ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน

กิจกรรมที่ 3 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 115 ตุลาคม 2563
15
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย sahajohn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประธานกล่าวสวัสดีและต้อนรับสมาชิก คณะทำงานและภาคเครือข่ายทุกคน ชึ้แจงรายละเอียดกิจกรรม
  • ประธานได้สรุปทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงานในปีที่ 1 ซึ่งเป็นข้อมูลก่อนเริ่มโครงการในปีที่ 2 นำข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 ระยะที่ 1 มีความก้าวหน้าเกิดผลลัพธ์ตามที่เป้าหมายหรือไม่จากกระบวนการดำเนินงานโครงการป่าร่วมยางยั่งยืน  และได้ให้สมาชิกและภาคีที่เข้าร่วมได้ร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียน  ปัญหาอุปสรรค์
    แจ้งถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 3เดือนแรก แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน รวมถึงปัญหาที่ได้พบ
  • ทีมพี่เลี้ยงจากหน่วยจัดการ Nod Flagies จังหวัดพัทลุง ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นและตั้งคำถามในการช่วนคิดวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน  กระบวนการสำคัญ ประเมินอยู่บันไดผลลัพธ์ใหน และปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำอย่างไรได้ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ได้นั่งพูดคุย สอบถามกับภาคีเครือข่ายถึงการทำป่าร่วมยางของแต่พื้นที่ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการป่าร่วมยางและยกระดับโมเดลไปสู่การขยายผลต่อไปโดยมีหน่วยงานเช่น สกย.พัทลุง สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง ขับเคลื่อนขยายพื้นที่ป่าร่วมยางเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างความมั่นคงทางอาหาร ชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกและภาคีเครือข่ายได้พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการทำป่าร่วมยางร่่วมกัน ทำให้เกิดความรักความผูกพันธ์และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีความตั้งใจร่วม่กันสร้างป่าสวนยางของแต่ละคนให้เป็นแบบอย่างและนำไปสู่การขยายผล ช่วยกันหาเพื่อนที่ปรับเปลี่ยนมาทำพืชร่วมยางเพื่อให้มีความมั่นคง ยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวลดล้อม ชุมชนสัมคมมีความสุข อยู่ดี กินดี
-ทราบถึงผลการดำเนินงานที่ฝานมา ว่าได้ทำและขยับไปในทิศทางไหน ประเมินตัวเองกับการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนด แม้นจะต้องมีการปรับรูปแบบการดำเนินงานเนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิด คณะทำงานได้ใช้มาตรการในการป้องกันและดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่และกระจายโควิด 19 อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และได้้รับความร่วมมือของสมาชิก ทำให้การดำเนินงานสามารถดำเนินงานไปได้ทุกส่วนต่างช่วยกันดูแล
-  มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ คณะทำงาน 20 คน มีแกนหลักในการขับเคลื่อนงานจำนวน 10 คน กระจายอยู่ในพื้นที่ อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอเขาชัยสน อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด ที่ร่วมแรงรวมใจช่วยกันขับเคลื่อนงานตามความถนัด กรณีมีบางคนได้รับหน้าที่ไม่ถนัดมีการทบทวนและปรับปรุง พร้อมทั้งมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้นจำนวน 5 คนในการทำงานมีแนวคิดและมีความตั้งใจร่วมเป็นคณะทำงาน ทักษะความรู้ที่ยังขาดความชำนาญก็มีการเพิ่มเติมจากคณะทำงานที่มีทักษะความชำนาญ หรือจากหน่วยจัดการในการบริหารจัดการทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเองมากขึ้น และสามารถทำหน้าที่แทนกันได้
- คณะทำงานสามารถ วิเคราะห์ปัญหาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ได้มีการการปรับปรุงแผนงานเพื่อแก้ปัญหาและช่องว่างที่เกิดขึ้นได้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์
- สมาชิกป่าร่วมยางที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของป่าร่วมยาง มีการกำหนดแผนแปลงที่ปลูกพืชร่วมได้อย่างเหมาะสม ตามแนวคิดปลูกป่า 3 ป่าได้ประโยชน์ 4 อย่าง พืชอาหาร ไม้ใช้สอย สมุนไพร มีความรู้ธรรมชาติของต้นไม้กำหนดพืชร่วมยางได้ และมีความรู้ในการเพาะขยายพันธุ์พืช ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์จากพืชในการเพิ่มอาหารปลอดภัย และส่วนเกิดเพิ่ม่มูลค่าสร้างรายได้ในครัวเรือน ลดรายจากการการปลูกเน้นการพึ่งตนเองใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น รวมกันทำปุ๋ยหมัก เรียนรู้การจัดการกระจายผลผลิตเพิ่มคุณค่าสร้างมูลค่าจากพืชร่วมยาง เช่น เมนูอาหารพื้นบ้าน  จักรสาน (วิชาไม่พาตาย)
-  มีสมาชิกป่าร่วมยางเพิ่มขึ้น 23 คน จำนวน 211 ไร่ ไน6 อำเภอ ได้แก่ ศรีบรรพต กงหรา ป่าบอน เขาชัยสน ศรีนครินทร์และเมือง
-  เกิดโรงเรียนใต้โคนยางเพิ่ม อีก 4 แห่ง