นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)

เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล12 มีนาคม 2559
12
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรงาม
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงานร่วมกับทีมสำรวจรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ จำนวน 121 ครัวเรือน
  • วางแผน มอบหมายหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล
  • ลงพื้นที่จัดเก็บ สิ่งที่พบเห็นจากการลงไปเก็บข้อมูลคือเด็กเยาวชนมีการวิเคราะห์ข้อมูลไปแล้วบางส่วน บางครัวเรือนไม่ต้องถามหัวข้อที่ต้องจัดเก็บทุกครั้ง เด็กมีการวางแผนการเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าและมีการแบ่งเวลาในการจัดเก็บคือใช้ช่วงเวลาหลังเลิกเรียน มีการแบ่งหน้าที่กันเก็บข้อมูล ถามคน จดบันทึกคน มีการทำงานร่วมกันระหว่างเด็กและพี่เลี้ยง ร้กษาเวลาในการจัดเก็บและส่งข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนดสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ถึง 95 %
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สิ่งที่พบเห็นจากการลงไปเก็บข้อมูลคือเด็กเยาวชนมีการวิเคราะห์ข้อมูลไปแล้วบางส่วน บางครัวเรือนไม่ต้องถามหัวข้อที่ต้องจัดเก็บทุกครั้ง เด็กมีการวางแผนการเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าและมีการแบ่งเวลาในการจัดเก็บคือใช้ช่วงเวลาหลังเลิกเรียน มีการแบ่งหน้าที่กันเก็บข้อมูล ถามคน จดบันทึกคน มีการทำงานร่วมกันระหว่างเด็กและพี่เลี้ยง ร้กษาเวลาในการจัดเก็บและส่งข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนดสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ถึง 95 %
  • คณะทำงานร่วมกับทีมสำรวจรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ จำนวน 121 ครัวเรือน ดังนี้ ข้อมูลทั่วไป สมาชิกในชุมชน จำนวน 381 คน ชาย 177 คน หญิง 204 คน ข้อมูลที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองทั้ง 121 ครัวเรือน การถือครองที่ดิน นา เป็นของตนเอง 364 ไร่ เช่า 226.75 ไร่ ให้คนอื่นเช่า 59.75 ไร่ รับจำนำ 7 ไร่ สวนยาง 264.50 ไร่ สวนปาล์ม 31.75 ไร่ อื่น ๆ ข้อมูลเศรษฐกิจ อาชีพเกษตรกร 76 ครัวเรือน อุตสาหกรรมเย็บผ้า สานเสื่อกระจูด 30 ครัวเรือน ค้าขาย 15 ครัวเรือน รายจ่าย 1,531,900 บาท หนี้สิน 21,755,100 บาท เป็นหนี้สินในระบบ 21,500,100 บาท นอกระบบ 255,000 บาท ทุกครัวเรือนมีการออมเงินกับกลุ่มออมทรัพย์และธนาคาร ครัวเรือนที่ทำนาทั้งหมดในหมู่บ้าน จำนวน 30 ครัวเรือน มีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน และครั้งที่ 2 ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ประเภทการทำนาแบบนาหว่าน ชนิดพันธ์ข้าวที่ทำคือพันธ์ กข.29 / กข.41/ หอมปทุมและหอมใบเตย ทำขาย 22 ครัวเรือน ทั้งขายและกิน 8 ครัวเรือน ใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ 1 ครัวเรือน ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี 22 ครัวเรือน และใช้ทั้ง 2 ปุ๋ย 7 ครัวเรือน ใช้ทั้งรถไถ และรถไถเดินตามในการทำนา ต้นทุนการผลิตต่อไร่ 3,870 บาท มีค่าเตรียมแปลง สารเคมี พันธ์ข้าว แรงงาน ค่าตัด ค่าปุ๋ย ผลผลิต 700 กก. ต่อไร่ ข้อมูลการกินข้าว บริโภคข้าวที่ทำนาเอง จำนวน 8 ครัวเรือน ซื้อข้าวสารจากท้องตลาดบริโภค จำนวน 113 ครัวเรือน ชนิดข้าวสารที่บริโภคมีข้าวหอมปทุม หอมใบเตย หอมมะลิ เล็บนก และสังข์หยด ปริมาณการกินข้าวต่อเดือนของคนในชุมชน3,197 กก.ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 95,910 บาทต่อเดือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมสำรวจข้อมูล จำนวน 13 คน คณะทำงานโครงการ จำนวน 22 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บางครัวเรือนไม่พบกับหัวหน้าครัวเรือนเก็บข้อมูลไม่ได้ ต้องไปเก็บวันหลัง มีปัญหาเรื่องยุงเพราะเด็กบางคนไปเก็บข้อมูลตอนค่ำ บางครัวเรือนมีความสงสัยในเรื่องข้อมูลว่าเก็บไปทำอะไร ให้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริงเช่นข้อมูลด้านหนี้สิน รายได้ รายจ่าย และข้อมูลบางส่วนตรงข้ามกับความเป็นจริง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส. จุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี