พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้

ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ สสส.วันที่ 20 ธันวาคม 255920 ธันวาคม 2559
20
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย สุไหลหมาน เบ็ญดูสะ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 45 คน ประกอบด้วยภาคีเครือข่าย ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในโครงการ/แผนงาน และเจ้าหน้าที่ สสส. โดยมี ผศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สจรส. มอ. กล่าวความเป็นมาและชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสสส. และเครือข่ายสร้างสริมสุขภาพในพื้นที่ที่ทำงานเกี่ยวกับสร้างเสริมสุขภาพ มาออกแบบและพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน  โดยมีการแบ่งกลุ่มวิพากษ์หลักสูตร 7 หลักสูตร แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1) หลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารโครงการสุขภาวะ
โดยมีดร.เพ็ญ สุขมาก เป็นคนนำวิพากษ์ 2) การสื่อสารเพื่อส่งเสริมสังคมสุขาภาวะและการบริหารจัดการความยั่งยืน โดยมีผศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นคนนำวิพากษ์ 3) การจัดการความรู้ โดยมี รศ.ดร.จีรเนาว์ ทัดศรี และดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา เป็นคนนำวิพากษ์ 4) ผู้นำและการบริหารในงานด้านสุขภาวะและการสร้างและการบริหารเครือข่าย โดยมี ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร และดร.ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา โดยสรุปจาก แนวคิดการทำหลักสูตร 1. หลักสูตรต้องมีความเป็นพลวัตร สามารถปรับเปลี่ยนไปตามคนที่เข้ามาร่วมโครงการได้ 2. หลักสูตรจะดึงศักยภาพ ความสามารถผู้เข้าร่วมแต่ละคนออกมาเพื่อแลกเปลี่ยน 3. การเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพในมิติที่จำเป็น 4. พัฒนาศักยภาพความรู้ความเข้าใจครอบคลุม 5. กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม แบ่งปันความรู้อย่างเป็นธรรมชาติ มีการสอดแทรกเทคนิควิธีการต่างๆ การประเมินหลักสูตร
1. งานที่เครือข่ายทำนำมาพัฒนาเพิ่มให้ดีขึ้น ยกระดับงานปฏิบัติการในพื้นที่องเขา ความสามารถทำงานเชิงนโยบาย พัฒนาเชิงระบบ สร้างนวัตกรรม
2.การขยายต่อในพื้นที่ ได้เอาชุดความรู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันไปใช้ทำให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในพื้นที่ต่อไป 3. เครือข่ายที่เข้ามาต้องเข้าใจระบบสุขภาพ สามารถออกแบบระบบหรือวิธีการทำงานของตัวเองได้ สามารถกำหนดและออกแบบวิธีการนโยบายสาธารณะ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการจัดการเครือข่าย เข้าใจหลักคิดการขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ชุมชนเข้มแข็งได้ สามารถเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง จัดการความรู้และนวัตกรรมได้ การแลกเปลี่ยนหลักสูตร 1. หลักสูตรไม่ควรเป็นการสอนย่างเดียว แต่ต้องเป็นการจูนกัน เป็นหลักที่ผู้จัดอยากเห็น คนเข้าร่วมอยากเห็น ต้องสร้างวิธีการนี้ร่วมกัน
2. หลักสูตรต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวตน กระบวนการคิด ไปสู่การแก้ไข
3. กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ เป็นกระบวนการแผนงาน และเป็นการผลักดันเชิงนโยบาย 4. ความหลากหลายต้องการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาสุขภาวะ 5. คนที่เข้าเรียนต้องเรียนในพื้นที่จริง 6. การสร้างพลังภายในมาสู่ภายนอก 7. ทำยังไงเรียนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย

-