ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน

กิจกรรมที่ 4 เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายคนป่ายาง18 พฤศจิกายน 2563
18
พฤศจิกายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย sahajohn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแจกเมล็ดดาหลาให้กับผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมทุกคน เพื่อได้นำไปเป็นการขยายพันธ์ุต่อไป
  • จัดนิทรรศการโมเดลป่าร่วมยางยั่งยืน แลกเปลี่ยนให้ความรู้ป่าร่วมยางยั่งยืน การออกแบบป่าร่วมยาง
  • ให้ความรูู้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชป่าร่วมยาง
  • แนะนำต้นไม้ที่จะนำไปปลูกในป่าร่วมยางให้ก้บผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ที่สนใจได้รู้จัก
  • สาธิตการทำอาหาร ผลผลิต จากป่าร่วมยาง
  • แนะนำงานจักสาน ที่ทำจากต้นคลุ้มที่ปลูกในป่าร่วมยาง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน มีความตั้งใจปลูกพืชเพิ่มในสวนยางและได้นำเมล็ดพันธุ์และกล้าไม้ ที่ได้แจกไป นำกลับไปปลูกในสวนยางเพิ่มมีต้นไม้หลากหลายขึ้น
    ุ- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ความรู้ จากการแนะนำ วิธีการปลูก การเพาะและชำต้นไม้ที่จะปลูกในป่าร่วมยางได้ หรือในพื้นที่ของตัวเองได้บ้าง
    -ได้เมนูอาหาร 10 ชนิด เช่น แกงเลี้ยงผักสมรม ข้าวยำจากผักพื้นบ้าน 10 ชนิด น้ำพริกใบทำมังคู่กับผักพื้นบ้าน ที่มีการนำพืชผักจากป่าร่วมยาง หรือพืชผักข้างบ้านมาทำเป็นอาหาร ทำให้คนที่เข้าร่วมได้ตื่นตัว รู้วิธีการนำพืชผักพื้นบ้านมาปรุงเป็นอาหารสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ตระหนักความสำคัญคุณค่าของพืชพื้นบ้านบ้างชนิดหลากคนไม่รู้วิธีการนำมาประกอบอาหารซึ่งเป็นอาหารปลอดภัย ปราศจากสารเคมี ทำให้มีสุขภาพที่ดี
  • คนตระหนักความสำคัญของพืชผักพื้นบ้าน ได้มีสัญญาใจร่วมกันในการปลูกผักพื้นบ้านและกินผักพื้นบ้านที่ปลูกในสวนยางที่ปรับเข้าสู่ป่าร่วมยางยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมีในแปลง ปรับเปลี่ยนมาประกอบอาหารที่ใส่ใจสุขภาพเพื่อป้องกันและลดโรค
  • ได้มีความรู้การนำพืชจากป่าร่วมยางมาทำงานจักสานทีทำมาจากต้นคลุ้ม รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำลังจะสููญหายไป ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น ตะกล้า หมอน เสื่อ แต่ละครอบครัวนำมาใช้ในชีวิตได้ และยังทำให้เกิดรายได้เสริมให้กับคนที่สาน และคนที่ปลูกต้นคลุ้มในป่าร่วมยางด้วย
  • มีความร่วมมือกับภาคีที่เข้าร่วมเช่น สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง  มหาวิทยาลัยทักษิณ  ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชร่วมในสวนยางที่ยกระดับไปสู่ป่าร่วมยางยั่งยืนต่อไป