ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 525 กุมภาพันธ์ 2564
25
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sahajohn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ประธานกล่าวสวัสดีทุกคนรวมทั้งคณะทำงาน -ประธานได้สอบถามว่าในสวนยาง ที่ทำอยู่ตอนนี้ปลูกอะไรไว้บ้าง สมาชิกส่วนใหญ่ก็มี สะเดาเทียม หมาก ไคร้ ขมิ้น ฯลฯ -นายสมยศ เพชรา เจ้าของโรงเรียนใต้โคนยางบ้านบุปผา ได้พูดถึงเรื่องที่จะโค่นยาง ถ้าโคนยางเราจะปลูกอะไรดี สมาชิกทุกคนตอบก้อปลูกตามความถนัด -นส.นิภาพร เรืองเทพ เจ้าของโรงเรียนใต้โคนยาง สวนเติมฝัน บอกว่า ที่บ้านมีสวนยางประมาณ 3ไร่ แต่มียางแค่  70 ต้นที่เหลือลงเป็นผัก พริก สละอินโด มะนาว พริกสด พริกหยวก ผักสลัด รายได้ต่อเดือนเป็นที่น่าพอใจ เพราะมีรายได้ทุกวัน
-เรื่องตลาด เราควรทำสื่อเพื่อการตลาดและเป็นอัตลักษณ์ -นส.จุุฑาทิป สอบถามว่า วัตถุดิบที่ทางกลุ่มเอามาทำเครื่องแกงมี เพียงพอหรือไม่ ประธานตอบว่า พวก ตะโคร้ ขมิ้น เรามีพอแต่ตัวอื่นเรายังต้องพึ่งจากที่อื่น -พี่สมยศ ได้ถามถึงราคาพริกไทย ราคาตลาด 110 บาท แต่ขายทางกลุ่ม กลุ่มจะรับซื้อไว้ในราคาที่สูงกว่าตลาด -ปัญหาในการปลูกต้นไม้ คือ เวลา น้ำ -การทำสื่อให้แต่ละโรงเรียน ควรให้มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ของสมาชิกแต่ละคน เกี่ยวกับเรื่องพันธุ์ไม้
-เชื่อมโยงเครือข่าย ช่วยเหลือแปรรูป ผลผลิต เพื่อจำหน่าย -โรงเรียนใต้โคนยางมีความหลากหลาย เช่น แพทย์แผนไทย ผ้ามัดย้อม ปุ่ยหมัก-ปุ่ยคอก ผักสวนครัว -ได้กำหนดวันแลกเปลี่ยน โรงเรียนใต้โคนยาง ที่เหลือ -ได้กำหนดแผนงานที่เหลือของกิจกรรม -จัดทำสื่อเพื่อเป็นอัตลักษณ์ ของแต่ละโรงเรียน