ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง

4 เรียนรู้การบริหารจัดการสวนยางเพื่อการเพิ่มรายได้และการฟื้นฟูแผ่นดินอย่างยั่งยืน16 มกราคม 2562
16
มกราคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย sahajohn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. หัวหน้าโครงการได้ชี้แจงทำความเข้าใจและรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมเรียนรู้การบริหารจัดการสวนยางเพื่อเพิ่มรายได้และการฟื้นฟูแผ่นดินอย่างยั่งยื
  2. กระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการสวนยางเพื่อการพึ่งตนเอง
  3. เชฟจากกรุงเทพมาเยี่ยมชมสวนยางต้นแบบในการทำป่าร่วมยาง พร้อมด้วยสมาชิก
  4. เจ้าของสวนได้แนะนำพันธ์ไม้ชนิดต่างๆ เพื่อนำไปปรุงอาหาร
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้ความรู้ในการบริหารจัดการสวนยาง มีปลูกพืชหลากหลายชนิด และมีการแบ่งพืชระยะสั้น ให้ผลผลิตเร็ว  พืชระยะกลาง พืชระยะยาว  และเหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละแปลง และระบบนิเวศ
2.  สมาชิกได้มีความรู้และสามารถออกแบบที่จะปลูกต้นไม้ในสวนของตัวเอง เพื่อที่ได้เข้าถึงตลาดว่ามีความต้องการพืชชนิดไหนบ้าง
3.  ทำให้สมาชิกทุกคนได้แรงบันดาลใจในการทำป่าร่วมยางกลับไปทำในสวนของตัวเอง ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นจากการทำป่าร่วมยาง
4. ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นในการทำป่าร่วมยาง ทำให้เกิดความสุขในครอบครัว ได้กินอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพอีกด้วย
5. ได้เมนูอาหารใหม่ มีรสชาดอร่อย และมีความปลอดภัยเนื่องจากใช้พืชผักในสวนที่มีการทำแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาเคมีในสวน  ทำร่วมทุกคนมีความสุขที่เชฟจากกรุงเทพได้มาเยี่ยมชมที่สวน เชฟเองยังได้นำพืชผักจากสวนกลับไปปรุงอาหารด้วย ทำเกิดเครือข่ายเชื่อมโยงผลผลิต นำพืชผลในสวนไปใช้ในการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม