สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่่ 130 พฤศจิกายน 2563
30
พฤศจิกายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย khaochaison20
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 น. – 16.30 น. คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ จำนวน 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,14 ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน 1. ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอข้อมูลการจัดการขยะในพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.เขาชัยสน ให้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทราบเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปร่วมกันต่อไป ดังนี้ 1.1 อบต.เขาชัยสน มีพื้นที่ทั้งหมด 67.92 ตารางกิโลเมตร หรือ 42,450 ไร่ จำนวน 14 หมู่บ้าน 3,772 ครัวเรือน ประชากร 10,249 คน 1.2 ร้อยละของขยะทุกประเภทในเขตพื้นที่ อบต.เขาชัยสน ที่มีการจัดการขยะได้อย่างถูกหลักวิชาการและการจัดการด้วยการเผา มีขยะอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 63 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 60 และกำจัดด้วยการเผาร้อยละ 40 มีขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 30 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 10 และกำจัดด้วยการเผาร้อยละ 90 มีขยะทั่วไปคิดเป็นร้อยละ 3 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 20 และกำจัดด้วยการเผาร้อยละ 80 มีขยะอันตรายคิดเป็นร้อยละ 3 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 60 และกำจัดด้วยการเผาร้อยละ 40 มีขยะอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 1 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 100 1.3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดการขยะ พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในช่วงร้อยละ 40 มี 6 หมู่บ้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 40 คือ ม.1,3,6,7,8,13 และมี 7 หมู่บ้าน ที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 40 คือ ม.2,4,5,9,10,12,14 1.4 ร้อยละของการจัดการขยะที่มีการดำเนินการแล้วและยังไม่ได้ดำเนินการในแต่ละหมู่บ้าน ม.1 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 30 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 70 ม.2 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 60 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 40 ม.3 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 5 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 95 ม.4 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 45 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 55 ม.5 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 50 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 50 ม.6 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 10 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 90 ม.7 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 30 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 70 ม.8 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 20 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 80 ม.9 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 70 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 30 ม.10 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 60 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 40 ม.11 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 40 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 60 ม.12 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 60 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 40 ม.13 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 10 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 90 ม.14 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 70 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 30 2. คณะทำงานฯ 13 หมู่บ้าน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการจัดการขยะในพื้นที่ของตนเอง ดังนี้
หมู่ที่ 1 มีโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด รพ.สต. ตลาด อยู่ในพื้นที่ สามารถจัดการขยะได้บางส่วน พบปัญหาเรื่องขยะทั่วไป ขาดคณะทำงานและขาดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ รพ.สต.โคกยา เสนอให้ทาง อบต.จัดเก็บขยะอันตราย ณ.จุดเก็บปีละ 2 ครั้ง ส่วนขยะจำพวกเข็มคนในพื้นที่สามารถนำมาฝากกำจัดที่ รพ.สต.ได้ หมู่ที่ 2 มีการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ พบปัญหาเรื่องการจัดการขยะทั่วไป หมู่ที่ 3 มีการรณรงค์การจัดการขยะในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ ขาดผู้นำและคณะทำงานในการจัดการขยะ ต้องการวิทยากรสอนการทำปุ๋ยหมักและแก้ปัญหาขยะประเภทถุงนมโรงเรียน หมู่ที่ 4 มีการรับซื้อมูลสัตว์ไปทำปุ๋ยหมักจากคนนอกพื้นที่ ใช้เศษอาหารในการเลี้ยงสัตว์ มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะทั่วไปและขยะอันตราย หมู่ที่ 5 แต่ละครัวเรือนต่างจัดการขยะของตนเอง มีการนำไปเผา นำผักมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ยังไม่มีการสร้างกลุ่มการจัดการขยะของหมู่บ้าน และขอสนับสนุนถังขยะอันตรายเพิ่มเติม หมู่ที 6 โรงเรียนสามารถจัดการขยะในโรงเรียนได้ มีปัญหาเกี่ยวกับขยะทั่วไป ขยะริมถนนและขยะบริเวณพื้นที่สาธารณะ ขาดคณะทำงาน อยากให้มีการสร้างจิตสำนึกการจัดการขยะ หมู่ที่ 7 มีการรณรงค์การจัดการขยะในพื้นที่ พบปัญหาขยะทั่วไป และขยะจากต่างถิ่นเนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านติดถนนทางหลวงฯ หมู่ที่ 8 พื้นที่โรงเรียนในหมู่บ้านมีการจัดการขยะได้ดี มีการคัดแยกขยะและนำมาใช้ประโยชน์ แต่ยังขาดวิทยากรในการสอนประดิษฐ์สิ่งของจากขยะเพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของหมู่บ้านพบปัญหาขยะทุกประเภท โดยเฉพาะขยะทั่วไปบริเวณพื้นที่สาธารณะและตลาดนัด ยังขาดทางเดินในการจัดการขยะ หมู่ที่ 9 เมื่อก่อนมีโรงงานคัดแยกขยะแต่ปัจจุบันปิดตัวลงไปแล้ว ขยะทั่วไปแต่ละครัวเรือนจัดการเองโดยวิธีการเผา มีการจัดการขยะร่วมกับการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม. ในแต่ละเขตรับผิดชอบ (อสม.1คน/ 10 ครัวเรือนเป็นอย่างต่ำ) พบปัญหาขยะจากพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างตำบล หมู่ที่ 10 เขต อบต.เขาชัยสน มี 59 ครัวเรือน มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง มีครัวเรือนต้นแบบสำหรับการจัดการขยะ พบปัญหาขยะประเภทผ้าอ้อมสำเร็จรูป (แพมเพิร์ส) ไม่สามารถจัดการได้ หมู่ที่ 11 จัดการขยะกันเองภายในครัวเรือน มีถังสีใส่ขยะของแต่ละบ้าน มีการขุดหลุมฝังขยะ คัดแยกขยะ ขายขยะ ในส่วนของขยะในวัดเมื่อมีการจัดงานต่างๆจะเสียค่าบริการให้รถขยะ ทต.เขาชัยสน มารับขยะไปทำลายให้ หมู่ที่ 12 ขยะทุกประเภทแต่ละครัวเรือนสามารถจัดการเองได้โดยวิธีการเผา พบปัญหาขยะในพื้นที่สาธารณะ(ริมถนน) อยากให้เพิ่มถังขยะอันตรายในหมู่บ้าน ยังไม่มีคณะทำงานจัดการขยะ หมู่ที่ 13 ตัวแทนไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม แต่มีการโทรสอบถามได้ข้อมูลว่า แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เช่น การเผา นำเศษอาหารมาเลี้ยงสัตว์ การคัดแยกไปขาย เป็นต้น หมู่ที่ 14 มีธนาคารขยะของหมู่บ้าน มีการนำขยะมารีไซเคิลเป็นของใช้ต่างๆ และรับซองกาแฟมาประดิษฐ์เป็นของใช้ด้วย มีแกนนำ 5 คน ที่สามารถเป็นวิทยากรสอนทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะได้ พบปัญหาการจัดการขยะทั่วไปและขาดพ่อค้าที่จะมาซื้อขยะที่คัดแยกไว้แล้ว ในส่วนของทาง อบต.เขาชัยสน นั้น มีการจ้างเหมาให้รถขยะ ทต.เขาชัยสน จัดเก็บขยะที่สำนักงาน อบต.และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบ 3. จากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ทำให้เกิดการนำไปสู่บันไดของการสร้างกติกาการจัดการขยะในระดับตำบล ดังนี้ 1.ผู้นำชุมชนต้องเป็นต้นแบบในการจัดการขยะ 2.คณะทำงานต้องเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ 3.ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการต้องคัดแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท 4.ทุกหมู่บ้านต้องมีวันนัดรับซื้อขยะรีไซคิล 5.ทุกหมู่บ้านต้องไม่กองขยะไว้ในที่สาธารณะ 6.ทุกร้านค้าต้องมีป้าย“ร้านนี้ลดการใช้ถุงพลาสติก” 7.ทุกร้านจำหน่ายอาหารต้องมีป้าย “ร้านนี้ปลอดโฟม” 8.หมู่บ้านต้องประชาสัมพันธ์การจัดการขยะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 9. แม่ค้าที่ขายของหน้าโรงเรียนต้องรับผิดชอบขยะของตัวเอง 10.ห้ามแม่ค้ารถเร่ใช้กล่องโฟมใส่อาหารในเขตพื้นที่ตำบลเขาชัยสน 11.ภาคีอื่นควรเข้าร่วมการจัดการขยะของตำบล (โรงเรียน ศาสนสถาน รพ.สต.) 12.หมู่บ้านควรจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งตัวชี้วัดนี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีครัวเรือนที่ปฏิบัติตามกติกาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4. มีแผนที่ทางเดินขยะแต่ละประเภท คือ 1.ขยะอินทรีย์ นำไปทำปุ๋ยให้ต้นไม้ ปุ๋ยหมัก แก๊สชีวภาพและเลี้ยงสัตว์ 2.ขยะรีไซเคิลขายได้ มีการจัดการโดยการขายให้พ่อค้าและชุมชนคัดแยกและรับซื้อเอง 3.ขยะทั่วไป นำมาเผาแยก/เผารวม ฝังกลบ และสร้างทีมจิตอาสาร่วมกันจัดเก็บ 4.ขยะอันตราย ใส่ถังแดงที่ศาลาของแต่ละหมู่บ้าน จากนั้นทาง อบต.จะไปดำเนินการจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัดต่อไป 5. มีกำหนดการลงพื้นที่สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน 14 หมู่ ดังนี้
วันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 7,14
วันที่ 15 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 8,9 วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 5,10 วันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 6,11
วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 2,3
วันที่ 21 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 4,12 วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 1,13