ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง

ส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนใต้โคนยางกระจายตามภูมิเวศเมืองลุง5 เมษายน 2562
5
เมษายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย sahajohn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ช่วงเช้า ประธานศูนย์ใหญ่ ได้พาสมาชิกไปทำการเปิดศูนย์ย่อย โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์การเรียนรู้ทับซาไก ที่อำเภอกงหรา โดยมีนายสุทํธิพงศ์ บกเกตุเจ้าของศูนย์ย่อย พร้อมด้วยสมาชิกและประชาขนที่สนใจการเข้าร่วมเป็นคนต้อนรับด้วยความอบอุ่น
  • ประธานได้บอกถึงที่มาที่ไปในการทำป่าร่วมยางพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกและประชาชนที่เข้าร่วมซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ อย่างเป็นกันเอง
  • เจ้าของศูนย์การเรียนรู้ทับซาไก บอกว่า เขาเองได้รับแรงบันดาลใจมาจากประธานศูนย์ใหญ่ของเราเองในการทำป่าร่วมยาง เพราะตัวเองชื่นชอบปลูกต้นไม้อยู่แล้วและในสวนยางของตัวเองก้อได้ปลูกต้นไม้ไว้หลายชนิดแล้วด้วย ยิ่งพอได้มาเห็นสวนยางของประธานศูนย์แล้ว รู้สึกว่าตัวเองเดินมาถูกทางแล้ว เพราะทำให้ตัวเองและครอบครัวมีความสุข ไม่ต้องไปทำงานที่ไกลๆ เหมือนก่อน
  • นอกจากนั้น ก้อได้เชิญหมอหวาน ซึ่งเป็นหมอสมุนไพร ที่มีความรู้ มาเป็นวิทยากร บอกเล่าถึงต้นไม้และสมุนไพรต่าง ๆ ที่เราสมควรจะปลูกไว้ในสวนยาง พร้อมทั้งเปิดรับสมาชิกใหม่ด้วย
  • ช่วงบ่าย ได้พาสมาชิกไปเปิดศูนย์การเรียนรู้อีก 1แห่ง คือ ศูนย์การเรียนโรงเรียนใต้โคนยาง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง โดยมี คุณจิรัฐพล สอนทอง เจ้าของศูนย์ย่อย เป็นคนต้อนรับ
  • ได้นำล้อมวงคุย โดยได้คุยกันอย่างเป็นกันเองพร้อมกับสมาชิกป่าร่วมยางคนใหม่และคนเก่ารวมถึงประชาชนที่สนใจ
  • ได้พาไปดูถึงสวนยางและการปลูกต้นไม้ของเขาเอง เขาจะปลูกเป็นแถว และโรงเรีอนที่เขาไว้เพาะและอนุบาลต้นไม้ก่อนนำไปปลูกในสวนยาง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดโรงเรียนใต้โคนยางจำนวน 3 แห่ง  คือ 1.โรงเรียนใต้โคนยางบ้านขาม  2.โรงเรียนใต้โคนยางทับซาไก  โรงเรียนใต้โคนยาง ตำบลเขาชัยสน  แต่ละโรงเรียนใต้โคนยางมีคณะทำงานในการดูแลและถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ แต่ละโรงเรียนมีวิทยากรชาวบ้านที่มีความรู้ป่ายางอินทรีย์ที่สอดคล้องเหมาะสมกับภูมินิเวศน์ จำนวนศูนย์ละ 3 คน และมีนิทรรศการมีชีวิตเป็นสื่อประกอบการเผยแพร่ความรู้ในการการส่งเสริมป่ายางอินทรีย์ในแต่ละโรงเรียน
  • ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างดีและได้มีการซักถามถึงการปลูกพืชในป่าร่าวมยางว่าจะปลูกอะไรดีที่ทำให้เกิดรายได้ เพิ่มขึึ้น ปรธานศูนย์ใหญ่ได้ชี้แจงว่า จริงๆ แล้ว การทำป่าร่วมยาง เราจะุปลูกได้กินเองก่อน และเราต้องไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพิช เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของเราและคนในครอบครัวเหลือจากที่เรากินจึงคอ่ยขาย ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนมาทำป่ายางอินทรีย์ จำนวน  คน
  • ประธานศูนย์บอกว่าในสวนยางเขาตอนนี้ ขายได้เกือบทุกอย่างเลย เช่นดอกดาหลา คลุ้ม ผักเหรียง ลูกฉิ่ง และอีกหลายชนิด
  • ได้ทราบถึงปัญหาแต่ละพื้นที่ ในการนำต้นไม่้แต่ละชนิดไปปลูก ว่าดินแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ให้ดูความเหมาะสมเอาเองว่าจะปลูกไม้ชนิดไหนดี
  • สวนยางแปลงใหญ่เปลี่ยนแปลงยาก รายย่อยไม่ค่อยมีปัญหา สามรถปรับเปลี่ยนได้ในการทำป่าร่วมยาง
  • หัวใจหลักของการทำป่าร่วมยางคือ อาหารปลอดภัย การพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด