กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่่ 2

กิจกรรม : กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่่ 2
วันที่ 09/09/2021 - 09/09/2021
งบประมาณที่ตั้งไว้ 0.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 17 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย แกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม :
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น. – 16.30 น. คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ จำนวน 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.2,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14 ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของดรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จำนวน 15 คน และตัวแทน สสส.จำนวน 2 คน
1. ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอข้อมูลการจัดการขยะในพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.เขาชัยสน ให้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทราบเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปร่วมกันต่อไป ดังนี้
1.1 อบต.เขาชัยสน มีพื้นที่ทั้งหมด 67.92 ตารางกิโลเมตร หรือ 42,450 ไร่ จำนวน 14 หมู่บ้าน 3,772 ครัวเรือน ประชากร 10,249 คน
1.2 ร้อยละของขยะทุกประเภทในเขตพื้นที่ อบต.เขาชัยสน ที่มีการจัดการขยะได้อย่างถูกหลักวิชาการและการจัดการด้วยการเผา


2. คณะทำงานฯ 11 หมู่บ้าน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการจัดการขยะในพื้นที่ของตนเอง ดังนี้
หมู่ที่ 2 มีการคัดเลือกครัวเรือนนำร่อง ด้วยการเลือกครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะอยู่เดิมแล้วและผู้นำในหมู่บ้านเป็นครัวเรือนนำร่อง โดยให้ความรู้เพิ่มเติมในการจัดการขยะแต่ละประเภทเพื่อให้การจัดการขยะในครัวเรือนนำร่องลดลง และมีการขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆ
หมู่ที่ 5 แกนนำหมู่บ้าน นำร่องและชักชวนครัวเรือนใกล้เคียง
หมู่ที่ 6 เลือกครัวเรือนที่มีใจรักในการนำร่องและเลือกครัวเรือนคู่ขนาน พร้อมทั้งการทำอย่างสม่ำเสมอ เป็นแบบอย่างให้ครัวเรือนอื่นๆเห็น แล้วจะเกิดการขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆ
หมู่ที่ 7 มีกิจกรรมการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง โดยผู้นำชุมชน อสม.เป็นครัวเรือนนำร่อง และชักชวนครัวเรือนคู่ขนาน เพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง มีกิจกรรมการจัดการตามเส้นทางเดินขยะ เช่น ขยะอินทรีย์ ก็นนำไปทำปุ๋ย ใส่ต้นไม้ ขยะทั่วไปกับรีไซเคิล มีการคัดแยก ใช้ซ้ำ แปรรูป ขาย ที่เหลือก็เผา ขยะอันตรายก็รวบรวมไว้นำส่ง อบต.ส่งไปทำลายต่อไป มีการรณรงค์การจัดการขยะในพื้นที่ พบปัญหาขยะทั่วไป และขยะจากต่างถิ่นเนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านติดถนนทางหลวงฯ มีการจัดกิจกรรมอาสาเก็บขยะทางหลวงบ่อยๆ
หมู่ที่ 8 ตัวแทนไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม แต่มีการโทรสอบถามได้ข้อมูลว่า แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เช่น การเผา นำเศษอาหารมาเลี้ยงสัตว์ การคัดแยกไปขาย เป็นต้น โดยมี ครัวเรือน อสม.นำร่อง
หมู่ที่ 9 แต่ละครัวเรือนต่างจัดการขยะของตนเอง มีการนำไปเผา นำผักมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ยังไม่มีการสร้างกลุ่มการจัดการขยะของหมู่บ้าน
หมู่ที 10 มีจำนวนครัวเรือนน้อยที่อยู่ในเขต อบต.เขาชัยสน การจัดการที่ผ่านมาก็มีการคัดแยก นำไปทำปุ๋ย ปลูกผัก เกือบทุกครัวเรือน ขยะพลาสติกก็เอาไปแปรรูป รีไซเคิล มาใช้ประโยชน์ เช่นการนำขวดพลาสติกมาปลุกผัก ปลูกไม้ประดับ ต่างๆ และมีการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกต่างๆ ห้ามเผาขยะในหมู่บ้าน เนื่องจาก หมู่ที่10 พื้นที่ค่อนข้างเป็นชุมชนเมือง
หมู่ที่ 11 มีการรณรงค์การจัดการขยะในพื้นที่ จัดทำถังขยะแต่ละประเภทในครัวเรือนนำร่องและคู่ขนานจัดการขยะกันเองภายในครัวเรือน มีถังสีใส่ขยะของแต่ละบ้าน มีการขุดหลุมฝังขยะ คัดแยกขยะ ขายขยะ
หมู่ที่ 12 ขยะทุกประเภทแต่ละครัวเรือนสามารถจัดการเองได้โดยวิธีการเผา พบปัญหาขยะในพื้นที่สาธารณะ(ริมถนน)
หมู่ที่ 13 แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เช่น การเผา นำเศษอาหารมาเลี้ยงสัตว์ การคัดแยกไปขาย เป็นต้น
หมู่ที่ 14 มีการนำขยะมารีไซเคิลเป็นของใช้ต่างๆ และรับซองกาแฟมาประดิษฐ์เป็นของใช้ด้วย มีแกนนำ 5 คน ที่สามารถเป็นวิทยากรสอนทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะได้ พบปัญหาการจัดการขยะทั่วไปและขาดพ่อค้าที่จะมาซื้อขยะที่คัดแยกไว้แล้ว
ในส่วนของทาง อบต.เขาชัยสน นั้น มีการจ้างเหมาให้รถขยะ ทต.เขาชัยสน จัดเก็บขยะที่สำนักงาน อบต.และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบ มีการรวบรวมถุงนมนักเรียน เพื่อนำมารีไซเคิลต่อไป และมีการรับบริจาคถุงพลาสติกต่างๆที่ล้างทำความสะอาดเรียบร้อยเพื่อนำมาทำอิฐบล๊อค
ในส่วนของหมู่ที่ 1,3,4 ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้เนื่องจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่การคัดแยกขยะในครัวเรือน มีการดำเนินการเป็นปกติ มีครัวเรือนนำร่องที่เป็นแกนนำหมู่บ้าน หลายครัวเรือน
3. จากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ทำให้เกิดการนำไปสู่บันไดของการสร้างกติกาการจัดการขยะในระดับตำบล ดังนี้
-ผู้นำชุมชนต้องเป็นต้นแบบในการจัดการขยะ
-คณะทำงานต้องเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ
-ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการต้องคัดแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท
-ทุกหมู่บ้านการคัดแยกขยะเพื่อขายให้กับผู้รับซื้อของเก่าในหมู่บ้าน
-ทุกหมู่บ้านต้องไม่กองขยะไว้ในที่สาธารณะ
-ต้องชวนร้านค้าในหมู่บ้านร่วมกิจกรรมด้วย
-ภาคีอื่นเข้าร่วมการจัดการขยะของตำบล (โรงเรียน ศาสนสถาน รพ.สต.)
-หมู่บ้านควรจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เดือนละ 1 ครั้ง
4. มีแผนที่ทางเดินขยะแต่ละประเภท คือ
-ขยะอินทรีย์ นำไปทำปุ๋ยให้ต้นไม้ ปุ๋ยหมัก แก๊สชีวภาพและเลี้ยงสัตว์
-ขยะรีไซเคิลขายได้ มีการจัดการโดยการขายให้พ่อค้าและชุมชนคัดแยกและรับซื้อเอง
-ขยะทั่วไป นำมาเผาแยก/เผารวม ฝังกลบ และสร้างทีมจิตอาสาร่วมกันจัดเก็บ
-ขยะอันตราย ใส่ถังแดงที่ศาลาของแต่ละหมู่บ้าน จากนั้นทาง อบต.จะไปดำเนินการจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัดต่อไป
5.ในส่วนของการติดตาม มีการชวนคุยและเน้นย้ำในเรื่องการสร้างกลไกการจัดการขยะให้ชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมทั้งข้อมูลตัวเลขต่างๆ ทางผู้ติดตามไม่ยึดติดกับตัวเลขว่าปริมาณขยะจะลดลงเท่าไหร่ เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ แต่ขอให้เน้นกลไกการจัดการที่กลุ่มนำร่อง ไปสู่กลุ่มคู่ขนาน และกลุ่มที่ขยายผล ให้ชัดเจน อย่ามุ่งเน้นตอบโจทย์ สสส.แต่ให้ตอบโจทย์ชาวบ้านในพื้นที่