โครงการกระบวนการจัดการป่าเสื่อมโทรมบ้านควนเลียบแบบมีส่วนร่วม

คณะทำงานเก็บข้อมูลป่าควนเลียบ26 เมษายน 2564
26
เมษายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย CHALERNSAK.SAK
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ทีมจัดเก็บข้อมูลป่าควนเลียบพร้อมกัน ณ.จุดรวมพลควนเลียบ -แบ่งบทบาทหน้าที่ให้ทีมจัดเก็บข้อมูล/ผู้นำทางปราช์ญชุมชนนำทาง/เกษตรตำบลออกรหัสและจับGPS/ทสมบันทึกข้อมูล/ทีมป่าปกปักบัมทึกข้อมูล/ป่าชุมชนบันทึกข้อมูล/เจ้าของพื้นที่นำทาง/นักศึกษาผูกป้ายประจำต้นไม้แต่ละต้น แบ่ง 2 ทีมๆละ 15 คน -กำหนดเวลาการจัดเก็บข้อมูลป่าควนเลียบตั้งแต่เวลา 09.00 -16.00 น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมจัดเก็บข้อมูลป่าควนเลียบพร้อมกัน ณ.จุดรวมพลควนเลียบ ตามแผน 30 คน -ได้แบ่งออกเป็น 2 ทีมๆละ 15 คน แต่เนี่องด้วยสถานการณ์โรคโควิด 19 ในช่วงขณะนี้ จึงใช้ทีมแค่ทีมเดียวเพราะอีกทีมเป็นกลุ่มเครือข่ายที่อยู่นิกตำบลจึงขอใช้เฉพาะทีมภายในตำบลโคกม่วง 1 ทีม 15 คน -โดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้ทีมจัดเก็บข้อมูล/ผู้นำทางปราช์ญชุมชนนำทาง/เกษตรตำบลออกรหัสและจับGPS/ทสมบันทึกข้อมูล/ทีมป่าปกปักบัมทึกข้อมูล/ป่าชุมชนบันทึกข้อมูล/เจ้าของพื้นที่นำทาง/นักศึกษาผูกป้ายประจำต้นไม้แต่ละต้น -จากการเก็บข้อมูลที่ผ่านมาพบพันธ์ไม้ 57 ชนิด 73 ต้นการสำรวจ ของ ปี 2561และ 2562 ทีมสำรวจได้เพิ่มเติมในพื้นป่าปกปัก พบต้นไม้เพิ่มขึ้น 32 ชนิด จำนวน 1,248 ต้น ต้นไม้ที่เคยสำรวจแล้วพบเพิ่มจำนวน 768 ต้น ยังพบต้นไม้มากกว่า 100 ชนิดที่ปราช์ญชุมชนไม่รู้จัก อายุของต้นไม้ที่สำรวจ อยู่ที่ 3-15 ปีในพื้นที่ป่าปกปัก 17-2-13 ไร่ พบพื้ที่ป่าชุมชนมีป่าที่สมบูรณ์ จำนวน 15 ไร่ ไม่สำรวจต้นไม้ที่ปลูกใหม่ พบเห็ดหลายชนิดที่งอกในพื้นที่ รวมถึงสัตว์หลายชนิด และยังพบว่ามีชาวบ้าน 4 รายที่ยังการทำการโค้นไม้ยางเพื่อปลูกใหม่ ทั้งๆที่ทางการห้ามโค้นประมาณ 50 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 1,400 ไร่ จากการเก็บข้อมูล 1ตารางเมตร มีต้นไม้จำนวน 9 ต้นที่ผสมกันหลายชนิด ในพื้นที่ ป่าปกปัก 17-2-13 ไร่ วันที่ 21/05/2564 ทีมคณะทำงานด้านการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนพื้นที่ๆยังไม่ได้สำรวจ และได้มีการสำรวจเรื่องพืชสมุนไพรที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง