ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง

กิจกรรมที่ 3. ขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแลการควบคุมคุณภาพตามกติกา รายละเอียดกิจกรรม27 มีนาคม 2564
27
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย krajang
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการขยายพันธ์ุ การปลูก การดูแลรักษา การควบคุมคุณภาพคุณภาพตามกติกา มี ตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเรียนรู้ จำนวน 40 คน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่14 ต.ตำนาน อ. เมือง จ. พัทลุง โดย มี วิทยากร นายพงค์พันธ์ เตชนราวงค์ ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(เกษตรตำบลตำนาน) ให้ความรู้เรื่องการ การขยายพันธ์ุการปลูก การขยายพันธ์ุ การปลูก มีหลากหลายวิธี การเพาะเมล็ด การปักชำ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง แล้วแต่พันธ์ุพืชที่ต้องการขยายพันธุ์ พืชผักที่ใช้ในการบริโภค ส่วนมากจะขยายพันธ์เพาะเมล็ด  ในส่วนการ ตอนกิ่ง วิธีการทำให้กิ่งพืชออกรากในขณะอยู่ติดกับต้นแม่ เมื่อกิ่งตอนนั้นออกรากดีแล้ว จึงตัดไปปลูกต่อไป  การตอนกิ่งเป็นการตัดท่อลำเลียงอาหารของพืชส่วนท่อน้ำยังมีอยู่ตามปกติ จึงทำให้กิ่งที่ทำการตอนได้รับน้ำอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กิ่งตอนสดอยู่เสมอจนกว่าจะออกราก การออกรากของกิ่งตอน จะขึ้นอยู่กับความชื้น การถ่ายเทอากาศ และระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าปล่อยให้ดินหรือวัสดุหุ้มกิ่งแห้งโดยมิได้ดูแล ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการเกิดรากได้เช่นกัน ดังนั้น ฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุดในการตอนกิ่ง ควรเป็นฤดูฝน การตอนกิ่ง ใช้แก้ปัญหา โดยเฉพาะพืชบางชนิดที่ไม่สามารถออกรากได้โดยใช้วิธีตัดชำ แต่ออกรากได้โดยวิธีตอนกิ่ง สามารถทำได้ง่ายทั้งกลางแจ้งและในเรือนเพาะชำ นอกจากนี้ กิ่งตอนยังมีจำนวนรากมากกว่ากิ่งตัดชำ เมื่อนำไปปลูก จึงมีโอกาสตั้งตัวได้เร็วและมีเปอร์เซ็นต์การตายน้อยกว่ากิ่งตัดชำ ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ พืชต้นใหม่ที่ได้จากการตอน จะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มเตี้ย จึงสะดวกต่อการดูแลปฏิบัติบำรุงรักษาและเก็บเกี่ยว  แต่กิ่งตอนมีข้อเสีย คือ พืชที่นำไปปลูกเมื่อโตเต็มที่จะล้มง่าย เพราะไม่มีรากแก้วเมื่อตอนกิ่งไปได้ประมาณ 30-45 วัน กิ่งตอนก็จะเริ่มออกรากและแทงผ่านวัสดุที่หุ้มภายในออกมาจนมองเห็นด้วยตาเปล่า ระยะนี้ยังตัดกิ่งตอนไม่ได้ต้องรอจนรากที่งอกออกมาเป็นสีเหลืองแก่หรือสีน้ำตาล จำนวนรากมีมากพอและปลายรากมีสีขาว จึงตัดกิ่งตอนไปชำได้

การปักชำแบบควบแน่น พืชต้องการความชื้นที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้กิ่งออกราก รวมถึงต้องใช้กิ่งที่มีใบติด เพราะใบก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดราก แต่แน่นอนว่า เมื่อมีใบก็จะเกิดการคายน้ำ และปัญหาคือ กิ่งมักจะสูญเสียน้ำมากจนตายก่อนที่จะสร้างรากขึ้นมาดูดน้ำทดแทนได้ เราจึงได้ทำการตัดใบออกครึ่งหนึ่ง รวมถึงริดให้เหลือใบ ตัดกิ่งให้แผลเป็นรูปปากฉลาม ใช้กรรไกรเจาะดินลงไป 3 ใน 4 ส่วนของดิน นำกิ่งชำมาเสียบและกดลงไปให้แน่น แล้วเอาถุงพลาสติกสวมครอบกับแก้วพลาสติก แล้วใช้หนังยางวง 2 เส้น รัดปิดปากถุงกับแก้ว ป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้า นำไปวางในที่ร่มอากาศถ่ายเท ทิ้งไว้ 15 วัน แล้วรากจะงอกมาให้เห็นเมื่อรากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จัดกกิ่งปักชำออกราก และพร้อมย้ายปลูกได้ภายใน 30-45 วัน หากยังไม่สามารถนำออกปลูกได้ ควรมีการให้ปุ๋ยทางใบเสริม แต่ไม่ควรทิ้งไว้นานเกินไป เพราะรากภายในถุงจะเริ่มขดวน ทำให้พืชตั้งตัว และเติบโตไม่ดีหลังการย้ายปลูการเปิดถุง

ตัวแทนครัวเรือนปฏิบัติการได้เรียนรู้ การตอนกิ่ง และการปักชำควบแน่น ลงมือปฏิบัติการทำการตอนกิ่ง มะนาว ตอนกิ่งชมพู  การปักชำควบแน่นต้นผักเหรียง วิทยากรให้คำแนะนำในกระบวนการทำ ตอบข้อซักถาม และให้คำปรึกษา การขยายพันธ์ุการปลูก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวแทนครัวเรือนปฏิบัติการ 40 คน ได้เรียนรู้การ ขยายพันธุ์ การปลูก แบบการตอนกิ่ง การปักชำควบแน่น การดูแลรักษาการควบคุมคุณภาพ ตามกติกา ได้ลงมือปฏิบัติการ การตอนกิ่งมะนาว ตอนกิ่งชมพู  การปักชำควบแน่นต้นผักเหรียง สามารถปฏิบัติได้ตามกระบวนการเรียนรู้ที่วิทยากรให้ความรู้