบเช่นรำปลายข้าวกากถั่วเหลืองกากถั่วลิสงกากมะพร้าวแหนเป็ดและปลาป่นเป็นต้นการให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไปควรกะให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของปลาเท่านั้นส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราว5%ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยงถ้าให้อาหารมากเกินไปปลาจะกินไม่หมดเสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์และยังทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายแก่ปลาได้
การเจริญเติบโต ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็วเลี้ยงในเวลา1ปีจะมีน้ำหนักถึง500กรัมและเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วพ่อแม่ปลาซึ่งมีขนาดโตเต็มที่เมื่อปล่อยลงเลี้ยงในบ่อจะเริ่มว่างไข่ภายใน2-3สัปดาห์ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ชุดนี้จะเริ่มวางไข่ได้ต่อไปอีกเมื่อมีอายุประมาณ3-4เดือน ด้วยเหตุที่ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วดังนั้นจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้จำนวนของปลาในบ่อมีปริมาณมากจนเกินไปหากพบว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากควรจะจับลูกปลาแบ่งออกไปเลี้ยงยังบ่ออื่นบ้างเพราะถ้าปล่อยให้อยู่กันอย่างหนาแน่นปลาก็จะไม่เจริญเติบโตและจะทำให้อัตราการแพร่พันธุ์ลดน้อยลงอีกด้วย
ประโยชน์ ปลานิลเป็นปลาซึ่งมีเนื้อมากและมีรสดีสามารถที่จะนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่างเช่นทอดต้มแกงตลอดจนทำน้ำยาได้ดีเท่ากับปลาช่อนนอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆโดยทำเป็นปลาเค็มตากแห้งแบบปลาสลิดปลากรอบปลาร้าปลาเจ่าปลาจ่อมหรือปลาส้มและยังนำมาประกอบเป็นอาหารแบบอื่นได้อีกหลายชนิดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วนั้นสามารถเก็บไว้ได้นานทั้งสามารถนำไปจำหน่ายนับเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง

5.การจัดการระหว่างการเลี้ยง ควรมีการตรวจสอบกระชังเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทุกๆ สัปดาห์ รวมทั้งสุ่มปลามาตรวจสอบน้ำหนักเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ได้อย่างเหมาะสม
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นข้อควรคำนึงอีกประการหนึ่งสำหรับการจัดการการเก็บเกี่ยวผลผลิต จากการเลี้ยงในกระชังควรคำนึงถึงขนาดของปลาและปริมาณที่ตลาดต้องการ - กระชังที่ใช้เลี้ยงปลานิลมีรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปกลม เป็นต้น รูปร่างของกระชังจะมีผลต่อการไหลผ่านของกระแสน้ำที่ถ่ายเทเข้าไปในกระชัง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเท่ากันๆ กระชังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะมีพื้นที่ผิวที่ให้กระแสน้ำไหลผ่านได้มากกว่ากระชังรูปแบบอื่นๆ - ขนาดกระชัง ที่ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ขนาดพื้นที่ที่แขวนกระชัง ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ขนาดกระชังที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ กระชังสี่เหลี่ยม ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.5 หรือ 2 x 2 x 2.5 เมตร กระชังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4 x 2 x 2.5 เมตร

6.สำหรับต้นทุนค่าสร้างกระชัง ต้นทุนต่อปริมาตรจะลดลงเมื่อขนาดของกระชังใหญ่ขึ้นแต่ผลผลิตต่อปริมาตรก็จะลดลงด้วย เนื่องจากกระชังใหญ่กระแสน้ำไม่สามารถหมุนเวียนได้ทั่วถึง ความลึกของกระชังส่วนใหญ่ที่ใช้จะมีความลึก 2.5 เมตร เมื่อลอยกระชังจะให้กระชังจมอยู่ในน้ำเพียง 2.2 เมตร โดยมีส่วนที่โผล่พ้นน้ำประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร ความลึกของกระชังมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาเช่นกัน ปกติระดับออกซิเจนทีละลายในน้ำจะสูงบริเวณผิวน้ำ ที่ระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ปริมาณออกศิเจนที่ละลายในน้ำเพียง 50 - 70 % ของปริมาณออกซิเจนที่ผิวน้ำเท่านั้น ดังนั้น การสร้างกระชังไม่ควรให้ลึกเกินไป เนื่องจากปลาจะหนีลงไปอยู่ในส่วนที่ลึกซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำ และจะส่งผลให้ปลากินอาหารน้อยมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ดังนั้นขนาดกระชังขึ้นอยู่กับปัจจัยเป็นองค์ประกอบของการเลี้ยงซึ่งผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจโดยพิจารณาถึงจำนวนปลาที่ปล่อย กระชังขนาดเล็กที่ปล่อยหนาแน่น ให้ผลผลิตต่อปริมาตรสูง ดูแลจัดการง่าย แต่ผลผลิตรวมอาจต่ำกว่ากระชังขนาดใหญ่ดังกล่าวข้างต้น

นอกจากนี้บริเวณผนังกระชังด้านบน ควรใช้มุ้งเขียวขนาดความกว้างประมาณ 90 เซนติเมตร ขึงทับไว้เพื่อป้องกันมิให้อาหารหลุดออกนอกกระชังในระหว่างการให้อาหาร
การแขวนกระชัง ควรแขวนให้กระชังห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมุมอับระหว่างกระชังเป็นการลดสภาวะการขาดออกซิเจน หากจำเป็นควรใช้เครื่องตีน้ำหรือเครื่องสูบน้ำช่วยให้เกิดการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำภายในกระชังและเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำอีกด้วย
ขนาดตาอวนที่ใช้ทำกระชัง จะต้องเหมาะสมกับขนาดปลาที่เลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหนีลอดไปได้ อีกทั้งจะต้องให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวกและป้องกันไม่ให้ปลาขนาดเล็กภายนอกเข้ามารบกวนและแย่งอาหารปลาในกระชัง ขนาดตาอวนที่ใช้ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 1.5 x 1.5 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ขัดขวางการหมุนเวียนของน้ำผ่านกระชัง กระชังควรมีฝาปิดซึ่งอาจทำจากเนื้ออวนชนิดเดียวกับที่ใช้กระชังหรือวัสดุที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันปลาที่เลี้ยงหนีออกและปลาจากภายนอกกระโดดเข้ากระชัง รวมทั้งป้องกันไม่ให้นกมากินปลาที่เลี้ยง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน  ตัวแทนครัวเรือน  ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี