การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน

จัดทำแผนการจัดการพลังงานชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน(กิจกรรมที่ 6 )24 กันยายน 2562
24
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย solarcell1
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนการทำกิจกรรม   - คณะทำงานเตรียมเครื่องมือเป็นแบบสอบถามและการกรอกข้อมูลการใชัพลังงานในครัวเรือนในการสำรวจข้อมูลการใช้พลังงานในชุมชนเป้าหมาย   - คณะทำงานโครงการ ฯ รวบรวมผลการสำรวจเก็บข้อมูลในครัวเรือนเป้าหมาย   - คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์การใช้พลังงานของครัวเรือนเป้าหมาย   - คณะทำงานสรุปผลการเก็บข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการทำโครงการ ฯ   - คณะทำงานโครงการ ฯ กำหนดวันประชุมชี้แจงการนำส่งข้อมูลที่ได้สำรวจคืนสู่ชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินการ   - การลงพื้นที่เก็บข้อมูลประจำเดือนทุกเดือนที่ได้กำหนดไว้ตามแผนงานเบื้องต้น   - การเก็บข้อมูลด้านพลังานแต่ละครั้งจะทำการสรุปรายจ่ายด้านพลังงานให้กับครัวเรือนนั้น ๆ ได้รับทราบและแนะนำการประหยัดการใช้พลังงานหรือแนะนำให้ใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น   - ได้รับทราบปัญหาในการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน เช่น  การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่ยังไม่ชำรุดเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย การ ลงทุนในด้านพลังงานแสงแดดจะมีการลงทุนที่สูง   - ผู้นำในชุมชนยังไม่เห็นความสำคัญในการรณรงค์ให้หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเท่าที่ควร   - ผลการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนเป้าหมาย สรุปรวมทุกครัวเรือน ระยะเวลา 10 เดือน ตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ ฯ กำหนด  แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้       1.การใช้น้ำมันดีเซล ปริมาณการใช้ 4312 ลิตร คิดเป็นเงิน 116,260 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหกพันสองร้อยหกสิบบาทถ้วน)       2.การใช้น้ำมันเบนซิลหรือแก๊ซโซฮอร์ ปริมาณการใช้ 2,901 ลิตร คิดเป็นเงิน 79,345 บาท (เจ็ดหมื่นเก้าพันสามร้อยสี่สิบห้าบาทถ้วน)       3.การใช้ไฟฟ้า ปริมาณการใช้ 10,365 หน่วย คิดเป็นเงิน 46,371 บาท (สี่หมื่นหกพันสามร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาทถ้วน)       4.การใช้แก๊สหุงต้มหรือแอลพีจี ปริมาณการใช้ 807 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 20,164 บาท (สองหมื่นหนึ่งร้อยหกสิบสี่บาทถ้วน)       5.การใช้น้ำ ปริมาณการใช้ 1,598 หน่วย คิดเป็นเงิน 8,387 บาท (แปดพันสามร้อยแปดสิบเจ็ดบาทถ้วน)       6.การใช้ถ่าน ปริมาณการใช้ 740 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 6,012 บาท (หกพันสิบสองบาทถ้วน)       7.การใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถสาธารณะ คิดเป็นเงินรวม 5,828 บาท (ห้าพันแปดร้อยยี่สิบแปดบาทถ้วน)       8.การใช้ฟืน ปริมาณการใช้ 5,077 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 0 บาท (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ผลจากการให้ความรู้ด้านการพลังงานทดแทน(การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์) จากการอบรมให้ความรู้ โดยแหล่งเรียนรู้ชุมชน (โรงเรียนฅนกินแดดพัทลุง) ทำให้มีผู้ใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจำนวน11 ครัวเรือน และแต่ละครัวเรือนมีแผ่นโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองได้ดังนี้

    1.นายจิรัฐพล สอนทองทอง (โรงเรียนฅนกินแดดพัทลุง) จำนวน 1220 วัตต์     2.นายสหจร ชุมคช (แห่งเรียนรู้ในเครือข่ายโครงการ ฯ ) จำนวน 240 วัตต์     3.นายเลิศชาย จันทร์มูล                                        จำนวน 900 วัตต์     4.นายภาคิน เพชรสง                                            จำนวน 4000 วัตต์     5.นายประเสริฐ จันวนา                                          จำนวน 120 วัตต์     6.นายสมบัติ เพ็งมี                                                จำนวน 660 วัตต์     7.นายสันทัด เกลาฉีด                                            จำนวน 600 วัตต์ฺ     8.นายจิญาภร หุ้นเอียด                                          จำนวน 150 วัตต์     9.นายเสน่ห์ จุลฉีด                                                จำนวน 120 วัตต์     10.นายธนิต สมพงค์                                              จำนวน 600 วัตต์     11.นางจุฑารัตน์ เมฆเรือง                                        จำนวน 330 วัตต์

    ถ้าหากคิดเป็นกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตามขนาดของแผ่นโซล่าเซลล์ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเอาค่าเฉลี่ยที่เป็นมาตรฐาน โดยคิด 5 ชั่วโมงต่อวันแล้ว จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 44.7 กิโลวัตต์ต่อวัน หรือ 1.34 เมกกะวัตต์ต่อเดือน

สรุปผลผลการคืนข้อมูลให้แก่ชุมชนเป้าหมายเพื่อทำแผนการใช้พลังงานในอนาคต
  1.การปรับเปลี่ยนให้คนในชุมชนหันมาใช้พลังงานด้านชีวมวลให้มากขึ้นนั้นต้องมีนวัตกรรมการเปลี่ยนชีวมวลจากไม้มาเป็นถ่านโดยต้องมีเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงและการใช้งานต้องง่ายและประหยัดเวลา   2.จะต้องประชาสัมพันธ์ ซ้ำ ๆ หรือควรให้มีเสียงตามสายในการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน   3.มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอในด้านพลังงานและมีแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลย๊่ในชุมชนเป้าหมาย   4.ควรส่งเสริมให้กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หันมาสนใจผลกระทบจากการใช้พลังงานต่อสิ่งแวดล้อม เพราะกลุ่มเหล่านี้จะมีอิทธืพลต่อสังคมโดยรวมทั้งที่บ้านและสถานศึกษา   5.การสร้างครัวเรือนต้นแบบเป็นสิ่งจำเป็นต่อชุมชน ควรส่งเสริมและนำมาต่อยอดให้บุคคอื่นได้ปฎิบัติตามและเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ

แผนการจัดการพลังงานในอนาคต 1. ระดับนโยบาบเพื่อเสนอต่อภาครัฐ       - เสนอให้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาลม์น้ำมันรายย่อย รวมตัวกันเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากผลปาลม์เพื่อใช้แทนน้ำมันดีเซล       - ขอให้ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานให้คลอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านพลังงานทดแทนและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชนได้ 2. ระดับภาคีความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กรในพื้นที่       - ศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน       - ให้ผู้นำชุมชนประสานงานกับองค์กรภาครัฐเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้   3. ระดับชุมชนพึ่งพาตนเอง       - จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้สร้างร่มเงา       - ปรับเปลี่ยนอุปกรณืไฟฟ้าที่ชำรุดมาเป็นอุปกรรณืประหยัดพลังงาน       - เปลี่ยนฟืนมาเป็นถ่านแทนแก๊สแอลพีจี       - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานให้คุ้มค่า       - สร้างคนต้นแบบด้านพลังงาน       - จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ในการประหยัดพลังงานในทุกกิจกรรมของชุมชน