โครงการกระบวนการจัดการป่าเสื่อมโทรมบ้านควนเลียบแบบมีส่วนร่วม

กิจกรรมปลูกป่าและทำฝายครั้งที่ 120 มกราคม 2564
20
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย CHALERNSAK.SAK
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-คณะทำงานลงทะเบียนกิจกรรมพร้องเพรียงกัน ณ.จัดทำฝายหมู่ที่ 13 เวลา09.00 น -จากที่กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ศึกษาดูงานจากพื้นที่หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว ได้ลงพื้นที่เพื่อการทำฝายชะลอน้ำตามแผนกิจกรรมกระบวนการจัดการป่าเสื่อมโทรมบ้านควนเลียบแบบมีส่วนร่วม โดยทีมวิทยากรจากหมู่ที่ 11 ได้ให้ความรู้และแบ่งกลุ่ม 1.กลุ่มที่เอาทรายบรรจุในกระสอบ 2.กลุ่มที่ขนลากกระสอบทราย 3.กลุ่มที่อยู่หน้าฝายทำฝาย 4.เก็บภาพกิจกรรม -กิจกรรมทำฝายและปลูกป่า มีการปรับแผนการดำเนินกิจกรรมจากเดิมมีการทำฝายและปลูกป่า เปลี่ยนเป็นการทำฝ่าย ทั้ง 2 ตัว แล้วค่อยปลูกป่าทีหลัง เนื่องจากผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานเห็นว่า เป็นช่วงหน้าฝนแกรงว่า น้ำจะกระชากทรายที่เตรียมไว้ไปกับสายฝนและเพื่อการกักเก็บน้ำที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าฝนให้อยู่ในพื้นที่ได้มากที่สุด เลยเปลี่ยนการปลูกป่าไว้เป็นกิจกรรมครั้งถัดไปทั้ง 2 จุด ที่ได้มีการทำฝายไว้แล้ว และได้เตรียมกล้าไม้ไว้จำนวน 300 ต้น ในการปลูกป่า บริเวณป่าควนเลียบ -นายเจริญศักดิ์ ชูสงผู้รับผิดชอบโครงการกระบวนการจัดการป่าเสื่อมโทรมบ้านควนเลียบแบบมีส่วนร่วมได้กล่าวขอบคุณผุ้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีการลงพื้นที่ทำฝายชะลอน้ำตาทแผนกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้เป็น กระบวนการจัดการป่าเสื่อมโทรมบ้านควนเลียบแบบมีส่วนร่วม พื้นที่หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งเคียน -คณะทำงานจำนวน 85 คน เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำฝายชะลอน้ำเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่ดี -คณะทำงานได้จัดทำฝายชะลอน้ำ ชะลอน้ำ 2ตัว ตามที่ได้มีการเสนอปรับแผนกิจกรรม เกิดฝายที่สามารถชะลอน้ำได้ ทั้ง 2 ตัว และมีปริมาณน้ำคึง -เกิดกระบวนการจัดการป่าเสื่อมโทรมบ้านควนเลียบแบบมีส่วนร่วม จากการแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เกิดการปรับแผนจากเดิมเป็นการทำฝายและปลูกป่ามาเป็นทำฝายพร้อมกัน 2 ตัวแล้วต่อยลงติดตามผลการทำฝายพร้อมกับการปลูกป่า การทำฝายทั้ง 2 ตัวสำเร็จเสร็จเป็นที่เรียบร้อยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี