โครงการกระบวนการจัดการป่าเสื่อมโทรมบ้านควนเลียบแบบมีส่วนร่วม

อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลทรัพยากรของชุมชนและศึกษาประวัติศาสตร์ควนเลียบย้อน 50 ปี พร้อมแต่งตั้งคณะทำงานจากหลายภาคส่วนร่วมทำงาน29 สิงหาคม 2563
29
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย CHALERNSAK.SAK
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลทรัพยากรของชุมชน โดยปราชญ์ชุมชนถึงความสมบรูณ์ของป่าควนเลียบในอดีตที่ผ่านมาเพื่อความรู้และความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่าย

วิธีการคือ

  10.30 น นายเจริญศักดิ์ ชูสงประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วงผู้รับผิดชอบโครงการกล่วารายงานกิจกรรมตามแผนโครงการความร่วมมือจัดการป่าเสื่อมโทรมควนเลียบอย่างมีส่วนร่วม เพื่อการสร้างความรู้ให้กับผู้ที่มีส่วนร่วมทั้งด้านประวัติศาสตร์ของควนเลียบย้อนไปถึงตอนที่ป่าอุดมสมบรูณ์และมาถึงปัจจุบันและได้เชิญภาคีเครือข่ายร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

    นางอัตติยา แหละเขียวจากอำเภอเขาชัยสนรับมอบหมายจากนายกองตรีอาญาสิทธิ์  ศรีสุวรรณนายอำเภอเขาชัยสนเป็นตัวแทนร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ได้กล่าวเปิดกิจกรรมโครงการความร่วมมือจัดการป่าเสื่อมโทรมควนเลียบอย่างมีส่วนร่วม และมีความยินดีกับโครงการดังกล่าวที่ให้ความสำคัญด้านการดูแลพื้นที่ต้นน้ำและเป็นพื้นที่เดียวของตำบลโคกม่วงที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ร่วมกัน

    นายณัฐพงศ์ คงสงได้รับการมอบหมายให้เป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมในครังนี้ มีผู้เข้าร่วมจาก ทสจและทสม ของตำบลโคกม่วงเพื่อโครงการความร่วมมือจัดการป่าเสื่อมโทรมควนเลียบอย่างมีส่วนร่วม ที่มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมและให้ความสำคัญกับกิจกรรมในครัั้งนี้ ได้เชิญนายเผียน พรหมบุญแก้วเป็นปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ ให้ความรู้เรื่องการดูแลทรัพยากรของชุมชน
    โดยปราชญ์ชุมชนถึงความสมบรูณ์ของป่าควนเลียบในอดีตที่ผ่านมาเพื่อความรู้และความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่าย ป่าควนเลียบมีต้นไม้หลากหลายพันธุ์หลายชนิด จากที่ได้ร่วมกันกับทีมของนักศึกษา ม ทักษิณ จ สงขลา พร้อมกับทีมเทศบาลตำบลโคกม่วงมีต้นไม้ที่หายไปหลายชนิด พื้นที่ป่าควนเลียบเป็นพื้นที่ป่าทีอุดมสมบรูณ์ มีไม้หลุมพอ แก่นหินและไม้ที่เข้ายาอีกหลายๆชนิดที่หายไปร่วมทั้งสัตว์ป่าหลายๆชนิกก็หายตามไป จากการร่วมสำรวจมีต้นไม้ประมาณ100 กว่าชนิด ที่หายไป ประมาณ 200-300 ชนิดทำให้ขาดความอุดมสมบรูณ์ของพื้นที่ป่าไปแต่ได้เป็นพื้นที่ของการทำมาหากินทดแทน ที่ได้มาจากการบุครุกพื้นที่ป่ากันมาโดยตลอด
    จากนั้นนายวีรศักดิ์ เส้งสุ้น ได้เสริมว่าเมื่อ ปี 2550 ได้มีการบุคเบิกถนนเส้นทางร่วมกับทางเทศบาลตำบลโคกม่วงเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร และเมื่อตอนหลัง คสช ได้ยืดพื้นที่กลับไปที่ดินทุกสวนทุกแปลงไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นเนื้อที่ประมาณ 270 กว่าไร่ ยืดกลับไปเป็นพื้นที่ป่าชุมชนเป็นพื้นที่ต่อแดนหมู่ 11 ด้วยและอีกด้านก็ติดกงหรา     นายสุนทร คงอินทร์ได้เสนอว่าพื้นที่ หมู่ที่ 3 มีพื้นที่ๆจะปลูกป่าสร้างความสมบรูณ์คืนสูธรรมชาติด้วย
    นางอัตติยา แหละเขียวได้เสนอการการปลูกป่าชายคลองในพื้นที่ ทางพัฒนาที่ดินขอให้ทางหมู่บ้านที่ต้องการเขียนโครงการเสนอของบประมาณเพิ่มเติมได้ถ้าหมู่บ้านใหนสนใจสามารถฝากผ่านปลัดอาวุโสได้ยินดีสนับสนุนและต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง     ภาคีเครือข่ายจาก ทสจ สร้างคณะทำงานในภาคของพื้นที่เพิ่มขึ้นเพื่อการมีส่วนร่วม โดยมี ทสจ ตัวแทนจากอำเภอเขาชัยสน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เกิดคณะทำงานที่มีส่วนร่วม ทสม ในพื้นที่ จำนวน 15 ราย ที่สมัครเป็น ทสม ของตำบลโคกม่วงและมีตัวแทนจากหมู่บ้านต่างๆที่ได้สมัครเพิ่มเพื่อการทำงานร่วมในทีมของการดูและทรัพยาการสิ่งแวดล้อม และทาง ทสจ ได้แจ้งว่าส่งพื้นที่ตำบลโคกม่วงเข้าร่วมประกวดการทำงานดีเด่นในระดับประเทศด้วย เพราะเป็นพื้นที่ๆได้รับความร่วมมือและทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีมาโดยตลอดเป็น บทบาทการทำงานที่มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งด้านความร่วมมือด้านความรู้และการหนุนเสริมกระบวนการๆทำงานที่มีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอก จากนั้นมีการกำหนดแผนการดำเนินโครงการร่วมกันเกิดแผนการทำงานร่วมกันในการสร้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ระหว่างคณะทำงานและเจ้าของพื้นที่

  • สร้างคณะทำงานในภาคของพื้นที่เพิ่มขึ้นเพื่อการมีส่วนร่วม โดยมี ทสจ ตัวแทนจากอำเภอเขาชัยสน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เกิดคณะทำงานที่มีส่วนร่วม ทสม ในพื้นที่

  • การทำงานที่มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งด้านความร่วมมือด้านความรู้และการหนุนเสริมกระบวนการๆทำงานที่มีส่วนร่วม

  • กำหนดแผนการดำเนินโครงการร่วมกันเกิดการงาวแผนการทำงานร่วมกันในการสร้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ระหว่างคณะทำงานและเจ้าของพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output) ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนผู้เข้าร่วมอบรมเรียนรู้เรื่องการดูแลทรัพยากรของชุมชน จำนวน  85  คน

ผลลัพธ์ (Outcome)ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  • เกิดคณะทำงานในภาคของพื้นที่เพิ่มขึ้นเพื่อการมีส่วนร่วม โดยมี ทสจ ตัวแทนจากอำเภอเขาชัยสน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เกิดคณะทำงานที่มีส่วนร่วม ทสม ในพื้นที่

  • เกิดการทำงานที่มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งด้านความร่วมมือด้านความรู้และการหนุนเสริมกระบวนการๆทำงานที่มีส่วนร่วม

  • เกิดข้อกำหนดแผนงานการดำเนินโครงการร่วมกันในการสร้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ระหว่างคณะทำงานและเจ้าของพื้นที่