การจัดการน้ำเสียครัวเรือนในชุมชนเมืองบ้านโคกท้อนร่วมใจ

ก.4 ศึกษาดูงาน31 ตุลาคม 2563
31
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 7.00น ทุกคนพร้อมกันที่ทำการชุมชน  ออกเดินทางโดยรถบัสปรับอากาศ ถึงเทศบาลตำบลทุ่งลาน เวลา 09.30 น
กล่าวต้อนรับโดยปลัดเทศบาล แนะนำพื้นที่ตำบลทุลานด้วยวีดีทัศน์

พักรับประทานอาหารว่าง

รับฟังรายงานผลการดำนินงานการจัดการน้ำเสียชุมชน /ครัวเรือน ด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ชมวีดีโอการทำธนาคารน้ำใต้ดิน

พักรับประทานอาหารกลางวัน

ชมการสาธิตการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ดุ้วยหลุมขนาด 1.20 เมตร x 1.20 เมตร x 1.0 เมตร  รองพื้นด้วยยางล้อรถยนต์ ใส่หินเล็ด วางท่อ PVC ระบายอากาศขนาด 1.20นิ้ว ยาว 1.20 เมตร ถมกลบด้วนหินใหญ่ ขวดพลาสติกบรรจุน้ำ 1/3 ส่วน สลับกันจนเกือบเต็ม แล้วปิดทับด้วยหินใหญ่เพื่อป้องกันการลอยของขวดพลาสติด ปูปิดทับด้วยแผ่นตาข่ายเขียวตาถี่ใส่หินเล็ก หินเกล็ด ทับตาข่าย  ใช้ดินกลบทับของตาข่ายให้เรียบร้อย เป็นการเสร็จระบบส่งน้ำลงใต้ดิน  ซึ่งจะสามารถจัดการน้ำเสียลงใต้ดินได้

พักรับประทานอาหารว่างบ่าย

ออกเดินทางจากที่ทำการเทศบาลทุงลาน สู่ครัวเรือนต้นแบบที่ดำเนินการส่งน้ำเสียจากเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ  3เครื่อง ลงสู่ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นวิทยากรบรรยายสรุปถึงปัญหาจากน้ำซักผ้า การจัดการ และผลสำเร็จที่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้นทุนการทำประมาณ 400 บาท/แห่ง

ต่อด้วยการจัดการน้ำเสียจากชุมชนที่ไหลลงร่องข้างถนน แล้วล้นเอ่อขึ้นบนถนน ด้วยเป็นร่องน้ำที่หัวปิด ท้ายปิด ไม่มีทางออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ  ชุมนแก้ปัญหาด้วยการขุดเพิ่มความลึก ตลอดแนวยาวประมาณ 200 เมตร กลบด้วยหินใหญ่ ขวดพลาสติก หินใหญ่ ปิดด้วยตาข่าย เช่นเดียวกับระบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน

เวลา 15.30 น ออกจากตำบลทุ่งลาน  เดินทางกลับถึงชุมชนโคกท้อนร่วมใจเวลา 17.30 น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดูงาน  40.คน

ผลลัพธ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจ เข้าใจกระบวนการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น
ได้แนวทางการจัดการน้ำเสียครัวเรือนมาออกแบบดำเนินการในชุมชน