ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง

กิจกรรมที่ 2. การเรียนรู้การการทำปุ๋ย การเตรียมดิน การใช้สารชีวะภัณฑ์17 ตุลาคม 2563
17
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย krajang
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การเรียนรู้การทำปุ๋ย การจัดเตรียดิน การทำสารทดแทน การใช้สารชีวภัณฑ์ มีผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ จำนวน 40 คน ครัวเรือนบ้านควนคงหมู่ 14 จำนวน 10 คน หมู่บ้านขยายการเรียนรู้ หมู่ 13 คน หมู่ 8 จำนวน 10 คน หมู่ 7 จำนวน 10 คน ณ ที่แหล่งเรียนรู้บ้านควนคง วิทยากรกระบวนการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพัทลุง และ วิทยากรแหล่งเรียนรู้ นายกระจ่าง นุ่นดำ กระบวนการเรียนรู้ การทำปุ๋ยหมักแห้ง วัสดุอุปกรณ์ใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง 1. มูลวัวแห้ง จำนวน 50 กระสอบ 2. ฟางข้าวแห้ง จำนวน 10 ก้อน
3. รำละเอียด จำนวน 30 กิโลกรัม 4. แกลบดำ จำนวน 20 กิโลกรัม
5. กากน้ำตาล จำนวน 20 กิโลกรัม 6. สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1 ซอง วิธการทำปุ๋ยหมักแห้ง 1. ละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 1 ปีบ 20 ลิตร คนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที 2. เอากากน้ำตาลละลาย20 ก.ก. ต่อน้ำ 20 ลิตร 3. จดเรียงวัสดุ กองปุ๋ยหมักเป็น 3 ชั้น กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ตามวสดุที่เตรียมไว้ ตามอัตราส่วนที่เท่าๆกันทั้ง 3 ช้ั้น
4. แต่ละชั้นรดสารละลายซุปเปอร์ พด.1 กองปุ๋ยหมักทุกชั้นโดยเฉลี่ยให้เท่าๆกันและราดกากน้ำตาลที่ละลายน้ำไว้ทุกชั้นเช่นกัน 5. รดน้ำกองปุ๋ยหมักให้มีความชื่น 60 เปอร์เซ็น 6. เสร็จแล้วลุมด้วยพลาสติกดำ 7. กลับกองปุ๋ยหมักทุก 10 วัน พร้อมรดน้ำ 8. กลับกองปุ๋ยหมัก 3 รอบ รวมเวลา 1 เดือน ก็สามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้ คุณประโยนช์ของปุ๋ยหมักแห้ง ทำให้ดินโปร่ง รวนซุย ดินอุ้มน้ำได้ดี ช่วยดูดซับธาตุในดิน ไม่ให้ชะล้างไปโดยง่าย เป็นแหล่งธาตะอาหารพืช ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง เพื่อความต้านทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพิ่มปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีที่เป็นประโยชน์ในดิน อัตราวิธีการนำไปใช้ 1. ใช้ 1 ตัน ต่อเนื้อที่ 1 งาน หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกรบ 2. ถ้าพื้นที่น้อยหรือปลูกในภาชนะต่างๆ เช่นกระถางให้ปรับการใช้ตามความเหมาะสม

กระบวนการทำปุ๋ยหมักน้ำ วัสดุดิบปุ๋ยหมักน้ำ 1. มะละกอสุก 20 ก.ก.  2. สัปรดสุก 20 ก.ก.
3. เศษผัก 10 ก.ก.    4. กากน้ำตาล 10 ก.ก.
5. น้ำ 10ลิตร    6. สารเร่งซุปเปอร์ พ.ด 2 1ซอง วิธีทำ 1. ละลายสารซุปเปอร์ พ.ด 2 จำนวน 1 ซอง ในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน นาน 5 นาที 2. นำมะละกอสุก สัปรดสุก และเศษผักสับเป็นชิ้นไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป 3. ผสมวัสดุดิบและกากน้ำตาลลงในถัง 50 ลิตร แล้วเทสารละลายซุปเปอร์ พ.ด 2 ที่ผสมไว้ 4. คลุกเคล้า หรือ คน ให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง 5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท 6. ใช้เวลาหมัก 7 วัน สรรพคุณของปุ๋ยหมักน้ำ เร่งการเจริญเติบโตของราก ลำต้น และใบของพืช ส่งเสริมการออกดอกและติดผล กระตุ้นการงอกของเมล็ด เพิ่มคุณภาพของผลผลิตพืช

อัตราการใช้ปุ๋ยหมักน้ำ ใช้น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน หรือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้
ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น 10 วัน/ครั้ง

การทำสารไล่แมลงและควมคุมศตรูพืช วัสดุอุปกรณ์
1. ข่า 10 ก.ก. 2. สาบเสือ 5 ก.ก. 3. ตะไคร่ 10 ก.ก. 4. ใบสะเดา 5 ก.ก. 5. กากน้ำตาล 10 ก.ก. 6. รำละเอียด 100 กรัม 7. น้ำ 30 ลิตร 8. สารเร่ง พด. 7 1 ซอง วิธีทำ
1. สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็กๆ ทุบหรือทำให้แตก 2. นำพืชสมุนไพรและรำข้าวใส่ลงในถังหมัก 3. ละลายกากน้ำตาลในน้ำ และสารเร่ง พ.ด 7 ผสมให้เข้ากัน นาน 5 นาที 4. เทสารละลายลงในถังหมัก คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน 5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท คนทุกวัน และวางไว้ในที่รม ใช้เวลาการหมัก 21 วัน สรรพคุณ ควบคุมเพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ควบคุมหนอนกระทู้ผัก หนอนใบผัก อัตราการใช้ และระยะเวลาในการฉีกพ่น ใช้น้ำหมักไล่แมลง 1 ส่วน ต่อน้ำ 100ส่วน ฉีดพ่นทุก 3-5 วัน ฉีดติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เป็นกระบวนการเรียนรู้ และทดลองทำจริง ทุกขั้นตอน เพื่อนำไปใช้ได้จริงและเป็นต้นแบบถ่ายทอดการทำให้กับผู้ที่สนใจได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวครัวเรือน 40 คน ได้เรียนรู้กระบวนการ  การทำปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ การเตรียมดิน การทำสารชีวภัฑณ์  ได้ทดลองทำจริงทุกขั้นตอน