คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

ประเมินผลและถอดบทเรียน17 กันยายน 2559
17
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการและตัวแทนกลุ่มในชุมชน พบกับพี่เลี้ยง เพื่อทำการถอดบทเรียน ซึ่งจากการพูดคุยพบว่า
"กิจกรรมที่ทำในบ้านดอนโรง ได้แก่

1.เลี้ยงปลาโดยการทำบ่อปลานิลเลี้ยง เพาะแล้วแจกให้กับลูกบ้าน ตั้งแต่การสร้างบ่อปลาเอง ผสมพันธ์เอง เลี้ยงปลาไว้กินเอง น้ำหนักเฉลี่ย 3 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 70 บาท เฉลี่ยอัตราการเลี้ยงประมาณ 2,000 ตัว ใช้เวลาในการเลี้ยงปลา 6 เดือน แต่สำหรับคลังอาหารบ้านดอนโรง เลี้ยงแบบธรรมชาติ ให้มีการผสมพันธ์ตามธรรมชาติ และเลือกตัวที่โตมาทำเป็นอาหารไว้บริโภค อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาเป็นอาหารประเภทรำ และพืชน้ำ ได้แก่จอก แหน ที่เลี้ยงไว้ในบ่อปลา ทำให้เป็นปลาที่ปลอดสารเคมี การเลี้ยงปลาในรอบนี้ต้องการมุ่งการขยายกลุ่ม มากกว่าการจำหน่าย หรือสร้างรายได้ แต่ต้องการสร้างความมั่นคงในด้านอาหารของหมู่บ้าน

2.เลี้ยงไก่ ส่งเสริมการเลี้ยงไก่บ้านละ 40 ตัว เป็นไก่พื้นเมือง ตอนนี้มีอายุ 6 เดือน ผลผลิตที่ได้จากไก่คือ ไข่ไก่ ทำให้มีไก่ไว้กิน ไม่ต้องซื้อไข่ ไข่วันละ 10 ฟองโดยเฉลี่ยการเลี้ยงไก่รอบนี้มุ่งเน้นให้มีไข่ไว้กินในครัวเรือน และจะเก็บแม่พันธไว้ให้ฟักเป็นลูกไก่ เพื่อให้เป็นคลังอาหารที่บ้านดอนโรงของผลิตผลที่มาจากไก่พื้นเมือง อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ประกอบด้วยหยวกกล้วย รำ กากปาล์ม เป็นเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน สำหรับขี้ไก่ สามารถนำมาทำปุ๋ย ประมาณ 3 เดือน ได้ 7 กระสอบ พาไปขาย หรือเป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมัก การเลี้ยงไก่นอกจากจะมีรายได้แล้ว ก็ยังมีขี้ไก่ ไว้ทำปุ๋ยอีกด้วย นอกจากมีอาหารแล้ว ยังเกิดปุ๋ยด้วย

3.การเพาะเห็ด มีการเรียนรู้การทำก้อนเห็ดฟางเอง โดยการเขี่ยเชื้อเองที่บ้านดอนโรง มีครูมาสอนให้ทำก้อนเห็ด และใช้ส่วนผสมที่มีอยู่ในชุมชนและส่วนผสมบางอย่างก็ไปซื้อหาจากเพื่อนบ้าน การทำก้อนเห็ดเอง ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ด การทำก้อนเห็ดและมีเห็ดไว้กินในครัวเรือนจากการเรียนรู้และทำก้อนเห็ด ได้มีการแบ่งปันให้กับครัวเรือนละ 20 ก้อน จากการทดลองพบว่า ทุกครัวเรือน สามารถเพาะเห็ดไว้กินเอง ปลอดภัยจากสารเคมีการเรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้ทุกคนทดลอง ทั้งลองผิด ลองถูก การทำเรือนเห็ดแต่ละครอบครัว เก็บไว้ในโอ่ง เก็บไว้ในห้องน้ำ แขวนไว้ที่ข้างบ้าน จากการสอบถามพบว่า บริเวณที่ชื้นทำให้ได้ผลผลิตเยอะที่สุด

4.การปลูกพริกไทย มีการเรียนรู้ 30 ครัวเรือน แต่สามารถเป็นต้นแบบได้ 3 ครัวเรือน ซึ่งทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน กำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง เกษตรพื้นบ้าน ส่งเสริมให้ครัวเรือน มีการปลูกผักแบบผสมผสาน โดยช่วงนี้ไม่สามารถส่งเสริมการปลูกได้เต็มที่เพราะอยู่ในช่วงให้ผ่านหน้าฝน น้ำกำลังจะท่วม

5.การทำคลังอาหารดอนโรง ทำให้คนไม่ต้องซื้ออาหาร ลดรายจ่าย และเหลือก็ขาย
6.ทำให้เป็นอาหารชีพ มีรายได้เสริมเช่น หลังจากปลูกปาล์ม ก็สามารถปลูกผักได้ ทำให้คนบ้านดอนโรงมีอาชีพมากกว่า 1 อย่าง
7.มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้องค์ความรู้เพิ่ม

และได้ร่วมกันจัดทำบทสรุปของโครงการพบว่า

กิจกรรมการพัฒนาทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในชุมชน ดังนี้
1.มีฐานการเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่
1.1 ฐาน เลี้ยงปลานิล ทำบ่อปลานิลเลี้ยง เพาะฟักเอง สร้างบ่อปลาในหมู่บ้านเอง เลี้ยงปลาไว้กินเอง น้ำหนักเฉลี่ย 3 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 70 บาท เฉลี่ยอัตราการเลี้ยงประมาณ 2,000 ตัว ใช้เวลาในการเลี้ยงปลา 6 เดือน เป็นคลังอาหารบ้านดอนโรง เลี้ยงแบบธรรมชาติ 1.2 เลี้ยงไก่ บ้านละ 40 ตัว เป็นไก่พื้นเมือง ผลผลิตที่ได้คือ ไข่ไก่ ทำให้มีไก่ไว้กิน ไม่ต้องซื้อไข่ ได้ไข่วันละ 10 ฟอง การเลี้ยงไก่มุ่งเน้นให้มีไข่ไว้กินในครัวเรือน อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ประกอบด้วยหยวกกล้วย รำ กากปาล์ม เป็นเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน สำหรับขี้ไก่ สามารถนำมาทำปุ๋ย ประมาณ 3 เดือน ได้ 7 กระสอบ
1.3 การเพาะเห็ด เรียนรู้การทำก้อนเห็ดเอง เพาะเลี้ยงเอง มีเห็ดไว้กินในครัวเรือน แบ่งปันให้ครัวเรือนละ 20 ก้อน พบว่าทุกครัวเรือนเพาะเห็ดไว้กินเอง ปลอดภัยจากสารเคมี 1.4 เกษตรผสมผสาน เป็นการส่งเสริมให้ครัวเรือน มีการปลูกผักแบบผสมผสาน ทำให้ลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ย ลดสารเคมี

2.ลดความขัดแย้ง ทำให้คนในชุมชนมีความรัก สามัคคี ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพ 3.การเปลี่ยนความคิด จากเดิมไม่ค่อยรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตอนนี้คนเริ่มสนใจกิจกรรม โดยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในการทำกิจกรรมหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน 4.มีการเรียนรู้และได้รับความรู้เพิ่มได้แก่ การเลี้ยงเป็ด ไก่ การทำก้อนเห็ด การเลี้ยงปลานิล การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพและการทำน้ำยาล้างจานสมุนไพร 5.มีการเรียนรู้ระบบกลไกตลาดมากขึ้น เพื่อนำสินค้าออกไปจำหน่ายในชุมชนเอง จากเดิมเหลือขายในชุมชน ตอนนี้มีการขยายออกสู่ตลาดข้างนอก 6.การเปลี่ยนแปลงคนในหมู่บ้าน คนในชุมชนมีอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำสวน ทำนา 7.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบริโภค จากเดิมต้องซื้อจากตลาดทุกอย่าง ตอนนี้ผักปลูกกินเอง สมุนไพรปลูกใช้เอง คนหันมาบริโภคผักที่ปลูกเอง ผลิตเองในชุมชน ซึ่งปลูกกันทุกครัวเรือน ลดการใช้สารเคมี 8.การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชน จากเดิมหลังจากตัดยางเสร็จ ตัดปาล์มเสร็จ ก็จะไม่ทำอะไร นอนอย่างเดียวหรือไปเที่ยว ตอนนี้มีการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เพาะเห็ดมานั่งพูดคุย ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อเสริมรายได้ มีความสุข 9.การบริหารโครงการโปร่งใส ตรวจสอบได้ 10.นวัตกรรม ที่เกิดขึ้นและเห็นชัดคือ1.มีฐานคลังอาหารชุมชน6 ฐาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ 1.ได้ถอดบทเรียนการดำเนินงาน 1 ครั้ง 2.เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับคลังอาหารชุมชน

ผลลัพธ์ 1.ได้มองเห็นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม 2.ได้เห็นความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือและความตั้งใจทำงาน 3.มองเห็นแนวทางการต่อยอดของกิจกรรม 4.มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวคน การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและกลไก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

วันนี้คณะทำงาน และตัวแทน 60 คน มาพบพี่เลี้ยง และร่วมพูดคุย เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานในพื้นที่ และสรุปผลการดำเินนงานตามโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี