พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้

ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ (เตรียมความพร้อมการจัดการความรู้) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 256017 กุมภาพันธ์ 2560
17
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย สุไหลหมาน เบ็ญดูสะ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ (เตรียมความพร้อมการจัดการความรู้) สำหรับรุ่นที่ 2 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 สถานที่ ห้องประชุมชั้น 10 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานหลักสูตรร่วมกันสรุปจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมในหลักสูตรการจัดการความรู้ มีจำนวนประมาณ 65 คน จาก 20 เครือข่าย และมีเครือข่ายนักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการระบบสุขภาพ จำนวน 17 คน รวมทั้งสิ้น 82 คน ร่วมออกแบบใบงาน รายละเอียดดังนี้ แนวคิดและพื้นฐานเรื่องการจัดการความรู้ ใบงานที่ 1: กิจกรรมของการจัดการความรู้ 1.แบ่งกลุ่ม
2.แต่ละกลุ่มเขียนกิจกรรมที่ทำมาแล้วที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับ กระบวนการการจัดการความรู้ (KM) ลงในกระดาษ post it แล้วนำไปสิ่งที่เขียนใน post it นั้น ไปติดลงบนต้นไม้แห่งความรู้ การจัดการความรู้: เรียนรู้ความเป็นจริงแห่งชีวิตจากงาน

ใบงานที่ 2: หลังจากฟังประเด็น “การจัดการความรู้: เรียนรู้ความเป็นจริงแห่งชีวิตจากงาน” ขอให้บันทึกในประเด็นดังต่อไปนี้ 1.ความรู้ใหม่ที่ได้รับ 2.ประเด็นที่จะนำไปใช้ในอนาคต Online Technology เพื่อการจัดการความรู้

ใบงานที่ 3: หลังจากฟังประเด็น “ออนไลน์เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้” ขอให้บันทึกในประเด็นดังต่อไปนี้1.ความรู้ใหม่ที่ได้รับ 2.ประเด็นที่จะนำไปใช้ในอนาคต กระบวนการเรียนรู้ : หลักการพื้นฐานของการถอดบทเรียน และเทคนิคการถอดบทเรียน

ใบงานที่ 4: ให้เลือกกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มเห็นว่ามีความสำคัญ เพื่อนำมาใช้เป็นกรณีศึกษาในการถอดบทเรียน โดยควรมีลักษณะดังนี้: (1) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา และเห็นผลลัพธ์จากการดำเนินงานแล้ว และ (2) เป็นกิจกรรมที่สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่รู้จักและเข้าใจกระบวนการทั้งหมด หลังจากนั้นตอบคำถามดังต่อไปนี้

คำถามที่ 1 วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่เกิดขึ้นจริงของกิจกรรมนี้คือ อะไร
(ให้เวลา 30 นาที)

คำถามที่ 2 บอกเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น (เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลที่คาดหวังกับผลที่เกิดขึ้นจริงว่าเกิดจากเงื่อนไขปัจจัยใดบ้าง ทั้งนี้ควรวิเคราะห์เงือนไขปัจจัยให้ครอบคลุมทุกระยะตั้งแต่เริ่ม ระหว่าง และเมื่อสิ้นสุดการทำกิจกรรม พร้อมระบุรายละเอียดที่เป็นทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกโครงการ)(ให้เวลา 60 นาที)

คำถามที่ 3 หากต้องการกิจกรรมนี้ในครั้งต่อไปให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น มีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง (ข้อเสนอแนะควรอยู่บนเงื่อนไขปัจจัยข้อ 2 โดยมีความชัด และเป็นรูปธรรม)
(ให้เวลา 60 นาที) -ออกแบบเนื้อหาคู่มือ การจัดการความรู้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

-