ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง

เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 118 กุมภาพันธ์ 2564
18
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย bangkhun2563
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวที ARE โครงการ “ฟื้นเลให้สมบูรณ์เขตอนุรักษ์พื้นที่ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง” วัน30 กันยายน 2564 ณ โรงเรียนบ้านบ้านแหลม ตำบล ฝาละมี จังหวัด พัทลุง       ท่านภูดิษ ชนะวรรณโณ นายอำเภอปากพะยูน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง กลไกติดตามเฝ้าระวังความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ และแนวทางในการขับเคลื่อนงานฟื้นเลฯ
นางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนู พี่เลี้ยงโครงการกล่าวรายงานความเป็นมาโครงการและที่มาของกิจกรรมการสรุปบทเรียน/การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
      นายสุรสิทธิ์ สุวรรณโร ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 บ้านบางขวน และตัวแทนชุมชนจำนวน 9 ชุมชนได้นำเสนอผลลัพธ์และตัวชี้วัด
ข้อมูลผลลัพธ์ เปิดประเด็นช่วนคุญในการจัดกิจกรรมฟื้นเลให้สมบูรณ์เขตอนุรักษ์พื้นที่ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุงใน หน่วยงานภาคคีความร่วมมือ โรงเรียนบ้านแหลม โรงเรียนบ้านบางขวน โรงเรียนควนพระสาครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนได้เข้าร่วม และประเด็นจุดอ่อน มีการพัฒนายกระดับในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมส่งต่อให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ ได้สืบสานในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรชายฝั่ง เพื่อคืนความสมบูรณ์ท้องทะเลและทำให้ชาวประมงพื้นบ้าน คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
      พี่เลี้ยงได้ร่วมในการสะท้อนและตั้งคำถามเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์/ตัวชี้วัดที่ชัดเจน ปัญหาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร ร่วมกันแสดงความเห็นและหาแนวทางในการฟื้นเลฯ แผนขับเคลื่อนงานโดยมีกลไกคณะทำงาน สมาคมฯแกนหลักร่วมภาคคี มีความตั้งใจร่วมขับเคลื่อนการจัดการจัดการทรัพยการชายฝังให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และนำบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ เป็นเครื่องมือในการขยายพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลา
ครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างเสริมสุขภาพ Node Flagship จังหวัดพัทลุง สสส.จังหวัดพัทลุง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานสามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการประชุมคณะทำงานทุกเดือน คณะทำงานมีความตั้งใจ มีการแบ่งงานตามความเหมาะสม เมื่อมีปัญหามีการนำมาวิเคราะห์ร่วมกันหาทางออก มีแผนงานและการทบทวนแผนฟื้นคืนเลสาบ
  • คนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญได้ร่วมกิจกรรมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูเล เนื่องจากได้เห็นประโยชน่์ของอนุรักษ์และุฟื้นเลเสริมมีอาหารและรายได้ ทุกคนมีความตั้งใจและร่วมกันฟื้นฟูเลให้สมบูรณ์
  • เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการ 15 คน
  • เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯ6 พื้นที่ จำนวน คน
  • เกิดกติกาข้อตกลงได้มีการปรับปรุงทบทวนให้สอดคล้องพื้นที่และสถานการณ์ ในการดูแลเขตฯ ซึ่งได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน โดยเฉพาะประมงพื้นบ้าน มีเพียงส่วนน้อยเป็นคนในชุมชน/คนนอก ที่ทำผิดกติกา คิดเป็นร้อยละ 5
  • ได้แผนการทำงานของประมงอาสาแต่ละพื้นที่
  • นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ -พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 8 ชนิด - ขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ออกไปจากแนวเดิม 500 เขต/พื้นที่มีแนว นอกจากนี้มีสัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทำให้ชาวประมงออกไปหาปลาหน้าบ้านไม่ต้องออกไปหาปลาในพื้นที่ไกล ทำให้ประหยัดค่าน้ำมันลง ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ครอบครัวอบอุ่น ชาวประมงที่กำล่ังทิ้งอาชีพประมงยังคงทำประมงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นที่ต้องออกจากชุมชน ชาวประมงจำนวน 300 ครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้นครัวเรือนละ 500 บาท นอกจากนี้คนในชุมชนมีอาชีพเกี่ยวโยงกับประมง