การจัดการน้ำเสียครัวเรือนในชุมชนเมืองบ้านโคกท้อนร่วมใจ

ก.8 ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 14 พฤศจิกายน 2563
4
พฤศจิกายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน กลไก ภาคีร่วมประชุมพร้อมกันตามวาระดังนี้
1. นายบำเพ็ญ พูลเพิ่ม หัวหน้าโครงการ รายงานความคืบหน้าของโครงการ และผลลัพธืที่เกิดขึ้น ต่อที่ประชุม
รับประทานอาหารว่าง
2. ที่ประชุมร่วมพิจารณาผลลัพธ์ตามบันได
พักรับประทานอาหารกลางวัน
3. ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมให้ความเห็น ต่อผลลัพธ์ และร่วมชี้ให้เห้นปัญหา/อุปสรรค พร้อมกับเสนอแนะแนวทางแก้ไข นายดำ สำแดง ครูวิยาลัยการอาชีพได้ให้ข้อมุูลสภาแวดล้อมคลองเขาเจียก เมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา มีน้ำใสให้เล่นน้ำ มีหาดทราย มีปลาให้หากิน 10 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีสภาพน้ำเสีย ชุมชนได้ทำโครงการแก้ไขด้วยการทำฝายน้ำล้น 3 ที่ เพื่อยกระดับน้ำ และป้องกันน้ำเสียกระจายไปทางต้นน้ำ ตนเห้นด้วยอย่างยิ่งถ้าชุมชนได้ช่วยกันจัดการน้ำเสียตั้งแต่ครัวเรือน และพร้อมจะร่วมผลักดันให้เทศบาลพืจารณาระบบบำบัดน้ำปลายท่อก่อนลงคลอง
รับประทานอาหารว่าง
4. กลไกขับเคลื่อนรายงาน ครัวเรือนแสดงความประสงค์จำดำเนินการจัดการน้ำเสียนำร่อง 9 ที่ดังนี้ (นายสมมาท,นายบำเพ็ญ,นางภัทราวดี,นายทวี,นายวาสน์,นางมณีนาถ,นางซ้วน,นายเขียน,และศาลาที่ทำการชุมชน)
5. สรุปผลลัพธ์ AAR หลังเสร็จกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คณะทำงาน กลไกขับเคลื่อน ภาคี และพี่เลี้ยงเข้าร่วมประชุม 31 คน
ผลลัพธ์
1. เกิดกลไกขับเคลื่อน 25 คน
2. มีการจัดโครงสร้าง และแบ่งหน้าที่ โดยแบ่งเป้น 5 กลุ่มบ้าน
2.1 กลุ่มบ้านสุดเขต นายเขียน ชายเกตุ เป็นหัวหน้ากลุ่ม
2.2 กลุ่มซอย 26 นายบำเพ็ญ พูลเพิ่ม เป็นหัวหน้ากลุ่ม
2.3 กลุ่มซอยร่วมใจ นายวาสน์ อินทร์ด้วง เป็นหัวหน้ากลุ่ม
2.4 กลุ่มซอย 24 นางภัทรวดี เป็นหัวหน้ากลุ่ม
2.5 กลุ่มสี่แยกเอเชีย นางมณีนาถ เป็นหัวหน้ากลุ่ม
3. คณะทำงานและกลไก มีการประชุมทุกเดือน มีบันทึกการประชุม ดังปรากฎตามรายงานในเว็บ
4. มีข้อมุลสถานการณ์น้ำเสียชุมชน เป็นข้อมูลต้นทางเพื่อใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเมื่อสิ้นโครงการ(รายละเอียดตามไฟล์แนบแล้ว)
4. การสร้างความเข้าใจโครงการ คืนข้อมุลสถานการณ์น้ำเสียชมุชนมีผู้เข้าร่วม ................ คน
5. มีครัวเรือนเป้าหมายประสงค์จะจัดการน้ำเสียครัวเรือนแล้ว 8 ครัวเรือน 1 ที่ทำการชุมชน (รายละเอียดข้างต้น)
6. มีการเสนอแผนจัดการน้ำเสีย 2 ระดับ 4 ประเภท
6.1 ระดับครัวเรือน
  ประเภทบ่อบำบัดสำเร็จรูปซื้อมาติดตั้ง
  ประเภทบ่อบำบัดแบบเปิดซึ่งมีต้นแบบทำใช้อยู่ก่อนแล้ว(นางหีด ,นายดำ)
  ประเภทบ่อบำบัดระบบธนาคารน้ำใต้ดิน
  ประเภทถังแยกเศษอาหาร
6.2 ระดับชุมชน
  บ่อบำบัดดักไขมันแบบเปิด สำหรับบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงคลอง ซึ่งจะต้องทำแผนนำเสนอเทศบาลเป็นผู้ดำเนินการต่อไป