ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน

เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาARE ร่วมหน่วยจัดการฯ12 กันยายน 2564
12
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sahajohn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พี่เลี้ยงโครงการชี้แจงที่มาของกิจกรรมปรับรูปแบบในการติดตามประเมินผลรวมของหน่วยจัดการจังหวัดพัทลุงสอดคล้องกับสถานการณ์โควิด
  • หัวหน้าโครงการได้นำเสนอผลลัพธ์และตัวชี้วัดที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการฯ จัดนิทรรศการนำเสนอผลลัพธ์ โมเดลป่าร่วมยางยั่งยืน จากการได้มีการจัดเวทีติดตามประเมินผลในระดับพื้นที่  ปัญหาอุปสรรค พร้อมแนวทางในการแก้ปัญหา
  • คณะทำงานเป็นตัวแทนโรงเรียนใต้โคนยางทั้ง 7 พื้นที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียน รูปแบบป่าร่วมยางยั่งยืน ของแต่ละโรงเรียนกระจายอยู่ในอำเภอศรีนครินทร์ 3 โรงเรียน  อำเภอเขาชัยสน 1 โรงเรียน อำเภอกงหรา 1 โรงเรียน อำเภอศรีบรรพต 1 โรงเรียน  แนวทางที่ร่วมกันเดินต่อไปสานเครือข่าย -  ทีมหน่วยจัดการฯจังหวัดพัทลุง ชวนแลกเปลี่ยนตั้งคำถามได้ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดชัดเจน และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงาน มีความตั้งใจและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็นอย่างพร้อมเพรียง
  2. ชาวสวนยางจำนวน 35 ครอบครัวได้ปรับเปลี่ยนจากสวนยางเชิงเดี่ยวเป็นป่าร่วมยางยั่งยืน เป็นพื้นที่เพิ่มขึ้นจำนวน 338 ไร่
  3. ชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดการพืชร่วมยางในแปลงให้มีคุณค่าเพิ่มมูลค่าครัวเรือนละ 1,200 บาท ได้มาจาก พืชผัก พันธุ์พืชพันธุ์ไม้ แปรรูปจักรสาน เครื่องแกง ฯลฯ
  4. เกิดโมเดลป่ายางสร้างสุข มีกระบวนการ 1.กลไกขับเคลื่อน กลุ่ม /กติกา 2.สร้างความรู้ความเข้าใจป่าร่วมยาง วงแลกเปลี่ยน 3ออกแบบการปลูกพืชร่วมฯ/แปลงปลูก
      4. รวบรวมและเชื่อมโยงกลไกตลาด มีระบบตลาด ออนไลน์ ค้าปลีก ค้าส่ง ได้อาหารปลอดภัย มีรายได้ ได้ความรู้
  5. ได้มีแนวทางการดำเนินงานในการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนใต้โคนยาง และพัฒนาเรื่องการแปรรูปพืชป่าร่วมยาง อาหาร ยาสมุนไพร