คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 66 กันยายน 2559
6
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ เป็นการสรุปการทำงานครั้งที่ผ่านมาและ วางแผนการพัฒนางานในครั้งต่อไป
และได้เชิญให้ตัวแทนกลุ่มได้พูดคุยเกี่ยวกับการทำงาน ดังนี้

1.นางอภัย ชุมทอง ตัวแทนกลุ่มการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ที่ได้เรียนรู้คือ การทำน้ำยาสระผม น้ำยาล้างจานส่วนผสม ได้แก่ นำมะกรูด อัญชัญ กระเจี๋ยบ ลูกยอในการทำกิจกรรม ได้ขอความร่วมมือจากทุกคน ให้นำวัสดุเหล่านี้มาจากบ้าน โดยขอสนับสนุนค่าวัสดุจากโครงการและบางส่วนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาพระบาท และทุกครั้งที่มีการประชุมหมู่บ้าน ก็จะทำกิจกรรมดังกล่าว พบว่า ร้อยละ 85 ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและพึงพอใจ

2.เลี้ยงปลาปลา โดยมีแหล่งเรียนรู้ที่บ้านนางหนูฟอง หนูทอง ซึ่งเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และแหล่งเพาะพันธ์ปลานิลในหมู่บ้าน ตอนนี้มีการแจกพันธ์ปลาไปหลายครัวเรือนแล้ว ทุกครัวเรือนที่เป็นแกนนำเลี้ยงปลา ก็จะช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงปลาไว้กินเอง กลุ่มเป้าหมายใช้เศษอาหาร หยวกกล้วย รำ มาทำเป็นอาหารปลา ตอนนี้ขนาดปลา 3 ตัวต่อกิโลกร้ม ปลานิลที่เลี้ยงจะไม่ขาย แต่จะเก็บไว้เพาะพันธ์ปลาต่อไป สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ มีปลาไว้สำหรับชุมชนและเก็บไว้ปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ

3.เลี้ยงไก่บ้าน ผุ้รับผิดชอบ คือนาง จำปี เกิดแก้ว ตอนนี้ทุกบ้านมีการเลี้ยงไก่บ้าน สิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน คือ ทุกบ้านเลี้ยงไก่ ไก่จะไข่วันละ 10ฟองทุกบ้านมีไ่ก่และไข่ไว้กิน ทีมงานช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้กิน ทุกบ้านเลี้ยงไก่ ร้อยละ 100 ผลผลิตที่เหลือคือ การขายไข่ไก่ มีรายได้เฉลี่ย 1000 บาท จากการขายไก่ แต่ส่วนใหญ่จะเก็บไว้กิน เป็นอาหารสำหรับครัวเรือน

4.การทำเห็ดฟางผู้รับผิดชอบคือนางสมมารถ ทองเอียด ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำเห็ด ตอนนี้ทุกบ้านได้เรียนรู้การปลูกเห็ดฟาง ไว้กินเอง ครัวเรือนละ 20 ก้อน โดยเพาะเห็ดฟางในโอ่ง ห้องน้ำ ทำให้มีผักไว้กินทุกวัน ลดรายจายการซื้อผักได้

5.ร่วมปลูกสมุนไพร เพื่อผลิตชาสมุนไพรไว้ใช้ในชุมชน จัดเรียนรู้ที่บ้าน นางจำปี เกิดแก้ว โดยนำวัสดุจากชุมขนมาแปรรูปสมุนไพร เช่น ใบทุเรียนน้ำ ตะไคร้ ใบขลู่ กระเจี๊ยบ อัญชัน นำมาทำตากแห้ง และส่งเสริมการดื่มสมุนไพรแทนน้ำดื่มลม การดื่มน้ำสมุนไพรช่วยในเรื่องการฟื้นฟูสุขภาพ และเป็นการสร้างการทำงานเป็นกลุ่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม100คน 2.มีแหล่งคลังอาหารในชุมชน

ผลลัพธ 1.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม ลดรายจ่ายในการซื้ออาหาร 2.มีรายได้จากการขายไข่ไก่ เดือนละ 1000 บาทต่อครัวโดยเฉลี่ย 3.ลดการซื้อผักในครัวเรือน วันละ 150 บาท
4.มีสุขภาพดีขึ้นจากการบริโภคอาหาร ผัก ปลอดสารพิษ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน  ผู้เข้าสนใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี