ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง

11. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่่ 624 พฤษภาคม 2562
24
พฤษภาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย sahajohn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประธานกล่าวสวัสดี สมาชิกและคณะทำงานทุกคน แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาทั้งหมด ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 61-เมษายน 62 ว่ามีทั้งหมด 4กิจกรรมใหญ่และ 5กิจกรรมย่อย คือ กิจกรรมที่ 1 -4 และประชุมคณะทำงาน ทั้งหมด 5ครั้ง
  • แจ้งให้รู้ถึงเรื่องที่ไปประชุมพบปะกับกลุ่มทำงานกลุ่มอื่่นของสสส.ทั่งหมดและได้ไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม รวมถึงการทำกิจกรรมว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนกันแล้ว ซึ่งของกลุ่มเราก้อเรียบร้อยดีไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งงานจัดที่โรงเรียนประภัสสรรังสิต
  • แจ้งให้ทราบว่า วันนี้ทางกลุ่มจะแจกต้นผักเหรียงที่ได้ตอนมา แจกให้สมาชิกครัวเรือนละ 10 ต้น ถ้าใครอยากได้มากกว่านี้ ให้ซื้อในนามสมาชิก จะได้ราคาถูก
  • เหรัญญิก ของกลุ่ม แจ้งรายงานทางการเงิน ให้สมาชิกทุกได้รู้ เงินที่เก็บเข้ากลุ่มส่วนมากได้มาจากการขายต้นไม้ ของสมาชิกเอง และต้นไม้ของกลุ่ม
  • ประธานแจ้งว่า วันที่ 30-31 กค.นี้ ทางกลุ่มของเราได้รับเชิญให้ไปร่วมงานและออกบูธ พืชร่วมยาง โดยจะจัดงาน ที่เทศบาลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง โดยจะชวนให้สมาชิกไปร่วมงานด้วย
  • แจ้งให้รู้ว่า กิจกรรมที่เหลือจะจัด พ.ค.-ก.ย. นี้ และมีกิจกรรมอะไรบ้าง และให้สมาชิกได้ร่วมกันออกแบบ
  • วาระติดตาม ประธานถามว่า มีสมาชิกคนไหนจะทำโรงเรือนเพิ่มบ้าง และให้สมาชิกที่จะทำโรงเรือน เคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย แล้วจะให้สมาชิกผ้ชายได้ช่วยกันไปทำให้ โดยเอา อุปกรณ์จากกลุ่ม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะกรรมการได้มีขับเคลื่อนการดำเนินการของกลุ่มเพื่อทำให้เกิดความเข้มแข็งภายในกลุ่ม  ติดตามและหนุนเสริมการดำเนินการของสมาชิก ทำให้สมาชิกตื่นตัวและมีการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์กล้าไม้สำหรับปลูกร่วมในสวนยาง เพื่อเป็นป่ายางอินทรีย์ที่มีความหลากหลายในแปลง มีพืชกินได้ พืชเป็นไม้ใช้สอย ให้ความร่มรื่นเพิ่มพื้นที่ป่าในสวนยาง "ป่ายางวิถีอินทรีย์"
  • มีความรู้ เรื่องของการบริหารจัดการทำธนาคารพันธุ์ไม้  ได้มีการจัดทำร่างข้อตกลงร่วมกันในการออมต้นไม้ และการแบ่งปันต้นไม้ให้กับสมาชิกและคนทั่วไปที่สนใจ และมีข้อตกลงร่วมในการกำหนดราคาพันธุ์กล้าไม้ และแบ่งสัดส่วนเข้ากองทุนและการบริหารจัดการธนาคารต้นไม้ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนากลุ่มต่อไป สมาชิกทุกคนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธ์ุไม้ และเกิดการหวงแหนต้นไม้
  • สมาชิก 35 ครัวเรือนได้รับพันธุ์ผักเหมียงครัวเรือนละ 10 ต้น เพื่อจะนำไปปลูกตามที่ได้วางแผนปลูกในป่ายาง
  • เกิดโรงเรีอนเพาะชำกล้าไม้ของครัวเรือนต้นแบบจำนวน  ครอบครัว  ได้นำความรู้ในการขยายพันธุ์พืชในการแลกเปลี่ยนฝึกอบรมเพาะและขยายพันธุ์พืช  ในแต่ละโรงเรือนได้มีการเพาะชำกล้าไม้ที่ได้วางแผนนำไปปลูกในสวนของตนเองและส่วนเข้าออมกับกลุ่มเพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิกและคนสนใจ
  • ได้มีแผนงานร่วมกันในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกเพิ่มป่ายางษวิถีอินทรีย์ ออกแบบนิทรรศการมีชีวิตใช้ในงาน รวมพลคนรักษ์ลุ่มน้ำเลสาบ จังหวัดพัทลุง