พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้

ประชุมคณะทำงาน วันที่ 3 พฤศจิกายน 25593 พฤศจิกายน 2559
3
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย สุไหลหมาน เบ็ญดูสะ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานหลักสูตร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานหลักสูตร นำโดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ได้อธิบายถึงความเป็นมาของการจัดทำหลักสูตรว่า สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส)จึงมุ่งเน้นการพัฒนากลไกกลางที่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคี สสส. (Capacity Building)เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ สมรรถนะ และความสามารถที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานมาแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดเกิดการเชื่อมต่อความรู้ ขยายผลต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิผลในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น องค์กร และนโยบาย ทั้งในภาคีเครือข่ายเองหรือข้ามภาคีเครือข่าย สามารถขับเคลื่อนงานทางสังคมและสร้างพลังเครือข่ายได้อย่างยั่งยืน และมีกระบวนการพัฒนาทักษะให้แก่ภาคีเครือข่าย สสส. และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนนำไปสู่สังคมสุขภาวะโดย มีโจทย์ว่า ออกแบบอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายมาแล้วได้ในสิ่งทีต้องการ และActive Learning เสริมสิ่งที่เค้าทำอยู่แล้วให้ดีมากยิ่งขึ้น มีกระบวนการ คือ
1) พัฒนากระบวนการ ออกแบบ หลักสูตร 7 หลักสูตร
2) แบ่งหน้าที่การดำเนินงานในแต่ละหลักสูตรให้ อาจารย์แต่ละท่านรับผิดชอบออกแบบกระบวนการดังนี้ 1.Health promotion theory and methodology ดร.เพ็ญ สุขมาก 2.Leadership and Management skill in Health promotion ดร.ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา 3.Network and Partnership management ดร.กุลทัติ หงส์ชยางกูร 4.Project management in Health promotion ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 5.Social communication in Health promotion ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 6.Knowledge management in Health promotion ดร.จีรเนาว์ ทัศศรี ,ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา ,คุณวัลภา ฐาน์กาญจน์ ,คุณอุรพิณ หนุนอนันต์ 7.Sustainable managementดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 3) ประชาสัมพันธ์เพื่อรับสมัคร
คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากแต่ละสำนักจาก สสส.เลือกแกนนำ 4 เครือข่ายหลัก ปัจจัยเสี่ยง อาหาร ทรัพยากร ชุมชนนาอยู่ และบุคลากรทั่วไปที่สนใจ เช่น สายสุขภาพ มหาวิทยาลัย ฯลฯ