พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้

ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ วันที่ 11 มกราคม 6011 มกราคม 2560
11
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย สุไหลหมาน เบ็ญดูสะ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมเรียนรู้ตามหลักสูตร คณะทำงานกล่าวถึงกลุ่มที่จะเข้าร่วมเรียนรู้ตามหลักสูตร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มเป้าหมายหลักคือภาคีเครือข่าย สสส.
2.กลุ่มบุคคลที่สนใจทั่วไป
3.กลุ่มนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา การสนับสนุนค่าใช้จ่ายกลุ่มเป้าหมาย
1.กลุ่มเป้าหมายที่ เป็นภาคีหลักของ สสส.และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด  ทางโครงการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซี่งในรุ่นที่ 1 จำนวน 60  คน
2.กลุ่มเป้าหมาย ภาคีเครือข่าย สสส.ที่สนใจ เข้าร่วมบางหลักสูตร ต้องจ่ายค่าเดินทาง  และค่าที่พักเอง  โครงการสนับสนุน ค่าอาหาร เอกสาร
3.กลุ่มประชาชนผู้สนใจทั่วไป เก็บค่าลงทะเบียน เป็นค่าเอกสาร ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น (บางวัน) ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานในพื้นที่  คิดอัตราหลักสูตรละ 3,000 บาท  กรณีที่สมัครเข้าร่วมทุกหลักสูตร คิดในอัตรา 10,000 บาท ต่อคน ไม่รวมค่าที่พัก และค่าเดินทาง ข้าราชการ สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง
การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาประชุมเชิงปฏิบัติการ
เนื่องจากเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้เกือบทั้ง 14 จังหวัด ทำให้ภาคีเครือข่ายอาจมีความไม่สะดวกในการเข้าร่วมในช่วงเดือนเดือน มกราคม 2560  คณะทำงานหลักสูตรจึงมีความเห็นร่วมกันว่าขอให้เลื่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่  1 ในเดือนมกราคมออกไปก่อน ซึ่งช่วงเวลาที่ได้เปลี่ยนแปลง ดังตารางต่อไปนี้ ครั้งที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการความรู้ วันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2560
ครั้งที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารโครงการสุขภาวะ
วันที่ 27-30 มีนาคม 2560
ครั้งที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องผู้นำและบริหารเครือข่ายด้านสุขภาวะ วันที่ 22-24 พฤษภาคม 2560
ครั้งที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสื่อสารและการบริหารจัดการความยั่งยืน
วันที่ 17-19 กรกฎาคม 2560

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม


      การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมผู้เข้าร่วมเรียนรู้  : วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 19.00 – 21.00 น. จะเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายละเอียด ข้อกำหนด เงื่อนไข ข้อตกลงร่วม ในการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดหลักสูตร  และเพื่อให้กลุ่มผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของตนเอง กับผู้เข้าร่วมท่านอื่น และจัดกระบวนการให้ผู้เข้าร่วมและทีมคณะทำงานได้ทำความรู้จักกันด้วย โดยใช้สถานที่ที่โรงแรมที่พักของผู้เข้าร่วม       กระบวนการที่จะใช้ : เทคนิค time line / การรู้จักตน (Self-awareness) การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง โดยให้  ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เกริ่นภาพรวมของหลักสูตร แล้วในส่วนกระบวนนั้น  ดร.ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา และทีม จะเป็นคนออกแบบเพิ่มเติม โดย จะให้ทีม ที่เคยผ่านประสบการณ์ทางด้านนี้มาแล้ว เช่น คุณไมตรี จงไกรจักร ,คุณกัลยา เอี่ยวสกุล คุณอานนท์ มีศรี เพราะจะทำให้ทราบว่ากระบวนการแบบไหนควรจะเป็นไปในทิศทางที่พอจะเหมาะสมกับผู้ร่วม การออกแบบ และวางแผนงาน หลักสูตร การจัดการความรู้ คณะทำงานหลักสูตร การจัดการความรู้ (Knowledge management in Health promotion) อันประกอบไปด้วย รศ.ดร.จีรเนาว์ ทัศศรี ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา อ.วัลภา ฐาน์กาญจน์ ได้ร่วมออกแบบหลักสูตรทั้ง 3 ไว้ ในกรอบการทำงานคร่าวๆดังนี้ วันที่ 1 (22 กุมภาพันธ์ 2560)
ช่วงเช้า
- แนวคิดชุดการเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้ (15 นาที อ.พงศ์เทพ) - แนวคิดและพื้นฐานเรื่องการจัดการความรู้  (คุณอุรพิณ หนุนอนันต์) - การจัดการความรู้: เรียนรู้ความเป็นจริงแห่งชีวิตจากงาน (คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ) ช่วงบ่าย - กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm): การจัดการความรู้: ตัวอย่างการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้หรือองค์ความรู้  (อุรพิณ หนุนอนันต์) - ความคิดรวบยอดของการจัดการความรู้ หัวข้อการเรียนรู้ (อุรพิณ หนุนอนันต์)

วันที่ 2 (23 กุมภาพันธ์ 2560) ช่วงเช้า - แนวคิดการจัดการ tacit knowledge
- กระบวนการ การจัดเก็บ  และการถ่ายทอดองค์ความรู้ (ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์) ช่วงบ่าย - กระบวนการเรียนรู้ : หลักการพื้นฐานของการถอดบทเรียน เทคนิคการถอดบทเรียน - แบ่งกลุ่มปฏิบัติการถอดบทเรียน: ประเมินผลการดำเนินงาน
- แบ่งกลุ่มปฏิบัติการถอดบทเรียน : การวิเคราะห์เงื่อนไขปัจจัยต่อความสำเร็จของกิจกรรม
- แบ่งกลุ่มปฏิบัติการถอดบทเรียน : บทเรียนและข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคุณภาพงานในระยะต่อไป
(ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และคณะ) วันที่ 3 (24 กุมภาพันธ์ 2560) ช่วงเช้า - การค้นหาข้อมูลความรู้  การค้นหาความรู้ในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เพื่อให้ทราบว่าถ้าต้องการจะขับเคลื่อนงานตัวเองนั้นต้องการความรู้อะไรและ จากที่ไหนบ้าง
(รศ.ดร.จีรเนาว์ ทัศศรีทีมอาจารย์ หลักสูตร) ช่วงบ่าย - การเลือกใช้ (จัดการ) ข้อมูลเชิงสุขภาวะ เพื่อสนับสนุนโครงการสุขภาวะ 1. ฝึกปฏิบัติ: การออกแบบกระบวนการกลุ่ม และการฝึกใช้เทคนิคต่าง ๆ 2. นำเสนอผลการประชุมกลุ่ม ผู้รับผิดชอบ: ผศ. ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  ,รศ. ดร. จีรเนาว์ ทัศศรี หมายเหตุ : ในแต่ละหัวข้อการเรียนรู้ จะมีกิจกรรม ฝึกปฏิบัติ และใบงาน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ทำร่วมกัน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 9 คน
ประกอบด้วย

-