การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน

จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่ 2.3)7 กุมภาพันธ์ 2562
7
กุมภาพันธ์ 2562รายงานจากพื้นที่ โดย solarcell1
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การเตรียมการ 1. ติดต่อประสานงานโดยทำจดหมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนชะรัดชนูปถัมภ์ศูนย์  เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครการ ฯ พร้อมกันนี้ได้ขออนุญาตใช้สถานที่ เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนและคณะครูในความรับผิดชอบของโรงเรียนเป้าหมายจำนวน  30 คน

  1. เตรียมเอกสารแบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วมโครการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด แบบฟอร์มการบันทึกการใช้พลังงานในครัวเรือน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องพลังงาน สื่อวิดีทัศน์ แผ่นป้ายชื่อ โครงการ ฯ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินการ
เป้าหมาย 30 คน       1. วันทำกิจกรรม เวทีทำความเข้าใจ เรื่องสถานะการณืด้านพลังงานในปัจจุบัน           1.1. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบก่อนเรียน           1.2 การอบรมให้ความรู้พร้อมทั้งฉายภาพ วิดีทัศน์ประกอบการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ                   นายจิรัฐพล  สอนทอง เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ
                  - เรื่องพลังานจากแสงอาทิตย์และสอนสาธิตการต่อวงจรไฟฟ้าจากแผ่นโซล่าเซลล์เพื่อนำมาใช้กับแสงสว่าง                   - ชวนคิดชวนคุยเรื่องพลังงานในครัวเรือน                 - เรื่องพลังงานน้ำและพลังงานจากลม               นายชำนาญ สงชู เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                 - เรื่องพลังงานจากชีวมวลและแก๊วชีวภาพ               นางสุภาพร สงชู เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                   - เรื่องสถานะการณ์พลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน

      2. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบหลังเรียน

      3. เฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมซักถามข้อสงสัยในเรื่่องความรู้ที่ได้อบรม

      4. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัตการทดลองการต่อวงจรจากแผ่นโซล่าเซลล์เพื่อนำมาใช้กับแสงสว่าง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม           เพื่อสร้างความตระหนัก ถึงความสำคัญ ด้านพลังงานทางเลือกมากขึ้น ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ พลังงานเตาชีวมวล และพลังงานจากแก๊สชีวภาพ รวมไปถึงพลังงานลมและพลังงานน้ำสามารถแยกคำว่า พลังงานสิ้นเปลืงและพลังงานหมุนเวียนแตกต่างกันอย่างไร และต้องการให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดคิดค้น นวัตกรรมการใช้พลังงานทางเลือกมากยิ่งขึ้น           เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนคิดค้นออกแบบนวัตกรรมวิธีการนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น           เพื่อให้คณะครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับสถานะการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น           มีการจดบันทึกการใช้พลังงานในครัวเรือนเพื่อนำมาประเมินค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้านพลังงานได้

สรุปผลการดำเนินการ         1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยแบบทดสอบจะมีทั้งหมด 12 ข้อ และผู้ผ่านการประเมินจะต้องตอบคำถามหลังการเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 9 ข้อ หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
            ของคะแนน         2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสมัครใจที่จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก             -  เตาชีวมวล จำนวน 3 ครัวเรือน เหตุผลที่ใช้เตาชีวมวลเพราะสนใจนวัตกรรมเตาชีวมวล             -  คระครูที่เข้าอบรมรับความรู้ขยายผลบอกต่อไปยังสถานศึกษา อื่น

หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เกินเป้าหมายไว้ 35 คน